แชร์

Digital Twin (คู่เสมือนดิจิทัล) คืออะไร

อัพเดทล่าสุด: 16 ก.ค. 2024
208 ผู้เข้าชม
Digital Twin (คู่เสมือนดิจิทัล) คืออะไร

Digital Twin (คู่เสมือนดิจิทัล) คืออะไร

Digital Twin นับเป็นผลผลิตจากการผสมผสานเทคโนโลยีหลากหลายแขนงเข้าด้วยกัน เช่น เทคโนโลยีเกี่ยวกับเซนเซอร์ (Sensor) อย่าง Internet of Things (IoT) เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เรียกว่า Machine Learning และ Software Analytics เป็นต้น

กลไกของ Digital Twin คือการสร้างแบบจำลองเสมือนจริงของวัตถุทางกายภาพหรือระบบต่าง ๆ ขึ้นบนโลกดิจิทัล ตั้งแต่เครื่องยนต์ ไปจนถึงระบบการทำงานของกังหันลม หรือแม้กระทั่งเมืองทั้งเมือง โดยสิ่งที่ทำให้ ฝาแฝด บนโลกดิจิทัลนี้แตกต่างจากแบบจำลองทั่วไปคือความสามารถในการเชื่อมต่อกับสิ่งของบนโลกจริงผ่านระบบเซนเซอร์ที่เก็บข้อมูลสถานะของวัตถุแบบเรียลไทม์ ทำให้แบบจำลองดิจิทัลสามารถเลียนแบบปฏิกิริยาหรือระบบการทำงานของโมเดลต้นฉบับได้เสมือนจริง 

ในปัจจุบันได้มีการนำ Digital Twin ไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น 

การจำลองการวิ่งบนถนนของรถยนต์ไร้คนขับในอุตสาหกรรมยานยนต์ การจำลองผังเมืองในกระบวนการวางแผนชุมชนเมืองเพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง รวมถึงอุตสาหกรรมการแพทย์ที่กำลังศึกษาวิจัยการจำลองผู้ป่วยโรคมะเร็ง (Cancer Patient Digital Twins: CPDTs) เพื่อช่วยคาดการณ์และตัดสินใจเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสม เป็นต้น

การยกระดับ Supply Chain ด้วย เทคโนโลยี Digital Twin

1.การติดตามทรัพยากรแบบเรียลไทม์
ด้วยประโยชน์จากระบบเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้บนวัตถุแต่ละชิ้น Digital Twin ของวัตถุนั้น ๆ จะสามารถแสดงข้อมูลด้านสถานที่ตั้ง สถานะ อุณหภูมิ ความเสียหาย หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องการทราบได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการรับรู้ถึงข้อมูลอย่างละเอียดว่าเกิดปัญหาขึ้นในส่วนใดของกระบวนการนี้บ้าง และจะแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาบริการให้มีประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร

2.การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการบรรจุภัณฑ์
ระบบเซนเซอร์จะช่วยเก็บข้อมูลของสินค้าตลอดกระบวนการบรรจุภัณฑ์แต่ละขั้น ทำให้สามารถระบุข้อบกพร่องต่าง ๆ ได้ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบขนส่ง นอกจากนี้การสร้างแบบจำลองดิจิทัลของเครื่องบรรจุสินค้ายังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารทรัพยากรและพลังงานที่ใช้ในการบรรจุภัณฑ์ ช่วยลดความเสียหายพร้อมทั้งย่นระยะเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.การคาดการณ์ระยะการซ่อมบำรุง
ระบบเซนเซอร์ของเทคโนโลยี Digital Twin สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนและระบบการทำงานของเครื่องจักรแต่ละเครื่อง เช่น ระดับอุณหภูมิ และแรงสั่นสะเทือน ทำให้ผู้จัดการ Supply Chain สามารถคำนวณอายุการใช้งานรวมถึงวางแผนช่วงเวลาที่จะซ่อมบำรุงเครื่องมือหรืออุปกรณ์ได้ทันท่วงทีโดยไม่ต้องรอให้เกิดการชำรุดเสียหายขึ้นก่อน

4.ตัวช่วยประกอบการตัดสินใจและปรับปรุงพัฒนาระบบ
การจำลองของระบบ Supply Chain ด้วยคู่เสมือนดิจิทัล ช่วยให้ผู้ควบคุมดูแลสามารถรวบรวมข้อมูลและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านการจัดสรรทรัพยาการ การวางแผน และการบริหารจัดการความเสี่ยง

5.การประหยัดค่าใช้จ่าย
เมื่อจำลองระบบการลำเลียงสินค้าและช่องทางการขนส่งต่าง ๆ ขึ้นบนโลกดิจิทัล ผู้ประกอบการจะสามารถระบุตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด นำมาซึ่งโอกาสในการเพิ่มคุณภาพบริการ ลดค่าใช้จ่ายและเวลาได้โดยไม่จำเป็นต้องลงมือทดลองในโลกความเป็นจริง

6.การออกแบบโกดังเก็บสินค้า
ด้วยการใช้เทคโนโลยี Digital Twin บริษัทขนส่งสามารถออกแบบการจัดสรรพื้นที่ การวางระบบอัตโนมัติต่าง ๆ และทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของโกดังสินค้าเพื่อเลือกดีไซน์ที่จะส่งเสริมกระบวนการทำงานของบริษัทมากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถจำลองการทำงานของระบบภายในโกดังสินค้าในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไปได้อีกด้วย


ที่มา : www.bangkokbankinnohub.com

บทความที่เกี่ยวข้อง
แนวโน้มโลจิสิตกส์และธุรกิจขนส่งปี 2025
แนวโน้มของโลจิสติกส์และธุรกิจขนส่งในปี 2025 จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ เนื่องจากปัจจัยหลายประการ
22 ต.ค. 2024
Yotpo แพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงในด้านการช่วยธุรกิจ E-commerce
Yotpo เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงในด้านการช่วยธุรกิจ E-commerce สร้างการมีส่วนร่วมจากลูกค้าและเพิ่มความเชื่อมั่น
22 ต.ค. 2024
green distribution คืออะไร ?
การจัดส่งสินค้าหรือบริการโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
22 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ