แชร์

Shipping คืออะไร?

อัพเดทล่าสุด: 16 ก.ค. 2024
328 ผู้เข้าชม
Shipping คืออะไร?

Shipping คืออะไร

shipping คือ บริษัท องค์กร หรือบุคคลที่เป็นตัวแทนเจ้าของสินค้าหรือลูกค้า ทำหน้าที่ติดต่องานด้านเอกสารสำหรับการส่งออกหรือนำเข้าสินค้า โดยการติดต่อกับกรมศุลกากรเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร และนอกจากนั้นยังมีการให้บริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออก เช่น ประสานงานกับบริษัทขนส่งหรือธนาคาร เป็นต้น

Shipping มีกี่ประเภท

  1. ตัวแทนออกของ Shipping
    ตัวแทนเจ้าของสินค้าที่ติดต่องานเอกสารกับกรมศุลกากรเพื่อการนำเข้าส่งออกและบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องขอและได้รับอนุญาต โดยมีหลักเกณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานของทางกรมศุลกากรด้วยว่าคุณสมบัติ Shipping จะต้องมีอะไรบ้าง
  2. ตัวแทนออกของมาตรฐานเออีโอ (AEO Authorized Economic Operator)
    ประเภทนี้นั้นจริงแล้วเหมือนกับชิปปิ้งทั่วไปแต่แตกต่างกันที่เป็นชิปปิ้งที่ต้องการยกระดับการให้บริการสู่มาตรฐานสากล โดยตัวแทนออกของที่สนใจสามารถยื่นคำร้องกับกรมศุลกากร โดยมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศกรมศุลกากรกำหนด

หน้าที่ของ Shipping

  • หลังจากได้รับออเดอร์จากลูกค้า ชิปปิ้งจะทำหน้าที่ตรวจสอบและจัดทำใบขนส่งสินค้าและเอกสารยื่นกรมศุลกากร
  • จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการยื่นให้กับกรมศุลกากรเพื่อส่งออกสินค้าไปยังประเทศปลายทาง ตัวอย่างเอกสารที่ใช้ยื่นกับกรมศุลกากร เช่น ใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเอกสารสำคัญเพราะใช้เพื่อเปิดออเดอร์สำหรับการสั่งซื้อ, ใบเรียกเก็บเงินหรือเอกสารที่บอกรายละเอียดราคาสินค้า, รายการบรรจุสินค้า ใบตราส่งสินค้าทางเรือ ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการส่งสินค้าในรูปแบบใด, ประกันภัยสินค้า เป็นต้น
  • นำเอกสารไปยื่นกับกรมศุลกากร
  • บริการรับจัดการบรรจุหีบห่อจากนั้นนำส่งสินค้าให้กับลูกค้าปลายทาง



ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.rogers-thailand.com/th/blogrp 

https://www.cartrack.co.th/blog/shipping

BY : Manthi

บทความที่เกี่ยวข้อง
บริการโลจิสติกส์ครบวงจรในยุคปัจจุบัน
ในยุคปัจจุบันที่โลกหมุนเร็วขึ้นและการค้าโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง บริการโลจิสติกส์ครบวงจรกลายเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและเศรษฐกิจในหลายประเทศ
23 พ.ย. 2024
สรุปจบ! การเปรียบเทียบประเภทการขนส่ง  ข้อดี ข้อเสีย และค่าใช้จ่าย
การขนส่งมีบทบาทสำคัญในการนำสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและปลอดภัย โดยมี 5 ประเภทหลักที่ควรพิจารณา
23 พ.ย. 2024
ข้อดี ข้อเสีย ของระบบ TMS
TMS คือ ระบบบริหารการจัดส่งอัตโนมัติ Transport Management Solution หรือเรียกสั้น ๆ ว่าระบบ TMS คือ ระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการระบบขนส่งของธุรกิจ ตามหลักของการบริหารธุรกิจ TMS เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการลดต้นทุนการขนส่งและการจัดการด้านโลจิสติกส์ และเราสามารถเรียกระบบนี้ว่า Fleet Management (ฟลีทแมเนจเมนท์) หรือ ระบบการจัดการยานพาหนะ
23 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ