ถังขยะแยกประเภท 4 แบบ และวิธีแยกขยะในบ้านอย่างไรให้ปลอดภัย
อัพเดทล่าสุด: 17 ม.ค. 2025
38 ผู้เข้าชม
ถังขยะแยกประเภทมีอะไรบ้าง
ถังขยะแยกประเภทมีให้เลือกใช้งานตามวัตถุประสงค์ แบ่งเป็น
1. ถังขยะสีแดง
สำหรับใส่ขยะมีพิษ สิ่งของอันตราย สารเคมี สารทำระเบิดต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้ เมื่อใส่รวมไปกับวัตถุอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุที่สามารถระเบิดได้ทั้งหมด วัตถุไวไฟ วัตถุออกไซต์ วัตถุเปอร์ออกไซต์ วัตถุมีพิษ วัตถุกัมมันตรังสี สิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรค สิ่งที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพันธุกรรม สารกัดกร่อน สารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
รวมถึงสารต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความอันตรายต่อคน สิ่งแวดล้อม สัตว์ พืช เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ ถ่ายไฟฉาย โทรศัพท์มือถือเก่า ขวด ภาชนะที่ใส่สารกำจัดแมลงหรือหญ้า กระป๋องสเปรย์สารเคมีต่าง ๆ หรือประป๋องสีสเปรย์ เป็นต้น
สำหรับใส่ขยะมีพิษ สิ่งของอันตราย สารเคมี สารทำระเบิดต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้ เมื่อใส่รวมไปกับวัตถุอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุที่สามารถระเบิดได้ทั้งหมด วัตถุไวไฟ วัตถุออกไซต์ วัตถุเปอร์ออกไซต์ วัตถุมีพิษ วัตถุกัมมันตรังสี สิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรค สิ่งที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพันธุกรรม สารกัดกร่อน สารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
รวมถึงสารต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความอันตรายต่อคน สิ่งแวดล้อม สัตว์ พืช เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ ถ่ายไฟฉาย โทรศัพท์มือถือเก่า ขวด ภาชนะที่ใส่สารกำจัดแมลงหรือหญ้า กระป๋องสเปรย์สารเคมีต่าง ๆ หรือประป๋องสีสเปรย์ เป็นต้น
2. ถังขยะสีเหลือง
สำหรับใส่ขยะรีไซเคิล ขยะเหล่านี้จะต้องสามารถนำกลับมาเพื่อใช้งาน ใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง เช่น พลาสติกต่าง ๆ แก้ว เศษโลหะ เศษอะลูมิเนียม กล่องนม ยางรถยนต์ กล่อง UHT กระป๋องต่าง ๆ
สำหรับใส่ขยะรีไซเคิล ขยะเหล่านี้จะต้องสามารถนำกลับมาเพื่อใช้งาน ใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง เช่น พลาสติกต่าง ๆ แก้ว เศษโลหะ เศษอะลูมิเนียม กล่องนม ยางรถยนต์ กล่อง UHT กระป๋องต่าง ๆ
3. ถังขยะสีเขียว
สำหรับใส่ขยะมูลฝอยที่สามารถย่อยสลายได้เท่านั้น เป็นจำพวกขยะเศษอาหารที่พร้อมเน่าเสีย ย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำไปเป็นอาหารของสัตว์ หรือนำไปเป็นปุ๋ยหมักได้ เช่น เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้ กิ่งไม้
สำหรับใส่ขยะมูลฝอยที่สามารถย่อยสลายได้เท่านั้น เป็นจำพวกขยะเศษอาหารที่พร้อมเน่าเสีย ย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำไปเป็นอาหารของสัตว์ หรือนำไปเป็นปุ๋ยหมักได้ เช่น เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้ กิ่งไม้
4. ถังขยะสีน้ำเงินหรือสีฟ้า
สำหรับใส่ขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และไม่คุ้มค่ากับการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอยล์ที่เปื้อนอาหาร
วิธีการแยกขยะให้ปลอดภัย
สำหรับวิธีการที่จะแยกขยะให้ปลอดภัยห่างไกลจากเชื้อโรคและอันตรายนั้น ต้องเริ่มต้นที่ทำความเข้าใจกับสมาชิกในบ้านให้ดีว่าจะต้องร่วมกันปฏิบัติแบบไหนเพื่อให้บ้านของคุณห่างไกลโรค และแหล่งพาหะของโรคต่าง ๆ ซึ่งในการคัดแยกขยะจะต้องทำตั้งแต่ที่ขยะอยู่ในมือ ซึ่งเรามีตัวอย่างการปฏิบัติมาฝากด้วยดังต่อไปนี้
สำหรับวิธีการที่จะแยกขยะให้ปลอดภัยห่างไกลจากเชื้อโรคและอันตรายนั้น ต้องเริ่มต้นที่ทำความเข้าใจกับสมาชิกในบ้านให้ดีว่าจะต้องร่วมกันปฏิบัติแบบไหนเพื่อให้บ้านของคุณห่างไกลโรค และแหล่งพาหะของโรคต่าง ๆ ซึ่งในการคัดแยกขยะจะต้องทำตั้งแต่ที่ขยะอยู่ในมือ ซึ่งเรามีตัวอย่างการปฏิบัติมาฝากด้วยดังต่อไปนี้
1. หน้ากากอนามัย ชุดตรวจโควิด-19 หรือขยะติดเชื้อ
แน่นอนว่าแหล่งเชื้อโรคที่สำคัญมาจากหน้ากากอนามัยหรือชุดตรวจโควิด-19 ที่ใช้แล้ว จึงต้องทำการแยกขยะชนิดนี้ให้ชัดเจน เพื่อให้ปลอดภัยจากคนในบ้านของคุณ และเจ้าหน้าที่ที่ทำการเก็บขยะด้วย วิธีการทิ้งคือ
แน่นอนว่าแหล่งเชื้อโรคที่สำคัญมาจากหน้ากากอนามัยหรือชุดตรวจโควิด-19 ที่ใช้แล้ว จึงต้องทำการแยกขยะชนิดนี้ให้ชัดเจน เพื่อให้ปลอดภัยจากคนในบ้านของคุณ และเจ้าหน้าที่ที่ทำการเก็บขยะด้วย วิธีการทิ้งคือ
-ใส่ถุงแดงสำหรับขยะติดเชื้อ 2 ชั้น หรือถุงทั่วไป 2 ชั้น และระบุที่ถุงว่าเป็นขยะติดเชื้อ
-ฉีดแอลกอฮอล์ 70% ที่ปากถุงขยะเพื่อฆ่าเชื้อ
-มัดปากถุงให้แน่นก่อนทิ้ง
-ล้างมือให้สะอาด
-ฉีดแอลกอฮอล์ 70% ที่ปากถุงขยะเพื่อฆ่าเชื้อ
-มัดปากถุงให้แน่นก่อนทิ้ง
-ล้างมือให้สะอาด
2. ขยะมีคม
ขยะจำพวกมีด กรรไกร หรือมีดโกนหนวด จะต้องทำการห่อ หรือทิ้งลงภาชนะให้แยกออกมาให้ปลอดภัยทีสุด เช่น ทิ้งใบมีดลงในขวด แล้วทำการปิดฝาให้สนิท หรือห่อด้วยกระดาษทบหลาย ๆ ชั้น แล้วใส่ถุงแยกต่างหาก พร้อมเขียนหน้าถุงว่าของมีคม หรือขยะมีคม เพื่อไม่ให้สมาชิกในบ้านที่นำขยะไปทิ้งได้รับอันตรายหากถุงขยะหลุดรั่ว รวมทั้งป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ที่มาเก็บได้รับอันตรายด้วยเช่นกัน
ขยะจำพวกมีด กรรไกร หรือมีดโกนหนวด จะต้องทำการห่อ หรือทิ้งลงภาชนะให้แยกออกมาให้ปลอดภัยทีสุด เช่น ทิ้งใบมีดลงในขวด แล้วทำการปิดฝาให้สนิท หรือห่อด้วยกระดาษทบหลาย ๆ ชั้น แล้วใส่ถุงแยกต่างหาก พร้อมเขียนหน้าถุงว่าของมีคม หรือขยะมีคม เพื่อไม่ให้สมาชิกในบ้านที่นำขยะไปทิ้งได้รับอันตรายหากถุงขยะหลุดรั่ว รวมทั้งป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ที่มาเก็บได้รับอันตรายด้วยเช่นกัน
3. ขยะมีพิษ
ขยะมีพิษที่ส่วนใหญ่เราใช้กันในบ้านได้แก่
ขยะมีพิษที่ส่วนใหญ่เราใช้กันในบ้านได้แก่
-น้ำยาขัดห้องน้ำและสุขภัณฑ์
-นํ้ายาขัดกระจก
-ยาฆ่าแมลง
-นํ้ายาขัดเครื่องเงินหรือเครื่องทองแดง
-ยาขัดรองเท้า
-แบตเตอรี่
-ถ่านไฟฉาย
-หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์
-นํ้ายาขัดกระจก
-ยาฆ่าแมลง
-นํ้ายาขัดเครื่องเงินหรือเครื่องทองแดง
-ยาขัดรองเท้า
-แบตเตอรี่
-ถ่านไฟฉาย
-หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์
วิธีการทิ้งขยะมีพิษ คือ
-แยกขยะมีพิษออกจากขยะทั่วไป หากเป็นของเหลวไม่ควรทิ้งหรือเทรวมกันเพราะอาจทำปฏิกิริยาต่อกันได้
-เก็บรวบรวมไว้ในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปทิ้งในถังขยะที่เป็นถังเฉพาะสำหรับขยะมีพิษ (ถังขยะสีแดง) หากไม่มีถังขยะสีแดงให้เขียนหน้าถุงว่า "ขยะมีพิษ" หรือ "ขยะอันตราย"
-กรณีที่เป็นถ่านไฟฉาย หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ แบตเตอรี่มือถือ หรือกระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ ให้เก็บทิ้งโดยแยกคนละถุง พร้อมติดป้ายหน้าถุง เช่น "ขยะมีพิษ ถ่านไฟฉายใช้แล้ว"
-โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะมีพิษประเภทกระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ ที่มีสารที่เป็นพิษ หากใครสัมผัสอาจส่งผลต่อระบบประสาท เกิดอาการแพ้ และวิงเวียนศีรษะได้ จึงควรแยกออกจากขยะประเภทอื่น นอกจากจะลดอันตรายจากการสัมผัสแล้ว ยังลดโอกาสที่จะเกิดการระเบิดด้วย
-แยกขยะมีพิษออกจากขยะทั่วไป หากเป็นของเหลวไม่ควรทิ้งหรือเทรวมกันเพราะอาจทำปฏิกิริยาต่อกันได้
-เก็บรวบรวมไว้ในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปทิ้งในถังขยะที่เป็นถังเฉพาะสำหรับขยะมีพิษ (ถังขยะสีแดง) หากไม่มีถังขยะสีแดงให้เขียนหน้าถุงว่า "ขยะมีพิษ" หรือ "ขยะอันตราย"
-กรณีที่เป็นถ่านไฟฉาย หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ แบตเตอรี่มือถือ หรือกระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ ให้เก็บทิ้งโดยแยกคนละถุง พร้อมติดป้ายหน้าถุง เช่น "ขยะมีพิษ ถ่านไฟฉายใช้แล้ว"
-โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะมีพิษประเภทกระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ ที่มีสารที่เป็นพิษ หากใครสัมผัสอาจส่งผลต่อระบบประสาท เกิดอาการแพ้ และวิงเวียนศีรษะได้ จึงควรแยกออกจากขยะประเภทอื่น นอกจากจะลดอันตรายจากการสัมผัสแล้ว ยังลดโอกาสที่จะเกิดการระเบิดด้วย
BY : Jim
ที่มา : https://shorturl.asia/Oq8QC
Tags :
บทความที่เกี่ยวข้อง
คาร์บอนเครดิต คือ สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม โดยเป็นการแปลงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงให้เป็นหน่วยกลางคือคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ซึ่งสามารถซื้อขายได้ในตลาดคาร์บอน
5 ก.พ. 2025
เครื่องบินเป็นยานพาหนะสำคัญในการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้าทั่วโลก เนื่องจากมีความเร็วและสามารถเดินทางข้ามระยะทางไกลได้อย่างรวดเร็ว เครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งมีหลายประเภท ซึ่งแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ดังนี้
4 ก.พ. 2025
ต้องการทราบวิธีป้องกันความชื้นไม่ให้เข้าไปในภาชนะจัดเก็บหรือไม่ เรียนรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดการควบแน่นของหยดน้ำในภาชนะจัดเก็บ และวิธีป้องกันที่ได้ผลที่สุด
4 ก.พ. 2025