แชร์

ความแตกต่างระหว่าง Volume Weight และ Actual Weight

อัพเดทล่าสุด: 6 ส.ค. 2024
813 ผู้เข้าชม

ความแตกต่างค่าระวางสินค้าระหว่าง Volume Weight และ Actual Weight

1. Volume Weight

     Volume Weight คือ การที่คิดจากขนาดของกล่องบรรจุสินค้าหรือหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้า ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยการนำ ความกว้าง x ความยาว x ความสูง ของกล่องหรือหีบห่อบรรจุสินค้านั้นนั้น

2. Actual Weight

     Actual Weight คือ การที่คำนวณจากน้ำหนักรวมของสินค้าที่ชั่งได้ หรือน้ำหนักที่สามารถวัดได้จากการชั่งสินค้าด้วยเครื่องชั่ง หรือน้ำหนักจริงจากสินค้านั้น โดยมีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg)

     เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง Volume Weight ให้ดียิ่งขึ้น เราจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ Chargeable Weight ที่ใช้ในการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ไปพร้อมกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

Chargeable Weight
     Chargeable Weight คือ น้ำหนักจากสายการบินที่ใช้ในการคำนวณค่าระวางสินค้า ซึ่งจะมีการที่เปรียบเทียบกันระหว่าง ขนาดของสินค้าและน้ำหนักจริงของสินค้า โดยที่จะนำทั้งสองค่ามาเปรียบเทียบกันเพื่อจะดูว่าค่าไหนที่มีมากกว่ากันก็จะใช้ค่านั้นในการคิดค่าระวาง

     ในการขนส่งสินค้าโลจิสติกส์ จะมีพื้นที่จำกัดในการจัดเก็บสินค้าและน้ำหนักของสินค้าที่สามารถรับได้ก็มีจำกัดเช่นกัน

     ด้วยเหตุผลนี้ ในการขนส่งสินค้าทางเรือ ทางเครื่องบิน และพื้นที่โกดังสินค้า ถ้าจะคิดเพียงแค่ขนาดหรือน้ำหนักเพียงอย่างเดียวก็จะไม่ยุติธรรม

     ยกตัวอย่างเช่น     หากคุณต้องการส่งน้ำขวด 1 ตัน และสำลี 1 ตัน โดยเครื่องบิน สินค้าชนิดใดที่จะใช้พื้นที่มากกว่ากัน 

     น้ำมีน้ำหนักมากแต่มีขนาดเล็ก แต่สำลีมีน้ำหนักเบาแต่มีขนาดสินค้าใหญ่ ซึ่งจะใช้พื้นที่จำนวนมากกว่า

     สายการบินจะเสียกำไรอย่างมาก หากคำนวณค่าระวางสินค้าโดย Actual weight เพราะเนื่องจากการขนส่งสำลีนั้น จะใช้พื้นที่มากบนเครื่องบิน

     ในการหลีกเลี่ยงสถานการณ์นี้ เราจะใช้ volume weight มาคำนวณค่าระวางด้วยเช่นกัน การคิดคำนวนค่าระวางการขนส่งสินค้าทางอากาศ

     จะใช้ Actual Weight และ Volume Weight โดยนำค่าทั้งสองมาเปรียบเทียบว่าค่าไหนมากกว่า ก็จะใช้ค่านั้นในการคิดค่าระวาง

สามารถเปรียบเทียบได้ดังนี้

     ในการคำนวณการขนส่งสินค้าทางเรือแบบ LCL หรือไม่เต็มตู้และค่าโกดังสินค้า มีกฎในการคำนวณ volume weight ดังนี้

1 คิวบิก เมตร = 1 ตัน

ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่สินค้ามี actual weight 1.5 ตัน

สินค้ามีขนาด กว้าง 0.9 เมตร ยาว 0.8 เมตร และสูง 1.7 เมตร , Volume weight เท่ากับ 1.22 คิวบิกเมตร

หากเราใช้กฎ 1 คิวบิกเมตร เท่ากับ 1 ตัน ดังนั้น 1.22 คิวบิกเมตร ก็จะเท่ากับ 1.22 ตัน

สินค้ามี Actual weight 1.5 ตัน และมี volume weight 1.22 ตัน
ในกรณีนี้ เราจะเลือกค่าที่มากกว่า ในการคิด Chargeable weight นั่นคือ 1.5 ตัน

ต่อไปคือการคำนวณ Volume Weight ในการขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน

ในการขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน จะมีกฎที่แตกต่างจากการขนส่งสินค้าทางเรือ

การคำนวณ Volume Weight ของสินค้า คือ ลูกบาศก์เซนติเมตร หาร 6,000 (kg).

บางสายเรือ อาจจะนำมาหาร 5,000 ซึ่งตัวเลขนี้ ทางสายเรือจะเป็นคนกำหนด

ยกตัวอย่างเช่น สินค้ามี Actual weight 50 กิโลกรัม

ขนาดสินค้า กว้าง 90 cm ยาว 70 cm และ สูง 90 cm
Volume weight เท่ากับ 567,000 คิวบิกเซนติเมตร
เมื่อนำมา หาร 6,000 จะเท่ากับ 94.5 กิโลกรัม

Actual weight คือ 50kg และ volume weight คือ 94.5kg,
ดังนั้น Chargeable Weight จะเลือกค่าที่มากกว่า นั่นคือ volume weight 94.5 kg

ต่อไปคือการคำนวณ Volume Weight ในการขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน

ในการขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน จะมีกฎที่แตกต่างจากการขนส่งสินค้าทางเรือ

การคำนวณ Volume Weight ของสินค้า คือ ลูกบาศก์เซนติเมตร หาร 6,000 (kg).

บางสายเรือ อาจจะนำมาหาร 5,000 ซึ่งตัวเลขนี้ ทางสายเรือจะเป็นคนกำหนด

ยกตัวอย่างเช่น สินค้ามี Actual weight 50 กิโลกรัม

ขนาดสินค้า กว้าง 90 cm ยาว 70 cm และ สูง 90 cmVolume weight เท่ากับ 567,000 คิวบิกเซนติเมตรเมื่อนำมา หาร 6,000 จะเท่ากับ 94.5 กิโลกรัม

Actual weight คือ 50kg และ volume weight คือ 94.5kg,

ดังนั้น Chargeable Weight จะเลือกค่าที่มากกว่า นั่นคือ volume weight 94.5 kg

 

 

 


BY : NOON (CC)

ที่มาของข้อมูล : at-once , forwarder-university


บทความที่เกี่ยวข้อง
Back to Work! เมื่อหุ่นยนต์ในคลังสินค้าทำงานไม่รู้จักเหนื่อย
“เหนื่อยจัง… ขอพักแป๊บได้มั้ย?” ไม่ใช่คำพูดของหุ่นยนต์แน่นอน เพราะมันไม่เคยบ่น ไม่เคยขอพัก และไม่เคยช้า
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
18 เม.ย. 2025
เมื่อคลังสินค้าต้องรีสตาร์ท: บทบาทของ AI ในการจัดการสต๊อกหลังวันหยุด
ช่วงวันหยุดยาว ไม่ว่าจะเป็นปีใหม่ สงกรานต์ หรือเทศกาลใหญ่ใด ๆ มักทำให้หลายธุรกิจต้อง “พักเครื่อง” ชั่วคราว รวมถึงระบบคลังสินค้าที่อาจหยุดการดำเนินงานหรือทำงานน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่เมื่อวันหยุดผ่านไปแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ "ภารกิจรีสตาร์ท" ที่ท้าทายไม่แพ้การเตรียมคลังสินค้าก่อนหยุดเลยทีเดียว
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
18 เม.ย. 2025
AI วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ปรับระบบ Booking ขนส่งให้ตรงใจแบบ Personalization
ในยุคที่ลูกค้าคาดหวังบริการที่ “รู้ใจ” และ “เข้าใจ” พฤติกรรมเฉพาะตัว การปรับประสบการณ์ผู้ใช้งาน (UX) ให้ตรงใจจึงเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจขนส่ง
ร่วมมือ.jpg Contact Center
18 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ