แชร์

ร้านค้าปลีกและผู้บริโภคต้อง “เปลี่ยน” อย่างไร เมื่อสินค้าที่วางขาย คือตัวการทำ “โลกรวน”

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 5 ก.พ. 2025
9 ผู้เข้าชม
ตัวการทำโลกรวนอยู่ในทุกกิจกรรมและการใช้ชีวิตของทุกคน โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่เรากินใช้กันอยู่ทุกวัน พวกมันผ่านกระบวนการผลิต ขนส่ง จัดเก็บแช่เย็น บริโภค และทิ้งเป็นขยะ ทั้งหมดที่กล่าวไปนั้นล้วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น 
 
จึงไม่น่าแปลกใจที่แค่ระบบอาหารอย่างเดียว ก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปแล้วมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก หรือจะเทียบให้เห็นภาพ เจาะจงลงไปที่การเลี้ยงวัวเพื่อนำมาผลิตอาหารให้มนุษย์ หากนับประชากรวัวทั่วโลกเป็นประเทศๆ หนึ่ง ประเทศแห่งนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงติดอันดับ 1 ใน 3 เลยทีเดียว
 
ดังนั้นจึงพูดได้เต็มปากว่าถ้าผู้บริโภคเปลี่ยนมากินใช้สินค้ายั่งยืน ที่ผลิตด้วยกระบวนการซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นที่ตั้ง นั่นก็สร้างความเปลี่ยนแปลงมหาศาลให้วิกฤติโลกรวนแล้ว และจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญของวิถีบริโภคยั่งยืนไม่ใช่ใครอื่น แต่คือ ร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ต นั่นเอง
 
ทำไมธุรกิจค้าปลีกต้อง เปลี่ยน
วิถีการใช้ชีวิตของผู้คนกำลังเปลี่ยนแปลงไป เมื่อความตระหนักเรื่องโลกรวนเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง การสำรวจของ McKinsey พบว่า ทุกวันนี้ 37 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคชาวยุโรปใส่ใจเรื่องความยั่งยืนอย่างลึกซึ้ง ผู้บริโภคจำนวนมากยินดีจ่ายเงินแพงขึ้น เพื่อซื้อสินค้าที่ปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าและผลิตอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อม 

พูดง่ายๆ ก็คือจากนี้ไป ลูกค้าจะยิ่งเลือกซื้อของที่พวกเขาพิจารณาแล้วว่าเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและโลกใบนี้ ดังนั้นถ้าร้านค้าปลีกยังเพิกเฉย เลือกขายแต่สินค้าเดิมๆ ที่ไม่ยั่งยืน พวกเขาก็จะทยอยสูญเสียลูกค้าไปเรื่อยๆ นั่นเอง

นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้ กฏหมายและมาตรการของประเทศต่างๆ เพื่อกดดันให้แต่ละภาคส่วน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้น อย่างประเทศเนเธอแลนด์ ที่ออกแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ทำให้เกษตรกรผู้เป็นซัพพลายเออร์ส่งสินค้าเนื้อสัตว์-นมโคต้องเปลี่ยนวิธีผลิตให้กรีนขึ้นเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ส่งผลต่อเนื่องไปสู่ธุรกิจค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ตที่ต้องปรับตัวตามไปด้วย ไม่อย่างนั้นการค้าขายก็เสี่ยงที่จะชะลอตัวลง
 
อาจดูเหมือนไฟลต์บังคับ แต่เจ้าของธุรกิจค้าปลีกที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลจะรู้ได้ทันทีว่านี่คือโอกาส เพราะการบริหารธุรกิจด้วยแนวคิดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ นำมาซึ่งการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายในหลายๆ ทาง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าและพลังงาน 
 
ก๊าซเรือนกระจก ในอุตสาหกรรมค้าปลีก
ถ้าคุณไม่เคยทำความเข้าใจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจใดๆ มาก่อน เราขออธิบายแบบกระชับให้เข้าใจว่า ในทุกอุตสาหกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ขอบเขตคือ

-ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในที่นี้หมายถึงส่วนต่างๆ ของร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ต
-ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตพลังงานและไฟฟ้า ที่ถูกใช้ในร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ตนั้นๆ
-ขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากจากปัจจัยอื่นๆ ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูปอาหาร ขนส่ง จัดเก็บแช่เย็น ไปจนถึงการบริโภค และของเสียที่เกิดขึ้นหลังการบริโภค
 
ร้านค้าปลีกที่อยู่รอดต้องใส่ใจ ความยั่งยืน
อย่างที่อธิบายไปข้างต้นว่า ทุกวันนี้ผู้บริโภคชาวยุโรปเริ่มตระหนักต่างวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม และใส่ใจความยั่งยืนอย่างลึกซึ้ง จึงไม่น่าแปลกใจที่ร้านค้าปลีกและซูเปอร์มาเก็ตชั้นนำในยุโรปล้วนกำหนดเป้าหมาย Net Zero กันเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และ 2 ซึ่งแต่ละร้านสามารถดำเนินการได้เลยทันที 
 
อย่างไรก็ตามเพื่อไปให้ถึงเป้า Net-Zero นอกจากส่วนของร้านค้าแล้ว พวกเขาจะต้องผลักดันส่วนโกดัง ระบบขนส่ง และการผลิตให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ด้วย แผนของพวกเขามีทั้งการออกแบบศูนย์กระจายสินค้า ให้เป็นเครือข่ายที่ลดระยะทางจากโกดังสินค้าไปยังร้านค้า ตลอดจนเปลี่ยนรถบรรทุกเครื่องยนต์ใช้น้ำมันแบบเดิม ไปเป็นยานพาหนะไฟฟ้า เช่นเดียวกับผู้นำร้านค้าปลีกแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ที่เปลี่ยนรถแทรกเตอร์ 10,000 คันและรถพ่วง 80,000 คัน ไปใช้เทคโนโลยีขนส่งที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าแทน

สำหรับร้านค้าปลีกเจ้าใหญ่ๆ ที่มีสินค้าตราห้าง (House Brand) เป็นของตัวเอง สิ่งที่ต้องคำนึงเพิ่มคือกระบวนการผลิตสินค้าแต่ละชนิดที่ต้องทำให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนขึ้น เช่น ลดหรือรีไซเคิลของเสีย ตลอดจนนำความร้อนที่เกิดขึ้นจากการกระบวนการไปผลิตไฟฟ้า ซึ่งล้วนมีผลต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น

ในแง่ผู้ประกอบการอาจมองว่าการลงทุนเพื่อเพื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ลดก๊าซเรือนกระจก อาจไม่คืนทุน แต่ McKinsey ยืนยันหนักแน่นว่าในท้ายที่สุดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมแต่ยังเพิ่มพูนผลกำไร และช่วยลดต้นทุนอย่างแน่นอน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://globalcompact-th.com/news/detail/1062

บทความที่เกี่ยวข้อง
7 ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน สะท้อนศักยภาพองค์กร
คนส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันมักคุ้นเคยกับการใช้งานแอปพลิเคชันกันอยู่แล้ว ทั้งแอปพลิเคชันนำทาง แอปพลิเคชันเพื่อการสื่อสาร และอื่นๆ อีกมากมาย แต่การพัฒนาแอปพลิเคชันให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป เพราะตัวแอปพลิเคชันต้องตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้อย่างรอบด้าน และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ
นักศึกษาฝึกงาน(ฝ่ายวางแผน)
5 ก.พ. 2025
คนเทรนด์ใหม่ “กิน-ใช้” อย่างไร สร้างโอกาสให้ธุรกิจ
แนวโน้มธุรกิจอาหารแห่งอนาคต ภายใต้ 6 ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่คือ. 1. กินเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ โภชนาการเฉพาะบุคคล เช่น Medical Food ในรูปแบบเจลลี่เสริมสารอาหาร
นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
5 ก.พ. 2025
คาร์บอนเครดิต สิทธิในการปล่อยคาร์บอน และกุญแจสำคัญในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
คาร์บอนเครดิต คือ สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม โดยเป็นการแปลงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงให้เป็นหน่วยกลางคือคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ซึ่งสามารถซื้อขายได้ในตลาดคาร์บอน
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
5 ก.พ. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ