แชร์

ประเภทของโรงงานมีกี่แบบ เลือกที่ใช่ ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 17 ม.ค. 2025
49 ผู้เข้าชม
ประเภทของโรงงานมีกี่แบบ เลือกที่ใช่ ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ
    จะมีโรงงานทั้งที่ แต่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับโรงงาน เห็นทีว่าก็คงจะไม่ได้นะคะ เพราะนอกจากกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินงานประกอบกิจการโรงงานแล้ว เราก็ต้องรู้เกี่ยวกับประเภทของโรงงานด้วยว่ามีกี่ประเภท และแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่ว่าเราจะได้เลือกได้ถูกว่า ธุรกิจของเรานั้นจะเข้าข่ายโรงงานประเภทใดได้บ้าง การที่เราสามารถทราบประเภทได้ ก็จะนำไปสู่การยื่นขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง
 
นิยามโรงงานตามกฎหมาย
   ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2562 โรงงาน คือ อาคาร สถานที่หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 50 แรงม้า หรือมีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คนขึ้นไป เพื่อผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุงแปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายใด ๆ
 
ประเภทของโรงงาน
  กฎหมายโรงงานกำหนดแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการควบคุมการป้องกันเหตุเดือดร้อน รำคาญการป้องกันความเสียหาย และการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมี ต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
1.โรงงานจำพวกที่ 1 : จะมีรูปแบบของโรงงานเฉพาะ เช่น โรงงานที่ต้องฟักไข่โดยตู้อบ โรงงานทำน้ำตาลจากมะพร้าว โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนังทุกประเภท ที่สามารถดำเนินงานประกอบกิจการโรงงานได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องอนุญาต เพียงแต่แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนการดำเนินงาน และต้องต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงฯ และประกาศกระทรวงฯ รวมทั้งออกแบบก่อสร้าง
 
2.โรงงานจำพวกที่ 2 : โรงงานที่มีขนาดของเครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้า แต่ต้องไม่เกิน 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คน แต่ไม่เกิน 75 คนเช่นกัน โรงงานประเภทนี้แม้จะไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่และจะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมรายปีเพื่อประกอบกิจการโรงงาน

3.โรงงานจำพวกที่ 3 : โรงงานที่มีขนาดของเครื่องจักรมากกว่า 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 75 คน โรงงานประเภทนี้จะต้องมีใบ ร.ง.4 ตามกฎกระทรวง เนื่องจากเป็นโรงงานที่ขนาดใหญ่ จะพบได้ในโรงงานเกี่ยวกับน้ำมันจากพืชและสัตว์ โรงงานย้อมฟอกสี โรงงานเกี่ยวกับไม้ ฯลฯ อีกทั้ง โรงงานประเภทนี้จะต้อง สียค่าธรรมเนียมรายปี และเสียค่าใบอนุญาตประกอบกิจการ
 
หมายเหตุ :
-โรงงานทั้งสามประเภท ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานในบริเวณบ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัยอาคารชุดพักอาศัยและบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย
-โรงงานจำพวกที่ 1,2 ห้ามรับเหมาก่อสร้างโรงงานภายในระยะ 50 เมตร จากเขตติดต่อโรงเรียน สถาบันการศึกษา วัด ศาสนสถาน โรงพยาบาล โบราณสถาน สถานที่ทำงานของหน่วยงานของรัฐ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
แวดล้อมตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ต้องตั้งอยู่ในทำเล และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการตามประเภทหรือชนิดของโรงงานโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย
 
จะเกิดอะไรขึ้น หากฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมายโรงงาน
   แน่นอนว่า กฎโรงงานมีขึ้นเพื่อควบคุมการดำเนินงานประกอบกิจการโรงงาน หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องโทษตามกฎหมาย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
 
-กรณีโรงงานจำพวกที่ 2 หากผู้ประกอบกิจการโรงงานดำเนินการโดยไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-กรณีโรงงานจำพวกที่ 3 หากผู้ใดประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต หรือตั้งโรงงาน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
นอกจากนี้ การประกอบกิจการโรงงานในระหว่างที่มีคำสั่งหยุดประกอบกิจการหรือภายหลังที่มีคำสั่งประกอบโรงงาน จะต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท และยังต้องถูกปรับรายวันอีก วันละ 5,000 บาท จนกว่าจะหยุดประกอบกิจการ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งให้แก้ไขปรับปรุง หรือสั่งให้ระงับการกระทำ หรือให้กระทำใด ๆ ต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับ และต้องถูกปรับรายวัน วันละไม่เกิน 5,000 บาท
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://shorturl.asia/cRlL9

บทความที่เกี่ยวข้อง
คาร์บอนเครดิต สิทธิในการปล่อยคาร์บอน และกุญแจสำคัญในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
คาร์บอนเครดิต คือ สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม โดยเป็นการแปลงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงให้เป็นหน่วยกลางคือคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ซึ่งสามารถซื้อขายได้ในตลาดคาร์บอน
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
5 ก.พ. 2025
ประเภทเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่ง
เครื่องบินเป็นยานพาหนะสำคัญในการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้าทั่วโลก เนื่องจากมีความเร็วและสามารถเดินทางข้ามระยะทางไกลได้อย่างรวดเร็ว เครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งมีหลายประเภท ซึ่งแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ดังนี้
ร่วมมือ.jpg เหมาคัน
4 ก.พ. 2025
วิธีป้องกันความชื้นไม่ให้เข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์ขนส่ง
ต้องการทราบวิธีป้องกันความชื้นไม่ให้เข้าไปในภาชนะจัดเก็บหรือไม่ เรียนรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดการควบแน่นของหยดน้ำในภาชนะจัดเก็บ และวิธีป้องกันที่ได้ผลที่สุด
นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
4 ก.พ. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ