อุบัติเหตุจากการทำงานกับรถโฟล์คลิฟท์
อัพเดทล่าสุด: 18 ก.พ. 2025
23 ผู้เข้าชม
รถโฟล์คลิฟท์เป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเคลื่อนย้ายของหนักและวัตถุแต่ความปลอดภัยของรถโฟล์คลิฟท์ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง หากคุณปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างปลอดภัยก็จะไม่มีการเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายแต่อย่างใด เบื้องต้นคือการศึกษาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจว่าอุบัติเหตุจากรถโฟล์คลิฟท์ที่อาจเกิดขึ้นเป็นอย่างไร และเรียนรู้วิธีป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยขณะใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด
รถโฟล์คลิฟท์เป็นส่วนสำคัญของการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสินค้าขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีความง่ายขึ้นสำหรับโรงงานและผู้ปฏิบัติงานทั่วโลก แต่กรณีที่ผู้ปฏิบัติงานใช้งานอย่างไม่เหมาะสม รถโฟล์คลิฟท์อาจเป็นอันตรายต่อผู้ขับและผู้ปฏิบัติงานโดยรอบได้เช่นกัน
สถิติของรถโฟล์คลิฟท์ที่มีรายละเอียดการบาดเจ็บและเสียชีวิตอย่างรุนแรงนั้นเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ซึ่งมีรายงานอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถโฟล์คลิฟท์ประมาณ 888,220 ครั้งระหว่างปี 2554 ถึง 2562 โดยอุบัติเหตุจากรถยกทำให้มีผู้ปฏิบัติงานเสียชีวิต 79 รายและบาดเจ็บ 8,140 รายในปี 2562
สาเหตุอันตรายจากรถโฟล์คลิฟท์
-การยกสินค้าสูงเกินกำหนด อาจทำให้สินค้าหล่นทับคนขับรถหรือผู้ปฏิบัติงานที่อยู่บริเวณนั้นได้
-โฟล์คลิฟท์พลิกคว่ำ เมื่อขับรถเร็วหรือน้ำหนักไม่สมดุล
-การชนหรือทับจนอาจเสียชีวิตได้ คนขับโฟล์คลิฟท์มองไม่เห็นผู้ปฏิบัติงานที่เดินอยู่
-ผู้ปฏิบัติงานอาจตกจากที่สูง หากขึ้นไปยืนบนงาของโฟล์คลิฟท์
-อุบัติเหตุชนกัน ไม่มีการกำหนดเส้นทางของโฟล์คลิฟท์หรือมีแต่ไม่เหมาะสม
-โฟล์คลิฟท์พลิกคว่ำ เมื่อขับรถเร็วหรือน้ำหนักไม่สมดุล
-การชนหรือทับจนอาจเสียชีวิตได้ คนขับโฟล์คลิฟท์มองไม่เห็นผู้ปฏิบัติงานที่เดินอยู่
-ผู้ปฏิบัติงานอาจตกจากที่สูง หากขึ้นไปยืนบนงาของโฟล์คลิฟท์
-อุบัติเหตุชนกัน ไม่มีการกำหนดเส้นทางของโฟล์คลิฟท์หรือมีแต่ไม่เหมาะสม
มาตรการเพื่อความปลอดภัย
-กำหนดเส้นทาง/ตีเส้นทางเดินรถยก
-จัดให้มีป้ายเตือนอันตรายทุกทางแยกหรือทางโค้งที่รถยกต้องสัญจร
-สื่อสารเกี่ยวกับความหมายของป้ายเตือนอันตราย สีของเส้นทางในบริเวณต่างๆ เเละขั้นตอนการปฏิบัติงานกับรถยกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนรับทราบ
-ใช้อุปกรณ์ Logout/Tagout เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องใช้รถยก
-ใช้อุปกรณ์คลุมพวงมาลัยเเละใส่กุญเเจเมื่อจำเป็น เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องใช้รถยก
-กำหนดเส้นทาง/ตีเส้นทางเดินรถยก
-จัดให้มีป้ายเตือนอันตรายทุกทางแยกหรือทางโค้งที่รถยกต้องสัญจร
-สื่อสารเกี่ยวกับความหมายของป้ายเตือนอันตราย สีของเส้นทางในบริเวณต่างๆ เเละขั้นตอนการปฏิบัติงานกับรถยกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนรับทราบ
-ใช้อุปกรณ์ Logout/Tagout เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องใช้รถยก
-ใช้อุปกรณ์คลุมพวงมาลัยเเละใส่กุญเเจเมื่อจำเป็น เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องใช้รถยก
ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานขับรถยก
-ต้องขับโดยผู้ที่ได้รับมอบหมาย หรือมีหน้าที่ในการขับเท่านั้น
-ในขณะที่กำลังขับรถโฟล์คลิฟท์ ห้ามผู้อื่นโดยสารไปบนรถด้วยเด็ดขาด
-ก่อนใช้งาน ต้องมีการตรวจสภาพรถทุกครั้ง ทั้งสภาพภายนอก ระบบบังคับการ และระบบห้ามล้อ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
-หากต้องยกของที่มีขนาดใหญ่กว่าช่วงงารถยก ต้องมัดของกับรถด้วยทุกครั้ง
-หากต้องขับลงทางลาด ควรใช้เกียร์ต่ำ
-ห้ามบรรทุกของที่หนักเกินพิกัด หรือน้ำหนักที่กำหนดไว้ และห้ามบรรทุกของที่มีความสูงเกินไป เพราะอาจบังวิสัยทัศน์ของผู้ขับได้
-ห้ามยกของหรือบรรทุกของเกินอัตราพื้นที่ที่กระดานทางลาดจะรับน้ำหนักไหว
-พนักงานขับต้องสวมหมวกนิรภัย
-รถต้องมีหลังคาโครงเหล็กปกคลุมเหนือตัวคนขับ เพื่อป้องกันของตกใส่จากที่สูง
-ผู้ขับต้องสำรวจเส้นทางให้แน่ใจว่าเส้นทางนั้นมีความกว้างเพียงพอที่จะผ่านไปได้ และไม่มีอะไรกีดขวางหรือไม่
-ก่อนจะเคลื่อนรถ ต้องยกงาให้พ้นจากพื้นไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร และในขณะที่รถวิ่ง ระดับงาต้องสูงกว่าระดับพื้นไม่เกิน 30 เซนติเมตร พร้อมทั้งยกปลายงาเข้าหาคนขับ เพื่อป้องกันวัตถุที่ยกไหลตกลงมา
-เมื่อเลิกใช้งาน ต้องปล่อยให้งาลงต่ำแตะพื้น ในลักษณะขนานกับพื้น แล้วจึงดับเครื่อง
-ห้ามดึงล้อมือ ถ้าจอดในที่ลาดเอียงต้องใช้ไม้หมอนยันล้อไว้ เพื่อป้องกันรถไหล
-เมื่อรถถอยหลัง ต้องให้สัญญาณเสียงและไฟกระพริบ
-ควรปรับความกว้างของงาให้กว้างที่สุด และพอเหมะกับพื้นรองยก เพื่อไม่ให้วัสดุเอียงตก และเป็นการกระจายน้ำหนัก
-การสอดงา ควรให้งาทั้งสองห่างจากศูนย์กลางพื้นรองยกเท่ากัน
-หากต้องใช้รถในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ หรือเวลากลางคืน ต้องจัดให้มีไฟส่องทางข้างหน้า และรอบบริเวณทำงาน
-ในขณะที่กำลังขับรถโฟล์คลิฟท์ ห้ามผู้อื่นโดยสารไปบนรถด้วยเด็ดขาด
-ก่อนใช้งาน ต้องมีการตรวจสภาพรถทุกครั้ง ทั้งสภาพภายนอก ระบบบังคับการ และระบบห้ามล้อ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
-หากต้องยกของที่มีขนาดใหญ่กว่าช่วงงารถยก ต้องมัดของกับรถด้วยทุกครั้ง
-หากต้องขับลงทางลาด ควรใช้เกียร์ต่ำ
-ห้ามบรรทุกของที่หนักเกินพิกัด หรือน้ำหนักที่กำหนดไว้ และห้ามบรรทุกของที่มีความสูงเกินไป เพราะอาจบังวิสัยทัศน์ของผู้ขับได้
-ห้ามยกของหรือบรรทุกของเกินอัตราพื้นที่ที่กระดานทางลาดจะรับน้ำหนักไหว
-พนักงานขับต้องสวมหมวกนิรภัย
-รถต้องมีหลังคาโครงเหล็กปกคลุมเหนือตัวคนขับ เพื่อป้องกันของตกใส่จากที่สูง
-ผู้ขับต้องสำรวจเส้นทางให้แน่ใจว่าเส้นทางนั้นมีความกว้างเพียงพอที่จะผ่านไปได้ และไม่มีอะไรกีดขวางหรือไม่
-ก่อนจะเคลื่อนรถ ต้องยกงาให้พ้นจากพื้นไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร และในขณะที่รถวิ่ง ระดับงาต้องสูงกว่าระดับพื้นไม่เกิน 30 เซนติเมตร พร้อมทั้งยกปลายงาเข้าหาคนขับ เพื่อป้องกันวัตถุที่ยกไหลตกลงมา
-เมื่อเลิกใช้งาน ต้องปล่อยให้งาลงต่ำแตะพื้น ในลักษณะขนานกับพื้น แล้วจึงดับเครื่อง
-ห้ามดึงล้อมือ ถ้าจอดในที่ลาดเอียงต้องใช้ไม้หมอนยันล้อไว้ เพื่อป้องกันรถไหล
-เมื่อรถถอยหลัง ต้องให้สัญญาณเสียงและไฟกระพริบ
-ควรปรับความกว้างของงาให้กว้างที่สุด และพอเหมะกับพื้นรองยก เพื่อไม่ให้วัสดุเอียงตก และเป็นการกระจายน้ำหนัก
-การสอดงา ควรให้งาทั้งสองห่างจากศูนย์กลางพื้นรองยกเท่ากัน
-หากต้องใช้รถในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ หรือเวลากลางคืน ต้องจัดให้มีไฟส่องทางข้างหน้า และรอบบริเวณทำงาน
BY : Jim
: https://www.safesiri.com/forklift-accident/
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จักกับ‘โลจิสติกส์ ’ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า ‘โลจิสติกส์’ หรือ ‘ลอจิสติกส์’ (logistics) กันอยู่บ่อยๆ ซึ่งคำว่า โลจิสติกส์ มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า logistique ที่มีรากศัพท์คำว่า โลเชร์ (loger) ที่หมายถึงการเก็บ ซึ่งความหมายจริงๆ ของมันก็คือ ระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล
20 ก.พ. 2025
ในยุคสมัยที่ค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อย ๆ การออมเงินเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ดังนั้นคนยุคใหม่จึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากการลงทุนถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยต่อยอดเงินออม และสร้างผลตอบแทนให้งอกเงยได้ ในบทความนี้จะขอพาไปรู้ถึงประโยชน์ของการลงทุน
20 ก.พ. 2025
ต่อให้แบรนด์ทำการสื่อสาร หรือตะโกนจนหมดเสียงว่า สินค้าของตัวเองนั้นใช้ดีจริงอย่างนั้น ทำได้จริงอย่างนี้ ก็คงไม่มีอะไรดีสู้เท่าความน่าเชื่อถือของร้านค้าที่ถูกสร้าง บอกต่อ รีวิวเรียล ๆ จากลูกค้าตัวจริงที่ใช้จริงหรอก
20 ก.พ. 2025