แชร์

เรียนโลจิสติกส์ จบไปสามารถทำอะไรได้บ้าง ?

อัพเดทล่าสุด: 25 ก.ค. 2024
184 ผู้เข้าชม
เรียนโลจิสติกส์ จบไปสามารถทำอะไรได้บ้าง ?

   งานสายโลจิสติกส์ เป็นที่ต้องการสูงมากในปัจจุบัน แถมเป็นสายงานที่รายได้ค่อยข้างสูงอีกด้วย ทำให้เด็กรุ่นใหม่นิยมเลือกเรียนโลจิสติกส์สูงขึ้น แบบแรงไม่หยุดฉุดไม่อยู่เลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นคณะมาแรงที่สุดในยุคนี้เลยก็ว่าได้ นอกจากจะทำงานเกี่ยวกับด้านการขนส่งสินค้าที่ใครๆ ก็รู้กันแล้ว ผู้ที่เรียนจบโลจิสติสติกส์ยังสามารถทำงานได้หลากหลายมาก เรียกได้ว่าตั้งแต่ต้นน้ำ-ยันปลายน้ำแทบจะสามารถทำได้ทุกส่วนของบริษัทเลยก็ว่าได้ อยากรู้เรียนจบโลจิสติกส์แล้วทำงานอะไรได้บ้าง มาดูกันเลย!โลจิสิกส์เรียนรเกี่ยวกับอะไร

เรียนโลจิสติกส์ จบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง งานที่ทำมีความสำคัญอย่างไร ?

            หลังจากเรียนจบหลักสูตรในระดับปริญญาตรีแล้ว มาพูดถึงเส้นทางอาชีพและการทำงานกันบ้างดีกว่า โลจิสติกส์นั้นมีสายงานรองรับเยอะมาก โดยเฉพาะธุรกิจส่วนใหญ่ที่เป็นการนำเข้าส่งออก พอมีการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง หลายคนอาจติดภาพลักษณ์ว่า โลจิสติกส์ก็คือขนส่ง สายงานที่ทำคงมีแค่นั้น แต่จริงๆแล้วขนส่งเป็นเพียงหนึ่งในกิจกรรมของโลจิสติกส์เท่านั้น โดย 9 กิจกรรมหลักของโลจิสติกส์จะมี

- บริการลูกค้าและสนับสนุนการจัดการคำสั่งซื้อ
- การจัดการคำสั่งซื้อ
- การจัดการสินค้าคงคลัง
- การจัดการคลังสินค้า
- ขนส่ง
- การพยากรณ์และการวางแผนความต้องการของลูกค้า
- การจัดซื้อจัดหา
- การขนถ่ายวัตถุดิบ และการบรรจุหีบห่อ
- โลจิสติกส์ย้อนกลับ

            เมื่อเห็นกิจกรรมทั้ง 9 ของโลจิสติกส์แล้วจะรู้ได้เลยว่า ทั้งหมดเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญที่บริษัทส่วนใหญ่พึงมี ดังนั้นคนที่จบโลจิสติกส์มาจะสามารถทำงานได้ทุกงานในสายงานของโซ่อุปทานตั้งแต่ นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ Logistics Analyst  Material Planner นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ไปจนถึงการประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยเราสามารถแบ่งระดับและสายงานหลักๆ เป็น  

ระดับปฏิบัติการ

  • ฝ่ายจัดซื้อ
  • ฝ่ายผลิต
  • ฝ่ายคลังสินค้า
  • ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า
  • ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ
  • ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์
  • ฝ่ายการขนส่ง ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัททางขนส่งสินค้ามากกว่า 500 แห่ง รวมถึงบริษัทนำเข้าส่ง-ออก

ระดับบริหาร

  • นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
  • นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า
  • นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
  • นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ Logistics Analyst,  Material Planner, Operations Analyst,  Procurement Manager, Supply Chain Analyst, Business Process Analyst, Operations Manager

งานสายวิชาการ

  • นักวิจัย/นักวิชาการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • นักวิจัย/นักวิชาการด้านการจัดการการปฏิบัติการ
  • อาจารย์หรือนักวิชาการประจำสถาบันต่างๆ

ประกอบธุรกิจส่วนตัว

  • ผู้นำเข้าและส่งออกสินค้า
  • ผู้ให้บริการขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ
  • ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ให้แก่บริษัทเอกชนและรัฐ
  • ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ

รับราชการ

  • ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ
  • กรมศุลกากร
  • กรมประมง
  • กรมการขนส่งทางอากาศ
  • กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี
  • หน่วยงานอื่นๆ



BY : NOON (CC)

ที่มาของข้อมูล : www.spu.ac.th , https://th.jobsdb.com/th
บทความที่เกี่ยวข้อง
การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วย (Why Why Analysis/5 Why)
"Why-why analysis" เป็นเครื่องมือวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการตั้งคำถาม
21 พ.ย. 2024
การขนส่งคืออะไร?
การขนส่ง (Transportation) หมายถึง กระบวนการเคลื่อนย้ายคน สินค้า หรือบริการ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
21 พ.ย. 2024
10 เทคโนโลยีก้าวสู่ Smart Logistics
สำหรับประเทศไทย ภาพของ Smart Logistics เองก็ถือว่าน่าจับตามองไม่น้อยเช่นกัน เพราะด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีภาคโรงงานและการผลิต, ภาคการเกษตร และการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญ การปรับปรุงอุตสาหกรรมขนส่งและ Logistics ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั้นจะเป็นตัวเร่งสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโต
20 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ