แชร์

เทคนิคบริหารเวลาเพื่องานดี ชีวิตปัง

อัพเดทล่าสุด: 21 ต.ค. 2024
48 ผู้เข้าชม
เทคนิคบริหารเวลาเพื่องานดี ชีวิตปัง

เทคนิคบริหารเวลาเพื่องานดี ชีวิตปัง

ถ้าบริหารเวลาเป็นก็ส่งผลโดยรวมต่อชีวิตด้านอื่นๆไปด้วย มาดูวิธีบริหารเวลาให้ได้อย่างมืออาชีพ

1.ตั้งเป้าหมายให้ถูก
ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน ที่สามารถทำได้จริงและวัดผลได้ เพราะถ้าตั้งเป้าหมายที่ไกลเกินไปหรือยากเกินไป จะทำให้เกิดความรู้สึกท้อจนไม่อยากทำ โดยเป้าหมายที่ดีควรใช้หลัก SMART ที่หมายถึง

S : Specific เฉพาะเจาะจง

M : Measurable วัดผลได้

A : Achievable บรรลุผลได้, สำเร็จได้

R : Realistic สมเหตุสมผล สอดคล้องกับความเป็นจริง

T : Timely กำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน

2.จัดลำดับความสำคัญอย่างฉลาด
เวลาจัดลำดับงานควรจะอิงตามความสำคัญและความเร่งด่วนของงาน เพื่อชั่งน้ำหนักว่าเราควรจะทำงานไหนก่อนหลัง ซึ่งสามารถอ้างอิงตามหลักกฎของไอเซนฮาวส์ (The Eisenhower Box) ก็คือ : 

Urgent and important : งานที่ทั้งด่วนและสำคัญ เป็นงานที่คุณต้องรีบตัดสินใจทำทันที
Important, but not urgent : งานสำคัญแต่ไม่ด่วน งานที่สามารถเลื่อนไปทำหลังจากงานด่วนได้ 
Urgent, but not important : งานด่วนแต่ไม่สำคัญ งานที่สามารถกระจายไปให้คนอื่นทำได้
Neither urgent not important : งานที่ไม่ด่วนและไม่สำคัญ งานที่คุณไม่จำเป็นต้องเสียเวลาทำ

3.กำหนดระยะเวลาทำงาน
ข้อดีสำหรับการกำหนดเวลาในการทำงานคือ ช่วยให้โฟกัสงานได้ดีขึ้น ทำงานออกมาได้มีประสิทธิภาพ และมีพลังใจในการทำงานมากขึ้น เพราะเรารู้ว่าจะใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญอีกอย่างคือ ถ้าเราทำงานตามเวลาที่กำหนดไว้ หากเกิดปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินขึ้น ก็ยังมีเวลาเผื่อสำหรับการแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องแก้ปัญหาอย่างฉุกละหุกทำให้งานออกมาไม่ดีได้

4.พักเบรกระหว่างงาน
หากมีรายการสิ่งที่ต้องทำเยอะมาก สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ควรมีก็คือการหาเวลาพักเบรก เพราะถ้าทำตามลิสต์ไปเรื่อยๆแบบไม่มีหยุดพักเลย จะยิ่งยากต่อการโฟกัสและหมดแรงใจในการทำงานต่อได้ง่าย แบ่งช่วงเวลาไว้พักเบรกบ้างก็ช่วยให้สมองปรอดโปร่ง เป็นการ Refresh ตัวเองสำหรับจัดการงานในลำดับต่อไป โดยอาจแบ่งช่วงเวลาไว้สำหรับการงีบหลับช่วงสั้นๆ ออกไปเดินเล่นสักพักหรือการทำสมาธิ

5.จัดระบบชีวิตตัวเองในภาพใหญ่
วิธีจัดระเบียบชีวิตให้ดีขึ้นก็คือการหมั่นอัพเดทปฏิทินหรือตารางงานอยู่เสมอ เพื่อเช็คว่ามีงานสำคัญไหนบ้างที่ต้องจัดการให้เสร็จ ประเมินงานของสัปดาห์ต่อไปและเดือนต่อๆไป โดยระบุ Deadlines ของแต่ละโปรเจกต์ แบ่งเป็น Tasks ย่อยๆเพื่อให้ง่ายต่อการทำให้เสร็จ และวางแผนในแต่ละวันว่าวันไหนเหมาะที่จะทำงานอะไร เพราะบางงานอาจต้องประสานงานกับคนอื่นๆ ที่อาจว่างไม่ตรงกับเรา จึงต้องวางแผนเอาไว้เพื่อไม่ให้กระทบกับงานอื่นๆที่ตามมา

6.ตัดงานที่ไม่จำเป็นทิ้ง
คนที่บริหารเวลาเป็นคือคนที่รู้ว่างานไหนควรทำและงานไหนควรตัดออก และสามารถแยกแยะได้ว่างานไหนควรค่าต่อเวลาของคุณ และงานไหนที่ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาทำ หรือสามารถกระจายงานให้คนอื่นทำได้  โดยเราสามารถแบ่งงานออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ

งานด่วน คือ งานที่ต้องรีบตัดสินใจในเวลาอันสั้น แต่ไม่ได้สำคัญและไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการทำหรือในการคิดมากนัก มันก็คืองาน Daily task ที่มี deadline และต้องทำทุกวันนั่นเอง หากไม่รีบทำก็จะไฟลนก้น ซึ่งถ้านำไปคิดในเชิงเป้าหมายระยะยาวแล้ว งานด่วนมีนัยยะสำคัญค่อนข้างน้อย เพราะไม่ได้ส่งผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่มากเท่าไหร่นัก
งานสำคัญ คือ งานที่ไม่ต้องรีบทำก็ได้แต่เป็นงานที่ส่งผลต่อเป้าหมายของคุณมากที่สุด ซึ่งต้องใช้เวลาโฟกัสมากเป็นพิเศษ ไม่ใช่งานที่สามารถทำเสร็จภายในวันเดียว อาจเรียกได้ว่าเป็น Deep Work ที่ต้องอาศัย Systematic Thinking และต้องอาศัย Passion และความกระตือรือร้น เป็นงานที่คุณเป็นคนคิดและลงมือทำเอง และผลลัพธ์ของมันจะ Impact มาก

7.วางแผนล่วงหน้า
เริ่มต้นทุกๆวันด้วยโฟกัสที่ชัดเจนว่าวันนี้คุณต้องทำอะไรบ้าง มีงานไหนที่ต้องทำให้เสร็จ โดยทำให้มันกลายเป็นนิสัยและกิจวัตรประจำวัน โดยอาจจดเป็น To-do list เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวันต่อไป ให้การบริหารเวลาและจัดระเบียบชีวิตดียิ่งขึ้นตามลำดับ

BY : NOOK
ที่มา : https://tuxsablog.skilllane.com

บทความที่เกี่ยวข้อง
LINE Messaging API เครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารสองทางระหว่างบริการของคุณและผู้ใช้
LINE Messaging API เครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารสองทางระหว่างบริการของคุณและผู้ใช้ LINE อย่างราบรื่น หลังการยกเลิกบริการ LINE Notify โดย LINE ประกาศยกเลิกการให้บริการ LINE Notify
15 พ.ย. 2024
OpenAI ปล่อยหมัดเด็ด เปิดใช้งาน ChatGPT search ฟีเจอร์ค้นหาข้อมูลขั้นเทพ เขย่าบัลลังก์ Google
ลืม Google ไปได้เลย ChatGPT Search เปิดให้ใช้แล้ว OpenAI ปล่อยหมัดเด็ด เปิดใช้งาน ChatGPT search ฟีเจอร์ค้นหาข้อมูลขั้นเทพ เขย่าบัลลังก์ Google
4 พ.ย. 2024
คลังสินค้าแบบโมดูลาร์
คลังสินค้าแบบโมดูลาร์ (Modular Warehouse) คือ รูปแบบการออกแบบและสร้างคลังสินค้าที่สามารถปรับเปลี่ยนและขยายได้ตามความต้องการของธุรกิจ โดยมีการใช้โครงสร้างที่แบ่งออกเป็นหน่วย (โมดูล) ที่สามารถติดตั้งและถอดออกได้ง่าย
18 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ