แชร์

Order Management System คืออะไร ?

อัพเดทล่าสุด: 16 ก.ค. 2024
987 ผู้เข้าชม

Order Management คือ

กระบวนการจัดการออเดอร์หรือคำสั่งซื้อต่างๆ จากทุกช่องทางขายของธุรกิจ เพื่อรวบรวมข้อมูลลูกค้า ความสนใจหรือความต้องการของลูกค้า และรายละเอียดของคำสั่งซื้อ เพื่อจัดเก็บให้เป็นระเบียบ สามารถค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

Order Management System คือ

ระบบจัดการออเดอร์หรือคำสั่งซื้อ ที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยบริหารจัดการออเดอร์ การขายหรือการสั่งซื้อต่างๆ ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถจัดการออเดอร์ทั้งหมดได้ในระบบเดียว 

ระบบจัดการคำสั่งซื้อทำงานอย่างไร

1.รวบรวมออเดอร์จากช่องทางต่างๆ
ขั้นตอนแรกของระบบจัดการออเดอร์ (Order Management System) คือ การรวบรวมออเดอร์หรือคำสั่งซื้อจากช่องทางขายต่างๆ ของธุรกิจ และนำมาจัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบ สามารถเช็คยอดสั่งซื้อ จำนวนสินค้า และสถานะการชำระเงินได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงระบบจะทำการแจ้งเตือนไปยังธุรกิจด้วยเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา

2.ยืนยันออเดอร์และตัดสต๊อกอัตโนมัติ
ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการยืนยันออเดอร์ เพื่อตรวจสอบข้อมูลคำสั่งซื้อ และยืนยันการชำระเงินจากลูกค้า จากนั้นระบบจะทำการตรวจเช็คจำนวนสต๊อกสินค้า ผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบจัดการคลังสินค้า เพื่อตัดสต๊อกสินค้าตามจำนวนที่ลูกค้าสั่งซื้อ

3.การค้นหาและเตรียมสินค้า
เมื่อทำการยืนยันออเดอร์เรียบร้อยแล้ว ระบบ OMS ก็จะส่งข้อมูลเข้าไปยังระบบ WMS (Warehouse Management System) เพื่อทำการค้นหาตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้า หยิบสินค้า และทำการแพ็คสินค้าสำหรับจัดส่ง ซึ่งจะมีการนำเอาเทคโนโลยีอย่างการจัดการคลังสินค้าด้วยระบบบาร์โค้ดมาใช้งาน ก็จะสามารถค้นหาสินค้าได้อย่างรวดเร็วผ่านข้อมูลสินค้าที่จัดเก็บผ่านบาร์โค้ด

4.การจัดส่งสินค้า
ขั้นตอนต่อมาของระบบ Order Mangement คือ การจัดส่งสินค้าผ่านบริษัทขนส่งเอกชน หรือระบบการจัดส่งของธุรกิจ เพื่อนำส่งสินค้าให้ไปถึงมือของลูกค้าในสภาพที่สมบูรณ์ 100% โดยไม่เกิดความเสียหาย สินค้าตกหล่น หรือสินค้าสูยหายระหว่างการขนย้าย

5.การติดตามและรายงานผล
ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการติดตามผลการดำเนินงาน โดยสามารถเช็คสถานะของสินค้า และค้นหาข้อมูลลูกค้าย้อนหลังได้ นอกจากนี้ระบบ OMS ก็ยังสามารถจัดทำรายงานยอดขาย และแสดงข้อมูลเชิงสถิติต่างๆ ได้อีกด้วย

 

ที่มา : PACKHAI


บทความที่เกี่ยวข้อง
Big Data & Analytics กับการบริหารจัดการสต็อกในคลังสินค้าอนาคต
ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วนของธุรกิจ “Big Data” และ “Analytics” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในด้าน การบริหารจัดการสต็อกในคลังสินค้า (Warehouse Inventory Management) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่ส่งผลต่อทั้งต้นทุน การให้บริการ และประสบการณ์ของลูกค้า
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
24 เม.ย. 2025
คลังสินค้าไร้คน: เทคโนโลยีอัตโนมัติที่มาแทนแรงงานมนุษย์
ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกทุกวินาที สิ่งที่เคยคิดว่าเป็น “อนาคต” กำลังกลายเป็น “ปัจจุบัน” หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ คลังสินค้าไร้คน หรือ Automated Warehouses ที่เปลี่ยนภาพของคลังสินค้าจากที่เคยเต็มไปด้วยพนักงานขนของ มาเป็นพื้นที่ที่หุ่นยนต์ทำงานแทนทุกอย่างเกือบ 100%
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
24 เม.ย. 2025
เปรียบเทียบระบบ Booking Manual กับ Online – ใครเร็ว ใครแม่นกว่า?
ในโลกของการขนส่งและโลจิสติกส์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การจองคิวหรือจองพัสดุ (Booking) กลายเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถกำหนดความรวดเร็ว
ร่วมมือ.jpg Contact Center
24 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ