แชร์

Work Life Balance คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับการทำงานยุคใหม่

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 16 ม.ค. 2025
289 ผู้เข้าชม
Work Life Balance คือ 
    สมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต ซึ่งคำสำคัญที่ต้องเข้าใจก็คือ สมดุล ที่ว่านั้นหมายถึงอะไร คำว่า สมดุล ในที่นี้ หมายถึง การทำงานและการใช้ชีวิตไม่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อกันและกัน ในบางจังหวะชีวิตอาจทำงานหนักกว่าการใช้เวลาส่วนตัว หรือในบางช่วงภาระความรับผิดชอบต่าง ๆ ในชีวิตก็เรียกร้องให้เอาใจใส่มากกว่า
 
    ดังนั้น คำว่า สมดุล หรือ Balance ในที่นี้ จึงไม่ได้หมายถึงการแบ่งเวลาหรือพลังงานของคนเราแบบเท่า ๆ กัน 50 : 50 หรือทฤษฎีการจัดสรรเวลาสูตร 8 : 8 : 8 (เป็นเวลาทำงาน เวลาพักผ่อน และเวลาสำหรับการดูแลชีวิต) ที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกัน จึงไม่ใช่ตัวอย่างของการปรับสมดุล Work Life Balance เท่านั้น 

    นอกจากนี้ การที่คนคนหนึ่งทำงานหนักมากอย่างเช่น คนที่ทุ่มเททำงานเพื่อสร้างธุรกิจในช่วงตั้งไข่อาจทำงานมากถึงวันละ 14 ชั่วโมง หรือเจ้าของกิจการที่ทำงานหนักกว่าพนักงาน ก็ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาขาด Work-life balance เสมอไป ทั้งหมดขึ้นอยู่กับจังหวะในชีวิตของเขาในช่วงนั้น ๆ ต้องการทำอะไร แล้วการทำงานของเขากระทบกับการใช้ชีวิต สุขภาพ หรือความสัมพันธ์กับคนรอบตัวแค่ไหน
 
ความสำคัญของ Work Life Balance ในมุมขององค์กร/บริษัท
    ในมุมของคนทำงาน คงไม่ต้องอธิบายกันมากมาย ว่าทำไมเรื่อง Work-life balance ถึงสำคัญ เพราะการทำงานหนักมากเกินไปจนเสียสมดุล ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมไปถึง ไม่มีเวลาในการดูแลตัวเองและจัดการเรื่องอื่น ๆ ในชีวิต

    ส่วนในมุมของบริษัท ปัญหา Work-Life Balance ยังเป็นปัญหาที่หลายองค์กรยังมองข้ามอยู่ เพราะเมื่อมองอย่างผิวเผินแล้ว การที่พนักงานทุ่มเททำงานหนักให้บริษัทน่าจะเป็นเรื่องที่บริษัทได้ประโยชน์เต็ม ๆ

    ความเป็นจริงแล้ว การที่พนักงานขาด Work-life balance จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของบริษัท/องค์กรเหมือนการที่โดมิโน่ล้มต่อกันไปเรื่อย ๆ เริ่มจากปัญหาสุขภาพพนักงานที่ย่ำแย่ลงจากการทำงานหนักและขาดเวลาในการดูแลตัวเอง ปัญหาสุขภาพใจจากการทำงาน เช่น ภาวะเครียด วิตกกังวล หรือรุนแรงถึงภาวะหมดไฟ และภาวะซึมเศร้า ฯลฯ โดยข้อมูลจาก ACAS ระบุว่า ภาวะขาด Work Life Balance เป็นสาเหตุให้พนักงานลางาน และส่งผลให้ประสิทธิภาพและ Productivity ในการทำงานลดลง
 
เคล็ดลับสำหรับองค์กร สร้างสมดุลการทำงานให้กับพนักงาน
1. ยืดหยุ่นเวลาเข้า-ออกงาน
    ในบางครั้ง เวลาการเข้า-ออกงาน หรือการตอกบัตร-สแกนนิ้วรายงานตัวเข้าทำงานก็เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต เพราะในบางวัน พนักงานอาจมีเหตุจำเป็นที่ต้องสะสางให้เรียบร้อยก่อน การกำหนดเวลาเข้า-ออกงานแบบเป๊ะ ๆ หรือมีมาตรการหักเงินค่ามาสาย อาจไม่สมเหตุสมผลเสมอไป

  เวลาเข้า-ออกงานที่ยืดหยุ่นจะช่วยให้พนักงานมีอำนาจในการจัดสรรและบริหารเวลาส่วนตัวได้ดีขึ้น เช่น เช้านี้อาจต้องไปทำธุระที่ธนาคารก่อนเข้างาน หรือบางคนต้องไปส่งลูกค้าเข้าโรงเรียนก่อน ฯลฯ 

     บริษัทสามารถส่งเสริม Work life balance ในจุดนี้ได้ อาจเป็นการกำหนดเวลาทำงานครบ 8 ชั่วโมง และมีกะให้เข้าสามช่วง เช่น 8, 9 และ 10 นาฬิกา
 
 
2. Work From Home และ Remote Working
    คล้ายกับเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น อีกมาตรการที่ช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีสมดุลการทำงาน-การใช้ชีวิตที่ดี คือ การที่พวกเขาสามารถเลือกทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) หรือจะทำงานจากที่ใดก็ได้ (Remote Working) ขอแค่ให้ทำงานออกมาสำเร็จทันเวลา  

    วิธีการนี้ จะช่วยเปิดโอกาสให้พนักงานมีเวลาในการดูแลตัวเองมากขึ้น มีเวลาจัดระเบียบบ้านและชีวิต หรือมีเวลาพักผ่อนเพิ่มขึ้น จากการที่ไม่ต้องเดินทางไปทำงาน 

    ปัจจุบัน บางองค์กรก็นำแนวคิดนี้ มาปรับใช้ผสมผสานกับการทำงานในรูปแบบปกติ (Routine Woring) เช่น สามารถทำงานที่บ้านหรือที่ใดก็ได้ 2 วันต่อสัปดาห์ หรือเข้าออฟฟิศมาประชุมกันเพียงสัปดาห์ละครั้ง หรือบริษัทสมัยใหม่บางที่ก็ถึงขึ้นอนุญาตให้พนักงานสามารถ Workation ทำงานได้ด้วย-ท่องเที่ยวไปได้อีกด้วย
 
3. รีวิว Workload หรือภาระงาน และกระจายงาน
   หนึ่งในปัญหาสำคัญของ Work-ไร้-Balance คือ การที่ภาระงานของคนทำงานหนักเกินไป ซึ่งผู้มอบหมายงาน หัวหน้างาน หรือผู้จัดการควรหมั่นรีวิวภาระงานของคนทำงานในทีมแต่ละคน ดูว่าใครรับภาระมากเกินไปหรือเปล่า หรือพนักงานคนไหนที่สามารถแบ่งเบาภาระไปทำเพิ่มเติมได้บ้าง 
 
4. สวัสดิการสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาวะ
   สวัสดิการสุขภาพ เช่น เงินช่วยค่ารักษาพยาบาล ประกันสุขภาพ สิทธิวันลาป่วย ฯลฯ หรือสวัสดิการที่ช่วยส่งเสริมการดูแลตัวอย่าง เช่น สิทธิหรือส่วนลดฟิตเนส โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพพนักงาน (EAP) ที่คอยเตือนให้พนักงานใส่ใจดูแลสุขภาพ จะช่วยลดภาระในการดูแลสุขภาพของพนักงานลง 
 
   รวมไปถึงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีผ่านกิจกรรมหรือนโยบายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมลดน้ำหนักพนักงาน กิจกรรมออกกำลังกายต่าง ๆ โรงอาหารสุขภาพ (Healthy canteen) หรือของว่างสุขภาพ (Healthy snack break)  ก็ช่วยสร้างสมดุลในด้านสุขภาพให้กับพนักงาน
 
5. สนับสนุนค่านิยม Work Life Balance
   นอกจากเรื่องของนโยบายการทำงานที่ส่งเสริม Work-lofe balance และสวัสดิการต่าง ๆ แล้ว เรื่องของการสร้างวัฒนธรรมและส่งเสริมค่านิยมเองก็เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญ
 
   เริ่มต้นจากการที่หัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้บริหาร ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานที่ให้คุณค่ากับ Work-life balance และเคารพเวลาส่วนตัวของพนักงาน เช่น ไม่ทักถามเรื่องงานหลังเวลางาน ไม่ส่งเสริมให้ทำงานล่วงเวลา มีระบบการประเมินผลจากผลงานมากกว่าปริมาณงานหรือเวลาที่ใช้ สร้างบทสนทนาในเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากเรื่องงาน เพื่อสนับสนุนให้พนักงานใส่ใจกับชีวิตในด้านอื่น ๆ และไม่รู้สึกว่า ชีวิตด้านอื่นมีความสำคัญน้อยกว่าเรื่องงาน 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://www.sakid.app/blog/work-life-balance/
 
 

บทความที่เกี่ยวข้อง
ระบบวิธีการจัดการงาน CN (Credit Note) หรืองานตีกลับในคลังสินค้า
ระบบวิธีการจัดการงาน CN (Credit Note) หรืองานตีกลับในคลังสินค้า
Notify.png พี่ปี
25 เม.ย. 2025
Break Down คืออะไรในงานคลังสินค้า?
Break Down คืออะไรในงานคลังสินค้า?
Notify.png พี่ปี
25 เม.ย. 2025
สินค้าหมดอายุแล้วแต่อยู่ในคลัง ไม่มีระบบแจ้งเตือนควรทำอย่างไร?
สินค้าหมดอายุแล้วแต่อยู่ในคลัง ไม่มีระบบแจ้งเตือนควรทำอย่างไร?
Notify.png พี่ปี
25 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ