แชร์

Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

อัพเดทล่าสุด: 4 ธ.ค. 2024
303 ผู้เข้าชม
Circular Economy คือ
 
  แนวคิด Circular Economy คือการมุ่งเน้นให้ภาคเศรษฐกิจใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด รวมถึงมีเป้าหมายที่จะลดจำนวนขยะทั่วโลก โดยสนับสนุนให้คิดค้นวัสดุ ผลิตภัณฑ์ และระบบที่เหนือขั้นกว่าแบบเดิมเพื่อเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบการผลิตและบริโภคทางเดียวให้เป็น Circular Economy ที่ลดการใช้วัสดุและทรัพยากรให้น้อยลง ตลอดจนนำ ของเสีย กลับมาเป็นทรัพยากรในการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ใหม่
  หนทางการสร้าง Circular Economy คือแนวทางที่ยั่งยืนและจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับ ตั้งแต่ภาคส่วนธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจขนาดใหญ่ องค์กร บุคคล องค์กรท้องถิ่นไปจนถึงระดับสากลโลก โดยใจความสำคัญของ Circular Economy ตั้งอยู่บนพื้นฐานสามประการ ดังนี้
 
การกำจัดของเสียและมลพิษ ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกทำงานเป็นระบบแบบ Take Make Waste หรือ ถลุง ผลิต และจบด้วยการทิ้งกลายเป็นขยะ ซึ่งการทำงานของระบบลักษณะนี้จะไม่สามารถอยู่ได้ในระยะยาวเนื่องจากทรัพยากรบนโลกเรามีจำกัด ดังนั้น Circular Economy คือการเน้นให้มีการออกแบบวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการใช้งานเพื่อไม่ให้หลงเหลือขยะในธรรมชาติ
 
การหมุนเวียนผลิตภัณฑ์และวัสดุ เป็นการรักษาให้มีการใช้งานวัสดุและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้มีความคุ้มค่าสูงสุด แบ่งออกเป็นการหมุนเวียนเชิงเทคนิค ได้แก่ การใช้ซ้ำ ซ่อมแซม รีไซเคิล และการหมุนเวียนทางชีวภาพ อาทิ การทำปุ๋ยหมัก สามารถนำมาใช้ในการเกษตร ปลูกพืชและนำผลผลิตมาผลิตเป็นอาหารต่อไป
 
การฟื้นฟูธรรมชาติ สนับสนุนให้พึ่งพาพลังงานหมุนเวียนแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ปฏิรูปการทำการเกษตรที่ช่วยฟื้นฟูดินขึ้นมาใหม่และเพิ่มความหลากลายทางชีวภาพ
 
 
Circular vs Recycling vs Linear Economy ต่างกันอย่างไร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  ระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรง หรือ Linear Economy เป็นการนำทรัพยากรมาใช้ในการผลิตเพื่อใช้งานและจบด้วยการทำลายทิ้งกลายเป็นขยะ โดยที่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะไม่ถูกนำกลับมาดัดแปลงหรือใช้ซ้ำอีก การทำงานของ Linear Economy ส่งผลให้เกิดมลพิษ ธรรมชาติเสื่อมโทรม สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง

   จากผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นของ Linear Economy ทำให้เกิดแนวคิด Circular Economy ขึ้นมา รูปแบบเศรษฐกิจทั้งสองแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง Linear Economy เน้นถลุง ผลิต และทำลายทิ้ง แต่ Circular Economy คือการสนับสนุนให้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อขจัดขยะของเสียออกจากภาคเศรษฐกิจให้ได้มากที่สุด

  ส่วน Recycling Economy แม้จะมีความใกล้เคียงกับ Circular Economy แต่มีวิธีการที่แตกต่างกัน โดยการรีไซเคิลจะเน้นให้นำขยะที่ถูกทิ้งมาดัดแปลงเพื่อใช้ซ้ำอีกครั้ง แต่ Circular Economy จะมุ่งเน้นให้ทบทวนตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและผลิตให้มีความยั่งยืน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

  จะเห็นได้ว่า Linear Economy ให้ความสำคัญกับการทำกำไรเป็นหลักผ่านการสร้างมูลค่าการผลิตและการขายจำนวนมาก ในทางกลับกัน Circular Economy และ Recycling Economy ผลักดันให้เกิดความยั่งยืนตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ด้วยการนำกลับมาซ่อมแซม ปรับปรุง ใช้ซ้ำ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอายุที่ยาวนานขึ้น
 
ทำไมหลายบริษัทในปัจจุบันถึงให้ความสำคัญกับ Circular Economy
 โมเดล Circular Economy ไม่เพียงแค่เน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดการสร้างของเสียทำลายธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในปัจจุบันในการผลักดันให้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่รักษ์โลกและช่วยประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจที่ปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวคิดความยั่งยืนทางธรรมชาติที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ

  ทั้งนี้ การจะก้าวไปสู่ Circular Economy ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคธุรกิจจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่หลากหลาย อาทิ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความทนทานมากขึ้น สามารถนำมารีไซเคิลได้ง่าย และสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จะสามารถถูกดึงกลับมาดัดแปลงเพื่อใช้ซ้ำได้อีกครั้ง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://www.dittothailand.com/dittonews/circular-economy/

บทความที่เกี่ยวข้อง
คลังสินค้าคืออะไร? ความสำคัญของคลังสินค้าในยุคธุรกิจออนไลน์
ในยุคที่การซื้อขายผ่านออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว คำว่า "คลังสินค้า" กลายเป็นหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่จริงๆ แล้ว "คลังสินค้า" คืออะไร และมีบทบาทอย่างไรในโลกของธุรกิจออนไลน์? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
28 เม.ย. 2025
เปลี่ยนข้อมูลจำนวนมหาศาลในโลจิสติกส์เป็น Insight ด้วย ChatGPT
การช่วยสรุปรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลขนส่งจากระบบ ERP หรือ Excel ในโลกของโลจิสติกส์วันนี้ ข้อมูลคือ "ขุมทรัพย์" ที่มีมูลค่ามหาศาล — แต่ถ้าข้อมูลเยอะเกินไป ไม่มีเวลา หรือไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน มันก็อาจกลายเป็น "ภาระ" แทนได้เช่นกัน
ร่วมมือ.jpg Contact Center
28 เม.ย. 2025
ลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ในธุรกิจขนส่ง ด้วยผู้ช่วย AI
ในยุคที่ธุรกิจขนส่งเติบโตอย่างก้าวกระโดด ความแม่นยำและความรวดเร็วกลายเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขัน แต่เบื้องหลังระบบโลจิสติกส์ที่ดูราบรื่น มักแฝงไปด้วยภาระงานซ้ำซ้อนและข้อผิดพลาดเล็กๆ จากมนุษย์ที่อาจส่งผลใหญ่ในภาพรวม เช่น การพิมพ์ใบวางบิลผิด, จัดรอบรถล่าช้า, หรือสื่อสารข้อมูลผิดพลาดระหว่างทีม
ร่วมมือ.jpg Contact Center
26 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ