แชร์

ความหมายของรหัสและข้อมูลต่าง ๆ บนตู้คอนเทรนเนอร์

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน
อัพเดทล่าสุด: 31 ม.ค. 2025
14 ผู้เข้าชม
ความหมายของรหัสและข้อมูลต่าง ๆ บนตู้คอนเทรนเนอร์
1. รหัสเจ้าของตู้ (HPC) เป็นอักษรแทนชื่อบริษัทเจ้าของตู้ เช่น HPC,TNY, CMA, EGS, TCL เป็นต้น

2. รหัสระบุประเภท (U) จะมีเพียง 1 ตัวที่อยู่ท้าย รหัสเจ้าของตู้ จากรูปภาพคือตัวอักษร U มีความหมายคือ ตู้คอนเทนเนอร์ มีรายละเอียดประเภทดังนี้
-U สำหรับตู้คอนเทนเนอร์สินค้าทั้งหมด
-J สำหรับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าแบบถอดได้
-Z สำหรับรถพ่วงและแชสซี
 
3. รหัสการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์ (200436) มีขนาด 6 หลัก จากตัวอย่างคือ 200463

4. รหัสตรวจสอบความถูกต้อง (1) รหัสที่ตรวจสอบว่าเจ้าของตู้ ประเภทตู้และการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์ ถูกต้องหรือไม่ จากตัวอย่างคือเลข 1

5. ขนาดและชนิดของตู้ (45G1) ขนาดและชนิดของตู้คอนเทนเนอร์จะมีอยู่ 4 ตัว จากตัวอย่างคือ 45G1
-หมายเลข 4 ตัวแรก คือ บอกความยาวตู้ จากตัวอย่างเท่ากับยาว 40 ฟุต
-หมายเลข 5 ตัวถัด คือ บอกความสูงและความกว้างของตู้ จากตัวอย่างเท่ากับ สูง 9 ฟุต 6 นิ้ว (High-cube) กว้าง 2.44 เมตร
-สองหลักสุดท้ายคือ G1 จะบอกชนิดของตู้คอนเทนเนอร์ จากตัวอย่างคือ ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าทั่วไป
 
6. MAX. WT. น้ำหนักสูงสุดที่สามารถรับได้ คือ น้ำหนักของตู้คอนเทนเนอร์เปล่าที่รวมกับน้ำหนักของสินค้า (TARE WT. + PAYLOAD) ที่ตู้คอนเทนเนอร์สามารถรับได้สูงสุด อาจจะแสดงข้อความ MAX. GROSS WGT., MX GR, MAX.GR. และ MAX.WT.

7. TARE WT. น้ำหนักของตู้เปล่า ที่ยังไม่ได้บรรจุสินค้าลงไป

8. PAYLOAD น้ำหนักสินค้าสูงสุดที่สามารถบรรจุได้ โดยอาจเขียนว่า N.W., NET WEIGHT, MAX CARGO WGT และ PAYLOAD หมายถึงน้ำหนักของสินค้าสูงสุดที่สามารถบรรจุใส่ตู้คอนเทนเนอร์นั้นได้

9. CUBE หรือ CU CAP. ปริมาตรสุทธิของตู้คอนเทนเนอร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://ecs-support.github.io/post/knowledge/container-no/
 

บทความที่เกี่ยวข้อง
8 จุดเด่น NOSTRA LOGISTICS ePOD บริหารงานจัดส่งแบบมืออาชีพในยุคออนไลน์
คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการแนะนำเกี่ยวกับการจัดการขนส่งในยุคออนไลน์และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน
ร่วมมือ.jpg เหมาคัน
1 ก.พ. 2025
ขั้นตอนทำลายสินค้าเสื่อมคุณภาพตามแนวทาง กรมสรรพากร
การทำลายสินค้าจะต้องมีตัวแทนจากกรมสรรพากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นพยานในการทำลาย เพื่อยืนยันว่าการทำลายเป็นไปตามกฎหมายและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นักศึกษาฝึกงาน
1 ก.พ. 2025
สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนลงทุนในเฟรนไชส์ขนส่ง: ลงทุนให้คุ้มค่า
ปัจจุบันธุรกิจขนส่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วจากกระแสอีคอมเมิร์ซและการซื้อขายออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น หากคุณกำลังมองหาธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตและให้ผลตอบแทนที่มั่นคง เฟรนไชส์ขนส่งอาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจลงทุน คุณต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญหลายประการเพื่อให้การลงทุนคุ้มค่าที่สุด
ร่วมมือ.jpg Contact Center
1 ก.พ. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ