แชร์

โลจิสติกส์และซัพพลายเชน ระบบที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ไว้

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(ฝ่ายวางแผน)
อัพเดทล่าสุด: 11 ก.พ. 2025
13 ผู้เข้าชม

สำหรับคนที่กำลังริเริ่มทำธุรกิจและต้องการเพิ่มขนาดกิจการด้วยการกระจายสินค้าและบริการให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำความรู้จักกับ ระบบโลจิสติกส์ และ ระบบการบริหารจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ซึ่งเป็น 2 ระบบที่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเดียวกัน แต่จริงๆ ถ้าจะพูดให้ถูกต้องบอกว่าเป็นคนละเรื่อง แต่เป็นส่วนหนึ่งของกันและกันต่างหาก

การจัดการซัพพลายเชน หรือการจัดการห่วงโซอุปทาน เป็นการจัดลำดับของกระบวนการทั้งหมดที่มีต่อการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า โดยเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ การผลิต การจัดเก็บ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดจำหน่าย และการขนส่ง ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะหน่วยงานภายในองค์กรเท่านั้น แต่จะสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันเป็นห่วงโซ่หรือเครือข่ายให้เกิดการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีการแบ่งปันข่าวสารข้อมูลที่จำเป็นและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนให้ต่ำสุด และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้สูงสุด


ความสำคัญของการบริหารจัดการซัพพลายเชน
การบริหารธุรกิจในยุคหนึ่ง ผู้บริหารส่วนใหญ่มักยึดหลักการบริหารแบบที่เน้นการปฏิบัติงานอยู่แต่ภายในองค์กรโดยละเลยความสัมพันธ์ระยะยาวและผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างองค์กรภายนอก ผลสุดท้ายก็คือสินค้าและบริการที่ได้มีต้นทุนสูงแต่คุณภาพต่ำ ขณะเดียวกันเงินทุนและทรัพยากรในการบริหารก็เริ่มหายากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารมาเป็นการเปิดให้หน่วยงานอื่นนอกองค์กรที่มีทรัพยากรและเทคนิคเฉพาะที่สามารถทำงานเฉพาะอย่างได้ดีกว่าเข้ามาอยู่ในตำแหน่งนั้นๆ จนเกิดเป็น  ซัพพลายเชน ซึ่งนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน

ความสำคัญของการจัดการซัพพลายเชนต่อธุรกิจ จึงเป็นเรื่องของความสะดวกรวดเร็ว และการเพิ่มประสิทธิภาพ ของกระบวนการในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยแต่ละกระบวนการจำเป็นต้องมีระบบโลจิสติกส์เข้ามาเป็นตัวเชื่อมประสานในการขนย้าย ขนส่ง ลำเลียงสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยระบบโลจิสติกส์จะเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ จนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ เป็นระบบที่ประสานเป็นหนึ่งเดียวทั่วโลก จึงมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศโดยอาศัยระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งจะช่วยลดระยะเวลา ค่าใช้จ่าย เป็นผลให้ต้นทุนลดต่ำลง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างความได้เปรียบเพิ่มกำไร หรืออาจจะกล่าวได้ว่าประโยชน์ของซัพพลายเชน มีดังต่อไปนี้

ช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการต่างๆ ของซัพพลายเชน ส่งผลต่อการส่งมอบวัตถุดิบและบริการต่างๆ ได้อย่างทันเวลา และการนำสินค้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด
2. ช่วยลดต้นทุนของสินค้าและต้นทุนรวมได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเป็นผลมาจากการลดจำนวนสินค้าคงคลัง
3. การตัดสินใจทางธุรกิจตั้งอยู่บนฐานของข้อมูลและข่าวสารที่ถูกต้องแม่นยำ
4. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
5. ช่วยให้เกิดการรวมพลังทางธุรกิจ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันของห่วงโซ่อุปทานที่
6. ช่วยสร้างความพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า
7. ทุกกระบวนการสามารถทำดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพได้อย่างเที่ยงตรง
8. เพิ่มกำไรให้กับธุรกิจและเป็นการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน

ในยุคที่ทุกธรกิจมีการแข่งขันสูง การมีระบบบริหารจัดการซัพพลายเชนและระบบโลจิสติกส์ที่ดีถือเป็นกลยุทธ์ที่ขาดไม่ได้เด็ดขาด เพราะนอกจากจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้นแล้ว ยังมีโอกาสขยับขยายไปสู่ตลาดโลกได้อีกด้วย

 BY : Tonkla

ที่มา : scgjwd.com


บทความที่เกี่ยวข้อง
5 ขั้นตอน การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ในอุตสาหกรรมอาหารอย่างยั่งยืน
“ซัพพลายเชน” เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกธุรกิจอาหารต้องหันมาให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ดีสามารถสร้างความได้เปรียบในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้แก่ธุรกิจและอุตสาหกรรมได้
นักศึกษาฝึกงาน(ฝ่ายวางแผน)
12 ก.พ. 2025
ต้นทุนค่าเสียโอกาส คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
โดยต้นทุนค่าเสียโอกาส หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากทรัพยากรนั้นมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งเราไม่สามารถทำทุกอย่างได้พร้อมกัน เมื่อเราต้องเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราก็ต้องเสียอีกสิ่งหนึ่งไป
นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
10 ก.พ. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ