แชร์

5 นวัตกรรมที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์

อัพเดทล่าสุด: 16 ก.ค. 2024
275 ผู้เข้าชม

1. Artificial and Augmented Intelligence
ปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานซับซ้อนมากขึ้น

หลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ได้เริ่มนำเอา AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาใช้งาน เช่น ระบบขนส่งอัจฉริยะ, การวางแผนการเดินทาง, การวางแผนปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งเหล่านี้คือจุดเริ่มต้นของการเอาเทคโนโลยี AI เข้ามาเท่านั้น

โดยในตอนนี้ AI กำลังเพิ่มขีดความสามารถในงานโลจิสติกส์ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น การส่งสินค้า, การให้บริการ, ผู้ผลิต, ลูกค้า ได้ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงระบบคลังสินค้าอัตโนมัติที่ควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยเพิ่มศักยภาพของระบบการทำงานได้มากขึ้น

รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีของ AI เข้ามาเลียนแบบความสามารถของมนุษย์ และขยายขีดความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ เขียนออกมาเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยเพิ่มความสามารถของระบบโลจิสติกส์ เช่น

  • การจัดลำดับการทำงาน
  • การรับรู้
  • การคาดการณ์ล่วงหน้า
  • การแก้ไขปัญหา
  • การตัดสินใจ
2. Real-Time Supply Chain Visibility
เข้าถึงข้อมูลโซ่อุปทานแบบเรียลไทม์

Supply Chain Visibility หรือทัศนวิสัยในโซ่อุปทานมีมาอย่างยาวนานแล้วในสายโลจิสติกส์ ซึ่งเมื่อมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูล ก็ทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถจัดการข้อมูลของโซ่อุปทานได้แบบเรียลไทม์

Real-Time Supply Chain Visibility เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้บริษัทที่ทำธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา เช่น
  • ข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้า
  • รูปแบบของการจราจร
  • สภาพอากาศ
  • สภาพการเดินทางขนส่ง
  • สภาพถนน

นอกจากนี้ยังสามารถใช้งาน IoT Censor มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตามพัสดุ โดยจะมีการติดตั้งเครื่องมือ IoT บนพัสดุเพื่อให้ทางคลังสินค้าสามารถติดตามสินค้า หรือดูการจราจร ผ่านระบบ Cloud Services ได้ตลอดเวลา

ระบบนี้จึงช่วยให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว จากการวิเคราะห์และคาดการณ์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ จะช่วยผู้ดูแลระบบสามารถปรับเปลี่ยนและจัดการทัศนวิสัยในโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอยู่ตลอดเวลา

3. Predictive Analytics Platform
เครื่องมือคาดการณ์ข้อมูลการขนส่งและโลจิสติกส์

ในปกติแล้วอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะการเก็บข้อมูลการทำงานเอาไว้มากมาย ซึ่งการเก็บข้อมูลในรูปแบบดั้งเดิมมักเป็นรูปแบบที่กระจัดกระจาย และมีปริมาณมหาศาลจนจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ได้ยาก ซึ่งเมื่อมีการนำเอา Data Science เข้ามาจัดการกับคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) นี้ จะช่วยให้สามารถดึงเอาข้อมูลต่างๆ ที่เคยเก็บไว้มาใช้ประโยชน์ได้ด้วยการทำนาย

การทำนายที่ว่านี้ไม่ใช่การคาดเดาขึ้นมาลอยๆ แต่เป็นการดึงเอาข้อมูลที่เคยเก็บเอาไว้ในคลังข้อมูลออกมาทำนาย โดยสร้างเป็นแบบจำลองทางสถิติที่ช่วยให้สามารถคาดการณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น จากเหตุการณ์ที่เคยมีการเก็บข้อมูลเอาไว้ เมื่อนำมาใช้กับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะช่วยให้สามารถ

  • จัดการระบบขนส่งเพื่อติดตามและจัดการการจัดส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • จัดการกับเหตุการณที่ไม่คาดคิดที่ส่งผลต่อการขนส่งและโลจิสติกส์ เช่น สภาพอากาศ การขาดแคลนของสินค้า อุบัติเหตุ
  • คาดการณ์ระยะเวลาการบำรุงรักษาของเครื่องจักรและเครื่องมือ

4. Digital Twins
เทคโนโลยีจำลองที่ช่วยอุดรอยรั่วของการขนส่ง

อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ใช้การจำลองภาพเสมือนจริงของต้นแบบ จากการรวมเทคโนโลยีหลากหลาย เช่น AI, IoT, Cloud Computering ในการศึกษาข้อมูลเชิงลึกของวัตถุตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน ไปจนถึงคาดการณ์ผลในอนาคต เพื่อวิเคราะห์หาจุดด้อยและหาทางอุดรอยรั่วเหล่านั้นให้หมดไป

5. Eco Logistics
การจัดการโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เรื่องของภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก เป็นหัวข้อที่องค์กรทุกภาคส่วนรู้จักและตระหนักถึงผลกระทบมายาวนานเป็น 10 ปีแล้ว ซึ่งการขนส่งและโลจิสติกส์ ก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องช่วยรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน

การจัดการโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นการบริหารโลจิสติกส์ในด้านที่เกี่ยวกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทาน โดยเริ่มตั้งแต่
  • แหล่งที่มาและการจัดหาวัตถุดิบ
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
  • กระบวนการผลิต
  • การบริการ
  • การขนส่งทั้งภายในและนอกองค์กร
  • การบริโภค

รวมไปถึงการจัดการตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ซึ่งการจัดการนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้วงการโลจิสติกส์ได้ลดต้นทุน ช่วยเพิ่มความสามารถในการตอบสนองผู้บริโภคได้อย่างมีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย


ที่มา : www.tot.co.th


บทความที่เกี่ยวข้อง
“AI ทำงานแทนคน” ภาพอนาคตที่เป็นไปได้แค่ไหน? ถอดบทเรียนจากเทคโนโลยี AI ในชีวิตประจำวัน
“โลกของเราในวันข้างหน้า จะมี AI เข้ามาทำงานแทนคนได้จริงไหม?” เราชวนมาหาคำตอบ รวมถึงชวนทีมผู้พัฒนา AI ของ deeple มาร่วมแชร์มุมมองทั้งปัจจุบันและอนาคตของเทคโนโลยี AI ไปพร้อมกัน
26 ธ.ค. 2024
ผลกระทบของ AI ต่อตลาดแรงงาน
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
26 ธ.ค. 2024
Google สู้ ChatGPT การแข่งขันของยักษ์ใหญ่ AI
การแข่งขันระหว่าง Google และ ChatGPT เป็นเรื่องที่น่าติดตาม เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี AI ที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
26 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ