แชร์

รถเครนคืออะไร มีกี่ประเภท เหมาะกับงานแบบใดบ้าง

อัพเดทล่าสุด: 31 ก.ค. 2024
827 ผู้เข้าชม

ทำความรู้จักกับรถเครน คืออะไร

    อย่างแรกผมขออธิบายเกี่ยวกับรถเครนก่อนครับ ว่ารถเครนคืออะไร บางคนอาจจะเรียก รถเครน (Crane) หรือบางคนอาจจะเรียก ปั้นจั่น ซึ่งจริงๆ แล้ว ทั้งสองชื่อมีความหมายเดียวกันครับ คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยกสิ่งของหรือวัตถุที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายยาก โดยการเคลื่อนย้ายวัตถุโดยรถเครน วัตถุจะอยู่ในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบนั่นเอง

ประเภทของรถเครน มีทั้งหมด 2 แบบ

ในอุตสาหกรรมก่อสร้างมักจะแบ่งประเภทรถเครนออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 

  รถเครนชนิดอยู่กับที่ หรือที่หลายคนเรียกว่า Stationaty Cranes คือ รถเครนที่ติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้ง หรือบนล้อเลื่อน ได้แก่ 

เครนราง (Overhead Cranes)
เครนขาสูง (Gantry Cranes)
เครนขาสูงข้างเดียว (Semi Gantry Cranes)
เครนหอสูง หรือ ปั้นจั่นหอสูง (Tower Cranes)
เครนติดผนัง (Wall Cranes)

รถเครนชนิดเคลื่อนที่ หรือที่หลายคนเรียกว่า Mobile Creanes คือ เครนที่ติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์หรือรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเครนติดรถบรรทุก (Truck Loader Crane) เป็นรถเครนที่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว เลี้ยวมุมแคบได้ เหมาะกับงานที่จำเป็นต้องเดินทางระยะไกล โดยรถเครนประเภทนี้สามารถยกของหนักได้สูงถึง 8 ตัน

รถเครนล้อยาง (All Terrain Cranes) คือ รถบรรทุกล้อยางที่มีเครนติดตั้งอยู่บนหลังรถ เหมาะสำหรับงานในพื้นที่ขรุขระ มีตั้งแต่ขนาด 25 ตันขึ้นไป แต่รถเครนประเภทนี้จะมีมุมเลี้ยวที่ค่อนข้างแคบ 

รถเครน 4 ล้อ (Rough Terrain Cranes) รถเครนประเภทนี้สามารถใช้งานในพื้นที่ขรุขระ สมบุกสมบันได้ มีขนาดตั้งแต่ 8 ตันขึ้นไป แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องเดินทางระยะไกล เพราะเคลื่อนที่ได้ช้า 

รถเครนตีนตะขาบ (Crawler Cranes) เหมาะกับไซด์งานที่เพิ่งเริ่ม พื้นยังไม่ถูกบดอัด เนื่องจากติดหล่มได้ยาก มีขนาดตั้งแต่ 50 ตันไปจนถึง 100 ตัน สำหรับรถเครนประเภทนี้ไม่แนะนำให้ใช้งานระยะทางไกล เพราะจะทำให้ล้อสึกเร็ว 

ประโยชน์ของรถเครน 

  รถเครนสามารถใช้ยกสิ่งของหรือวัตถุต่างๆ ในงานก่อสร้างได้ดีแต่จริงๆ และรถเครนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทำความสะอาด สำหรับตึกอาคารที่มีขนาดสูง สามารถนำรถเครนมาประยุกต์ใช้ช่วยให้การทำความสะอาดเป็นเรื่องง่ายได้ 

การแสดง บางครั้งเพื่อให้ได้ภาพในมุมสูงที่สวยถูกใจผู้กำกับ การใช้รถเครนเพื่อติดตั้งกล้องเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถพบรถได้บ่อย 

อุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ด้วยรถเครนเป็นรถที่มีขนาดสูงใหญ่ และสามารถเคลื่อนได้ทำให้สามารถใช้รถเครนเพื่อช่วยเหลือเพื่อประสบภัยได้ 

วิธีใช้งานรถเครนที่ถูกต้องและปลอดภัย

1. ผู้บังคับรถเครนจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับรถเครน และสัญญาณมือ
2. ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ต้องสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยทุกครั้ง 
3. ไม่ควรวางอุปกรณ์เกะกะภายในห้องควบคุม 
4. ทำความสะอาดใบเตือนต่างๆ ให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน 
5. ปรับเบาะนั่งให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย 
6. ไม่ควรวางวัตถุไว้บนสิ่งของในขณะที่ใช้รถเครนเคลื่อนย้ายวัตถุ 
7. ไม่ควรสตาร์ทเครื่องยนต์ หากไม่ได้อยู่ภายในห้องควบคุม 
8. ในกรณีที่ใช้ถนนสาธารณะให้ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด 
9. จำเป็นต้องมีการตรวจเช็คสภาพรถเครนตามที่กฎหมายกำหนด 

 


 

BY : BOAT

ที่มา : ekcrane


บทความที่เกี่ยวข้อง
Big Data & Analytics กับการบริหารจัดการสต็อกในคลังสินค้าอนาคต
ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วนของธุรกิจ “Big Data” และ “Analytics” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในด้าน การบริหารจัดการสต็อกในคลังสินค้า (Warehouse Inventory Management) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่ส่งผลต่อทั้งต้นทุน การให้บริการ และประสบการณ์ของลูกค้า
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
24 เม.ย. 2025
คลังสินค้าไร้คน: เทคโนโลยีอัตโนมัติที่มาแทนแรงงานมนุษย์
ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกทุกวินาที สิ่งที่เคยคิดว่าเป็น “อนาคต” กำลังกลายเป็น “ปัจจุบัน” หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ คลังสินค้าไร้คน หรือ Automated Warehouses ที่เปลี่ยนภาพของคลังสินค้าจากที่เคยเต็มไปด้วยพนักงานขนของ มาเป็นพื้นที่ที่หุ่นยนต์ทำงานแทนทุกอย่างเกือบ 100%
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
24 เม.ย. 2025
Digital Product Passport คู่มือดิจิทัลสินค้าแห่งอนาคต ธุรกิจยุคใหม่ต้องรู้
วันนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่า Digital Product Passport (DPP) คืออะไร ทำไมธุรกิจของคุณถึงต้องทำความรู้จักและให้ความสำคัญกับมันครับ
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
24 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ