แชร์

FCL กับ LCL คืออะไร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

อัพเดทล่าสุด: 23 ก.ค. 2024
695 ผู้เข้าชม

FCL คืออะไร

          FCL มาจากคำว่า Full Container Load คือ การขนส่งทางเรือหรือทางทะเล ในกรณีที่สินค้ามีปริมาณมากการขนส่งแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ จะสร้างความได้เปรียบด้านราคาให้แก่ผู้นำเข้า-ส่งออก เนื่องจากมีต้นทุนค่าขนส่งต่อหน่วยที่ต่ำกว่าการขนส่งแบบอื่น ซึ่งจะบรรจุสินค้าไปเท่าใดก็ได้ให้ไม่เกิน ข้อจำกัดของตู้

ข้อดี FCL

- มีความรวดเร็วกว่า คือเมื่อเรือเข้าท่ายกตู้ลงเรียบร้อย ท่านสามารถทำพิธีการศุลกากร ปล่อยสินค้าที่นำเข้าออกจากท่าได้ทันที

- ลดความเสี่ยง สินค้าของท่านมีโอกาสเสียหายน้อยกว่า LCL เพราะในตู้มีสินค้าของท่านคนเดียวและไม่ต้องย้ายสินค้าเข้า-ออกจากตู้หลายครั้ง

- บริหารจัดการได้ง่ายกว่า เพราะท่านสามารถลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังสถานที่ที่ท่านมีความพร้อมในการลงสินค้า ทั้งในเรื่องแรงงานและอุปกรณ์

- ต้นทุนเฉลี่ยในการขนส่งมีแนวโน้มจะต่ำกว่าแบบ LCL เนื่องจากมีความประหยัดจากขนาดในการขนส่งและมีค่าใช้จ่ายจุกจิกน้อยกว่า

ข้อเสีย FCL

- ไม่เหมาะกับปริมาณสินค้าน้อย เนื่องจากไม่คุ้มค่ากับการใส่มาในตู้คอนเทนเนอร์ทั้งตู้
- หากไม่นำตู้ออกจากท่าภายในเวลาที่บริษัทเรือกำหนดไว้ บริษัทเรือจะเก็บค่า Demurrage ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง
- หากตู้สินค้าเสียหาย และไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน พอบริษัทจะเรียกเก็บค่าซ่อมตู้กับผู้นำเข้า



LCL คืออะไร

            LCL มาจากคำว่า Less than Container Load คือ การบรรจุสินค้าโดยที่มีผู้ส่งออกหลายเจ้าส่งออกไปในคอนเทนเนอร์เดียวกัน สินค้าภายในตู้คอนเทนเนอร์จะเป็นของลูกค้าหลาย ๆ รายมารวมกัน

ข้อดีของ LCL

- เหมาะกับการขนส่งสินค้าปริมาณน้อย

- เสียค่าขนส่งเฉพาะสินค้าของผู้นำเข้าเอง

- เหมาะกับผู้เริ่มนำเข้า ส่งออก หรือต้องการทดลองนำเข้า

ข้อเสียของ LCL

- ใช้ระยะเวลามากกว่าแบบ FCL ในการปล่อยสินค้าเนื่องจากเมื่อตู้มาถึงท่าเรือ ผู้นำเข้าต้องรอให้ตู้เปิดก่อนเพื่อนำสินค้าของแต่ละเจ้าเข้าเก็บในโกดัง ผู้นำเข้าจึงสามารถทำพิธีการศุลกากร ปล่อยสินค้าได้

- สินค้ามีโอกาสเสียหาย การมีสินค้าหลากหลายแบบและขนาด สินค้าบางชนิดจึงอาจจะทำความเสียหายกับสินค้าชนิดอื่นได้ ซึ่งเป็นไปทั้งจากการกระแทกโดนทับเป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีการย้ายสินค้าเข้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์หลายครั้งอีกด้วย





BY : NOON (CC)

ที่มาของข้อมูล : https://www.bunmeelogistics

https://www.smartfreight

https://guidedimports

บทความที่เกี่ยวข้อง
Big Data & Analytics กับการบริหารจัดการสต็อกในคลังสินค้าอนาคต
ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วนของธุรกิจ “Big Data” และ “Analytics” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในด้าน การบริหารจัดการสต็อกในคลังสินค้า (Warehouse Inventory Management) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่ส่งผลต่อทั้งต้นทุน การให้บริการ และประสบการณ์ของลูกค้า
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
24 เม.ย. 2025
คลังสินค้าไร้คน: เทคโนโลยีอัตโนมัติที่มาแทนแรงงานมนุษย์
ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกทุกวินาที สิ่งที่เคยคิดว่าเป็น “อนาคต” กำลังกลายเป็น “ปัจจุบัน” หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ คลังสินค้าไร้คน หรือ Automated Warehouses ที่เปลี่ยนภาพของคลังสินค้าจากที่เคยเต็มไปด้วยพนักงานขนของ มาเป็นพื้นที่ที่หุ่นยนต์ทำงานแทนทุกอย่างเกือบ 100%
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
24 เม.ย. 2025
เปรียบเทียบระบบ Booking Manual กับ Online – ใครเร็ว ใครแม่นกว่า?
ในโลกของการขนส่งและโลจิสติกส์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การจองคิวหรือจองพัสดุ (Booking) กลายเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถกำหนดความรวดเร็ว
ร่วมมือ.jpg Contact Center
24 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ