แชร์

วิธีการนำเข้าเครื่องจักร จากต่างประเทศ

อัพเดทล่าสุด: 31 ต.ค. 2024
34 ผู้เข้าชม
วิธีการนำเข้าเครื่องจักร จากต่างประเทศ

วิธีการนำเข้าเครื่องจักร จากต่างประเทศ


ขั้นตอนการนำเข้าเครื่องจักร

1.ทำการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในระบบกรมศุลกากร โดยมีบริษัทหลากหลายที่รับนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามา และมีบริการการลงทะเบียนให้กับผู้นำเข้าอย่างถูกต้องและรวดเร็ว


2.ตรวจสอบพิกัดภาษีของเครื่องจักรว่า เครื่องจักรดังกล่าวนั้น จะต้องขอใบอนุญาตในการนำเข้าหรือไม่ เช่น ใบอนุญาตสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นต้น และพิกัดภาษีดังกล่าว ยังสามารถตรวจสอบเรื่องการใช้สิทธิลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตค้าเสรี เช่น อาเซียน จีน เป็นต้น เพื่อใช้ในการลดอัตราภาษีอากร ทำให้ผู้นำเข้านั้นไม่ต้องชำระภาษีอากรในการนำเข้าเครื่องจักรแบบเต็มจำนวน ทั้งนี้พิกัดภาษีที่ตรวจสอบหากมีความถูกต้องทำให้ลดขั้นตอนเรื่องการผิดกฎหมายศุลกากรที่จะทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งมอบสินค้า และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของค่าปรับ หากพิกัดภาษีไม่ถูกต้อง โดยการหาพิกัดภาษีที่จะต้องใช้ข้อมูลดังต่อไปนี้

-ชื่อภาษาอังกฤษ รุ่นของเครื่องจักรและยี่ห้อของเครื่องจักรท่จะทำการนำเข้า

-รูปภาพหรือแคตตาล๊อกหรือโบรชัวร์ของเครื่องจักรที่จะทำการนำเข้า

-หน้าที่การใช้งานของเครื่องจักรที่จะทำการนำเข้า สามารถที่จะทำงานได้กี่หน้าที่ ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือน้ำมัน ใช้ในการผลิตอะไร เป็นต้น


อัตราภาษีนำเข้าเครื่องจักร

โดยปกติแล้ว เครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์ใดๆ จะมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ 15 % แต่ผู้นำเข้านั้นสามารถที่จะลดหย่อนหรือยกเว้นได้ ถ้าเข้าตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข


สิทธิลดหย่อน

ผู้นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ สามารถขอรับการส่งเสริมการนำเข้าเครื่องจักร โดยจะได้รับเป็นสิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอาการในการนำเข้าเครื่องจักร ตาม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน มาตรา 29 และ มาตรา29 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

มาตรา28

ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ แต่เครื่องจักรนั้นต้องไม่เป็นเครื่องจักรที่ผลิตหรือประกอบได้ในราชอาณาจักร ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับชนิดที่ผลิตในต่างประเทศ และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้

มาตรา29

เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า การให้การส่งเสริมแก่กิจการใดหรือแก่ผู้ขอรับการส่งเสริมรายใด ไม่สมควรให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 28 คณะกรรมการจะให้การส่งเสริมแก่กิจการนั้นหรือผู้ขอรับการส่งเสริมรายนั้น และรายต่อๆไป โดยให้ได้รับลดหย่อนอากร ขาเข้าสำหรับเครื่องจักรเพียงกึ่งหนึ่ง หรือจะไม่ให้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรเลยก็ได้ ผู้อ่านนั้นสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ได้จาก www.boi.go.th


นำเข้าเครื่องจักร BOI

Thailand Board Of Investment (BOI) หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ให้สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องจักร เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ เนื่องจากเครื่องจักรนั้น ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของต้นกำเนินการลงทุนในประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานตามมาเป็นจำนวนมาก และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ ต่อเนื่องกันไป เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีอย่างประสิทธิภาพ ผู้อ่านนั้นสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของ BOI เพิ่มเติมได้จาก www.boi.go.th


รูปแบบการนำเข้าเครื่องจักร

บริษัทที่ให้บริการนำเข้าเครื่องจักรนั้น สามารถให้บริการนำเข้าเครื่องจักร ได้หลากหลายรูปแบบดังต่อไปนี้

1.นำเข้าเครื่องจักรทางเรือ ผ่านผู้เชี่ยวชาญและให้บริการครบวงจร
2.นำเข้าเครื่องจักรทางเครื่องบิน ในกรณีเร่งด่วน
3.นำเข้าเครื่องจักรทางรถยนต์


ขอบคุณข้อมูล:https://at-once.info/th/blog/machine-import-process

By:Bank

บทความที่เกี่ยวข้อง
การขนส่งคืออะไร?
การขนส่ง (Transportation) หมายถึง กระบวนการเคลื่อนย้ายคน สินค้า หรือบริการ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
21 พ.ย. 2024
10 เทคโนโลยีก้าวสู่ Smart Logistics
สำหรับประเทศไทย ภาพของ Smart Logistics เองก็ถือว่าน่าจับตามองไม่น้อยเช่นกัน เพราะด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีภาคโรงงานและการผลิต, ภาคการเกษตร และการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญ การปรับปรุงอุตสาหกรรมขนส่งและ Logistics ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั้นจะเป็นตัวเร่งสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโต
20 พ.ย. 2024
วิศวกรรมโลจิสติกส์ เรียนเกี่ยวกับไร จบไปสามารถทำงานไรได้บ้าง
ทำความรู้จักสาขา "วิศวกรรมโลจิสติกส์" ต้องทำงานอะไรบ้างวิศวกรรมโลจิสติกส์ เป็นงานที่เกี่ยวกับเทคนิคทางด้านการออกแบบ และควบคุม สำหรับการขนส่ง เป็นต้น
20 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ