แชร์

ผลกระทบและความเป็นไปได้ หากสมมติว่าประเทศไทยคิด VAT 15%

อัพเดทล่าสุด: 12 ธ.ค. 2024
162 ผู้เข้าชม
   VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่มอาจเป็นสิ่งที่หลายคนเคยมองข้าม แม้ภาษีเหล่านี้ถูกจัดเก็บจากสินค้าที่เราซื้อในทุกๆ ชิ้น เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังคงใช้การเก็บ VAT อยู่ที่ 7% ทำให้ภาษีที่จ่ายในสินค้าทั่วไปไม่ได้มีมูลค่าเยอะมากนักและเป็นเงินเล็กน้อยจนบางคนอาจไม่ทันสังเกต
 
   ความจริงแล้วประเทศไทยมีอัตราการเก็บ VAT อยู่ที่ 10% มาเนิ่นนานแล้ว ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ในกฎหมายจะมีคำว่า ให้ลดลงได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับออกมาเพื่อปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลง ซึ่งพระราชกฤษฎีกาจะกำหนดสิทธิในการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 1 - 2 ปี เท่านั้น จึงต้องมีการต่ออายุอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อัตราสุดท้ายยังอยู่ที่ 7% 
 
 แต่หลังจากมีข่าวว่ากระทรวงการคลังจะเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 15% ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมโซเชียลมีเดียและมีหลายคนเข้าใจว่ารัฐบาลคิดจะเก็บภาษี VAT 15% หลากหลายฝ่ายจึงออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงแนวคิดนี้ โดยเฉพาะปัญหาค่าครองชีพที่อาจเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ค่าแรงยังคงเท่าเดิม
 
  ขณะที่เมื่อ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยถึงเรื่องนี้ว่า การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มยังคงเป็นแค่แนวคิดและต้องพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียก่อนรวมถึงแนวโน้มทั่วโลกและต้องดูภาพรวมทั้งหมด 
 
 ตอนนี้บางคนอาจกำลังสับสนกับตัวเลขเปอร์เซ็นต์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เราเห็นภาพของเรื่องนี้ ไทยรัฐพลัสจึงจำลองสถานการณ์สมมติหากประเทศไทยคิด VAT 15 เปอร์เซ็นต์จะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าทั่วไปที่เราใช้กันในปัจจุบันอย่างไรบ้าง
 
VAT 15% จะทำให้เราเสียค่าใช้จ่ายมากแค่ไหน
   เมื่อลองคำนวณสินค้าทั่วไปจากราคาที่รวม VAT 7% แล้ว เปลี่ยนเป็นราคาสินค้าที่รวม VAT 15% โดยยังไม่รวมภาษีของวัตถุดิบสินค้าที่อาจเพิ่มขึ้น จะได้ราคาสินค้าออกมาดังนี้ 
-บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 7 บาท เพิ่มเป็น 7.50 บาท คิดเป็น VAT 0.99 บาท 
-กาแฟ 1 แก้ว 60 บาท เพิ่มเป็น  64.17 บาท คิดเป็น VAT 8.37 บาท 
-ผ้าอนามัย (20 ชิ้น) 62 บาท เพิ่มเป็น 66.31 บาท คิดเป็น VAT 8.65 บาท
-ผงซักฟอก (1 กก.) 80 บาท เพิ่มเป็น 85.56 บาท คิดเป็น VAT 11.16  บาท
-ไอศกรีม 109 บาท เพิ่มเป็น 117 บาท คิดเป็น VAT 15.63 บาท
-ตั๋วหนัง 260 บาท เพิ่มเป็น 278 บาท คิดเป็น VAT 36.2 บาท
-ค่าอินเทอร์เน็ต  427 บาท เพิ่มเป็น 459 บาท คิดเป็น VAT 60 บาท
-iPhone 16 Pro Max 48,900 บาท เพิ่มเป็น 52,299 บาท คิดเป็น VAT 6,822 บาท
 
   เห็นได้ว่าตามปกติ VAT จะเพิ่มขึ้นตามราคาของสินค้านั้นๆ  แต่เมื่อเปอร์เซ็นต์ของ VAT เพิ่มขึ้นจะทำให้สินค้าราคาแพงถูกเก็บภาษีมากขึ้น และอาจส่งผลกระทบในหลายด้าน เช่น คนใช้จ่ายน้อยลงหรือผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายวัตถุดิบการผลิตมากขึ้น 
 
   เมื่อมองดูตัวเลข VAT ที่เพิ่มขึ้นจะสังเกตเห็นว่า หากสินค้าในราคาหลักหน่วยหรือหลักสิบจะเสียภาษีเพิ่มประมาณ 1-10 กว่าบาท  ในขณะที่สินค้าราคาหลักร้อย เมื่อถูกคิด VAT 7% จะเสียภาษีเพียงหลักหน่วย แต่เมื่อเพิ่มเป็น VAT 15% จะเสียเงินเพิ่มขึ้นเป็นหลักสิบ และถ้าใช้จ่ายในราคาหลักพันจะเสียภาษีทวีคูณเพิ่มเกือบสองเท่าจากเดิมที่เคยจ่ายในอัตรา VAT 7%
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/104996

บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาษีนำเข้าคืออะไรและคำนวณภาษีนำเข้าอย่างไร
CIF คืออะไร ใช้ในการคำนวณภาษีนำเข้าอย่างไร ... C = Cost (ต้นทุน). I = Insurance (ประกันภัย). F = Freight (ค่าขนส่ง). การคำนวณอัตราภาษีขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าที่ต้องเสีย
นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
10 ม.ค. 2025
การบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงาน คู่มือฉบับสมบูรณ์
การบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม การมีระบบการบำรุงรักษาที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพจะช่วยลดค่าใช้จ่าย
ออกแบบโลโก้__5_.png MANthi
19 ธ.ค. 2024
ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังธรรมชาติ
เทคโนโลยีในการผลิตพลังงานจากธรรมชาติกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลง และประสิทธิภาพสูงขึ้น
ออกแบบโลโก้__5_.png MANthi
18 ธ.ค. 2024
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ