แชร์

Jidoka คืออะไร? ระบบการผลิตแบบจิโดกะ

อัพเดทล่าสุด: 5 ธ.ค. 2024
873 ผู้เข้าชม
  Jidoka คือ ภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า Autonomation หรือการควบคุมโดยอัตโนมัติ เป็นวิธีที่ Toyota ใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อลดความผิดพลาดและความสูญเสียจากกระบวนการผลิต (Waste) ด้วยการออกแบบระบบการผลิตให้หยุดเองอัตโนมัติ
 
  สำหรับ Jidoka ที่ Toyota ใช้ในกระบวนการผลิตจะช่วยลดความผิดพลาดในการผลิตด้วยการมีระบบอัตโนมัติ (Autonomation หรือ Jidoka) ที่จะหยุดกระบวนการผลิตเองอัตโนมัติทันทีเมื่อเกิดความผิดพลาดในการผลิต เพื่อแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนที่จะดำเนินการผลิตต่อไป ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย (Waste) ที่เกิดจากการผลิตที่มีข้อบกพร่อง
 
  นอกจากนี้ ในการใช้งานระบบ Jidoka อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อเกิดกระบวนการที่สร้างปัญหาใด ๆ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องเข้ามาประเมินถึงปัญหาในภายหลังเพื่อขจัดความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอีก

  ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการประกอบชิ้นส่วนเกินเข้าไปในระบบ ระบบอัตโนมัติ Jidoka จะหยุดกระบวนการผลิตชั่วคราว จากนั้นเจ้าหน้าที่จะเข้าไปจัดการชิ้นส่วนที่เกินก่อนที่จะดำเนินการผลิตต่อ

  โดยระบบ Jidoka ที่ Toyota ใช้นั้นจะใช้เป็นสัญญาณไฟที่จะสว่างขึ้นเมื่อเกิดความผิดพลาดในการผลิตขึ้นมา เพื่อส่งสัญญาณให้พนักงานหยุดกระบวนการผลิต และพนักงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไข
 
ประโยชน์ของระบบ Jidoka
  การใช้หลักการของ Jidoka ตลอดกระบวนการผลิตเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบการผลิตของโตโยต้า (Toyota Production System หรือ TPS) จะช่วยบังคับให้ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบตัวเองแก้ไขความไม่สมบูรณ์ในทันที เพื่อลดปริมาณงานในอนาคตที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่อง

  จะเห็นว่าประโยชน์หลักของ Jidoka คือ ช่วยป้องกันไม่ให้งานที่มีความผิดพลาดหลุดไปยังกระบวนการต่อไปรวมถึงหลุดไปจนถึงมือลูกค้า

  เพราะถ้าชิ้นส่วนที่ประกอบผิดพลาดในตัวอย่างหลุดเข้าไปเป็นชิ้นส่วนในขั้นตอนต่อไป ก็ยากที่จะตรวจสอบหรือยากที่จะรู้ว่าสินค้าชิ้นนั้นมีความผิดพลาด และสุดท้ายสินค้าที่มีปัญหาก็จะถูกส่งไปถึงมือลูกค้า และเกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย
 
  ปัญหาที่ตามมาก็จะส่งผลให้ต้นทุกการผลิตสูงขึ้น จาก Reverse Logistics หรือ การส่งสินค้าที่เสียหายกลับมาและต้นทุนในการชดใช้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นความสูญเปล่าตามหลัก 7 Wastes ของญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ในส่วนของเครื่องอัตโนมัติที่สามารถตรวจจับความผิดพลาดได้เองโดยไม่ต้องพึ่งมนุษย์เข้าไปแก้ปัญหายังช่วยทำให้เจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมตลอดเวลา 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim 
ที่มา : https://shorturl.asia/XOH3v

บทความที่เกี่ยวข้อง
ลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ในธุรกิจขนส่ง ด้วยผู้ช่วย AI
ในยุคที่ธุรกิจขนส่งเติบโตอย่างก้าวกระโดด ความแม่นยำและความรวดเร็วกลายเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขัน แต่เบื้องหลังระบบโลจิสติกส์ที่ดูราบรื่น มักแฝงไปด้วยภาระงานซ้ำซ้อนและข้อผิดพลาดเล็กๆ จากมนุษย์ที่อาจส่งผลใหญ่ในภาพรวม เช่น การพิมพ์ใบวางบิลผิด, จัดรอบรถล่าช้า, หรือสื่อสารข้อมูลผิดพลาดระหว่างทีม
ร่วมมือ.jpg Contact Center
26 เม.ย. 2025
ระบบวิธีการจัดการงาน CN (Credit Note) หรืองานตีกลับในคลังสินค้า
ระบบวิธีการจัดการงาน CN (Credit Note) หรืองานตีกลับในคลังสินค้า
Notify.png พี่ปี
25 เม.ย. 2025
สินค้าหมดอายุแล้วแต่อยู่ในคลัง ไม่มีระบบแจ้งเตือนควรทำอย่างไร?
สินค้าหมดอายุแล้วแต่อยู่ในคลัง ไม่มีระบบแจ้งเตือนควรทำอย่างไร?
Notify.png พี่ปี
25 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ