การขนส่งในเส้นทาง EWEC (East-West Economic Corridor)
การขนส่งในเส้นทาง EWEC (East-West Economic Corridor)
EWEC (East-West Economic Corridor) หรือ ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เป็นเส้นทางขนส่งมี ความยาวประมาณ 1,500 กิโลเมตร เป็นทางลัดเชื่อมทะเลจีนใต้กับมหาสมุทรอินเดีย เริ่มจากต้นทางที่ท่าเรือดานัง ในภาคกลางของประเทศเวียดนาม เข้าสู่ประเทศลาว จากนั้นข้ามสะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร - สุวรรณเขต) เข้าสู่ประเทศไทยที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร แล้วเข้าสู่ประเทศพม่า ที่สะพานมิตรภาพไทย - พม่า ผ่านด่านแม่สอด-เมียวดี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ไปออกมหาสมุทรอินเดียที่เมืองท่ามะละแหม่งในอ่าวเมาะตะมะของประเทศพม่า
เส้นทางสำคัญที่มีจุดเชื่อมโยงเมืองหลักๆ ได้แก่
- เมาะละแหม่ง-เมี่ยวดี(พม่า)
- แม่สอด-พิษณุโลก-ขอนแก่น-กาฬสินธุ์-มุกดาหาร(ไทย)-สะหวันนะเขต-แดนสะหวัน(ลาว)-ลาวบาว-เว้-ดองฮา-ดานัง(เวียดนาม)
- จุดข้ามแดน เมียวดี-แม่สอด(พม่า-ไทย)
- จุดข้ามแดนมุกดาหาร-สะหวันนะเขต(ไทย-ลาว)
- จุดข้ามแดนสะหวัน-ลาวบาว(ลาว-เวียดนาม)
เส้นทางนี้ช่วยร่นระยะทางได้ราว 4,000 กิโลเมตร เทียบกับการขนส่งทางเรือไปอ้อมช่องแคบมะละกา และ ร่นระยะเวลาได้ 14 วันเป็นอย่างน้อย
การขนส่งสินค้าในเส้นทางดังกล่าวนั้น มีความสะดวก โดยเส้นทางตั้งแต่จังหวัดมุกดาหาร-สะหวันนะเขต-เว้-ดานัง-วินห์-ฮานอย เป็นถนน 2 เส้นตลอดทาง และ มีการเจาะอุโมงค์ไฮวันเชื่อมเว้-ดานัง ลอดภูเขายาวตลอด 7 กิโลเมตร ปัจจุบันนี้สินค้าไทยที่จะถูกส่งออก โดยขนส่งลงเรือข้ามแม่น้ำโขงจากมุกดาหารไปสะหวันนะเขต และ ขนส่งทางถนนต่อไป ยังจุดผ่านแดนลาวบาวของเวียดนาม โดยจะมีบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าของเวียดนามรับขนส่งกระจายเข้าไปยังตลาดในเมืองต่างๆ ของเวียดนาม
สาเหตุที่ผู้ประกอบการไทยนั้นไม่ประสงค์ที่จะขนส่งสินค้าเองในเวียดนามนั้น เนื่องจากไม่มีสินค้าให้ขนในเที่ยวกลับ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้นสูงมากขึ้น และ เนื่องจาก รถยนต์ทางฝั่งลาว และ เวียดนามนั้น เป็นรถยนต์ที่พวงมาลัยซ้าย และ มีข้อจำกัดนำหนักบรรทุกได้ไม่เกิน 21 ตัน ในขณะที่ไทยเองให้บรรทุกได้ไม่เกิน 24 ตัน นอกจากนี้เวียดนามเองยังจำกัดความเร็วของ รถยนต์-รถบรรทุกไว้ไม่เกิน 50กิโลเมตร/ชั่วโมงในเขตเมือง และ ไม่เกิน 30กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับนอกเมืองตามลำดับ
ปัจจุบันยังไม่มีการขนส่งสินค้า บนเส้นทาง R9 ไปยังท่าเรือน้ำลึกดานัง เนื่องจากท่าเรือมีสภาพเก่า และ มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และ อยู่ระหว่างการพัฒนา แต่มีการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือไฮฟอง ซึ่งอยู่ใกล้กับฮานอยไปยังท่าเรือยางพูของมณฑลไหหลำ
BY : NOON (CC)
ที่มาของข้อมูล : wikipedia.org , EWEC