Shipping คืออะไร?
อัพเดทล่าสุด: 16 ก.ค. 2024
451 ผู้เข้าชม
Shipping คืออะไร
shipping คือ บริษัท องค์กร หรือบุคคลที่เป็นตัวแทนเจ้าของสินค้าหรือลูกค้า ทำหน้าที่ติดต่องานด้านเอกสารสำหรับการส่งออกหรือนำเข้าสินค้า โดยการติดต่อกับกรมศุลกากรเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร และนอกจากนั้นยังมีการให้บริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออก เช่น ประสานงานกับบริษัทขนส่งหรือธนาคาร เป็นต้น
Shipping มีกี่ประเภท
- ตัวแทนออกของ Shipping
ตัวแทนเจ้าของสินค้าที่ติดต่องานเอกสารกับกรมศุลกากรเพื่อการนำเข้าส่งออกและบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องขอและได้รับอนุญาต โดยมีหลักเกณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานของทางกรมศุลกากรด้วยว่าคุณสมบัติ Shipping จะต้องมีอะไรบ้าง - ตัวแทนออกของมาตรฐานเออีโอ (AEO Authorized Economic Operator)
ประเภทนี้นั้นจริงแล้วเหมือนกับชิปปิ้งทั่วไปแต่แตกต่างกันที่เป็นชิปปิ้งที่ต้องการยกระดับการให้บริการสู่มาตรฐานสากล โดยตัวแทนออกของที่สนใจสามารถยื่นคำร้องกับกรมศุลกากร โดยมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศกรมศุลกากรกำหนด
หน้าที่ของ Shipping
- หลังจากได้รับออเดอร์จากลูกค้า ชิปปิ้งจะทำหน้าที่ตรวจสอบและจัดทำใบขนส่งสินค้าและเอกสารยื่นกรมศุลกากร
- จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการยื่นให้กับกรมศุลกากรเพื่อส่งออกสินค้าไปยังประเทศปลายทาง ตัวอย่างเอกสารที่ใช้ยื่นกับกรมศุลกากร เช่น ใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเอกสารสำคัญเพราะใช้เพื่อเปิดออเดอร์สำหรับการสั่งซื้อ, ใบเรียกเก็บเงินหรือเอกสารที่บอกรายละเอียดราคาสินค้า, รายการบรรจุสินค้า ใบตราส่งสินค้าทางเรือ ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการส่งสินค้าในรูปแบบใด, ประกันภัยสินค้า เป็นต้น
- นำเอกสารไปยื่นกับกรมศุลกากร
- บริการรับจัดการบรรจุหีบห่อจากนั้นนำส่งสินค้าให้กับลูกค้าปลายทาง
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : https://www.rogers-thailand.com/th/blogrp
https://www.cartrack.co.th/blog/shipping
BY : Manthi
บทความที่เกี่ยวข้อง
ในยุคที่การค้าออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว การจัดการขนส่งที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจทุกประเภท การเลือกระบบ Booking ขนส่ง ที่เหมาะสมสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าได้
22 ม.ค. 2025
การขนส่งทางถนนเป็นหัวใจสำคัญของภาคอุตสาหกรรมและการค้า การค้นหาวิธีการขนส่งทางถนนที่ประหยัดต้นทุนจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจทุกขนาดให้ความสำคัญ
22 ม.ค. 2025
ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า IMPORT · 1. ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Entry Declaration) · 2. ใบตราส่งสินค้า (B/L) · 3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) · 4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
22 ม.ค. 2025