แชร์

Content Creation & Content Curation

อัพเดทล่าสุด: 10 ส.ค. 2024
192 ผู้เข้าชม

          คอนเทนต์ นอกจากจะเป็นผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์จากคอนเทนต์ครีเอเตอร์แล้ว ยังเรียกว่าเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับการทำ social media marketing เลยก็ว่าได้ และที่สำคัญหากคอนเทนต์ออกมาดี ยังช่วยให้ perfomance บนโซเชียลมีเดีย

          Content Creation และ Content Curation หลายคนอาจเคยได้ยินบ้าง แต่ยังไม่แน่ใจว่ามันคืออะไร และแตกต่างกันยังไงอย่างแน่ชัด ก่อนอื่นมาทำความรู้จักคอนเทนต์ทั้ง 2 ประเภทที่ควรมีบนโซเชียลมีเดีย 

Content Creation

        คอนเทนต์ที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง หรือที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า Original Content เป็นคอนเทนต์ที่มีเพียงหนึ่งเดียว ที่เราเป็นคนทำขึ้นมาเองทั้งเขียนบทความ ทำภาพกราฟิก วิดีโอ หรืออะไรต่าง ๆ ที่ไม่มีการหยิบยืมของคนอื่นมาใช้  คอนเทนต์ประเภทนี้สำคัญมาก เพราะจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของเรา องค์กร หรือแบรนด์

ข้อดี

   1.ช่วยสร้าง brand awareness ให้กับเรา องค์กร หรือแบรนด์
   2.ช่วยให้เป็นที่จดจำในแบบของเราเอง
   3.เป็นตัวยืนยันว่าเราเป็นผู้นำหรือมีความเชี่ยวชาญในคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับด้านนั้น ๆ จริง
   4.สร้างความแตกต่าง และโดดเด่นจากคู่แข่ง
   5.เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเรา องค์กร หรือแบรนด์
   6.เมื่อเป็นคอนเทนต์ที่ผลิตเอง ก็สามารถปรับแต่งให้เข้ากับแนวทางของตัวเอง องค์กร หรือแบรนด์ที่ดูแลดูได้อย่างอิสระ ที่จะทำให้มีโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดนั่นเอง
   7.บางคอนเทนต์ที่เป็น Evergreen Content สามารถนำมาโพสต์ซ้ำและช่วยเพิ่มยอดการเข้าชมได้เรื่อย ๆ
   8.ช่วยเรื่อง SEO ในแง่ของการจัดอันดับเว็บไซต์

ข้อเสีย

   1.ต้องใช้เวลาในการศึกษารวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาประกอบเป็นคอนเทนต์
   2.อาจมีค่าใช้จ่ายในการผลิตคอนเทนต์ ไม่ว่าจะค่าใช้จ่ายที่เป็น Fixed Cost อย่างการจ่ายให้กับบริการซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่น Adobe ที่ต้องสมัครใช้งาน หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ คิดเป็นแต่ละชิ้นงาน

Content Curation

          เป็นคอนเทนต์ที่แชร์มาจากแหล่งอื่น โดยที่เราไม่ได้เป็นคนผลิตคอนเทนต์เหล่านั้นเอง และไม่สามารถเคลมว่าเป็นผลงานของตัวเองได้ เช่น แชร์ข่าวจากแหล่งอื่นมายังเพจของตัวเอง ซึ่งบางทีอาจจะมีเรื่องของการยอมรับหรือขออนุญาตจากเจ้าของคอนเทนต์นั้น ๆ ก่อน

ข้อดี

   1.สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องใช้เวลาเท่าการผลิตคอนเทนต์ขึ้นมาเอง
   2.เป็นคอนเทนต์ที่เติมเต็มตารางงาน ในยามที่ไม่มีเวลาผลิตคอนเทนต์ของตัวเองมากนัก อาจใช้กลยุทธ์การแชร์จากแหล่งอื่นเป็นตัวช่วย เพื่อไม่ให้โซเชียลเงียบเหงา เป็นการรักษาตารางเวลาไม่ให้ทิ้งว่างนั่นเอง
   3.สร้างความเป็นผู้นำทางความคิด แชร์สิ่งที่มีคุณค่ากับกลุ่มเป้าหมาย
   4.มอบข้อมูลหรือมุมมองที่หลากหลายให้กลุ่มเป้าหมาย แชร์สิ่งที่มาจากแหล่งอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อเป็นการเปิดโลกให้กับกลุ่มเป้าหมายบ้าง
   5.บางข้อมูลเป็นข้อมูลที่ช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือให้กับเรา แชร์แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ
   6.เป็นการเชื่อมต่อและสร้างความสัมพันธ์กับสื่อหรือองค์กรอื่น ๆ โดยการแชร์คอนเทนต์ของเขา

ข้อเสีย

   1.หากไม่ตรวจสอบแหล่งที่มาว่าข้อมูลถูกต้อง เชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด อาจมีปัญหาภายหลังได้
   2.ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์หรือการขออนุญาตแชร์ซำ้
   3.การใช้คอนเทนต์ประเภทนี้บ่อย ๆ อาจทำให้ขาดเอกลักษณ์ของแบรนด์ และดูไม่มีความเป็นผู้นำทางความคิดเท่าไหร่นัก เพราะไม่ใช่สิ่งที่ส่งโดยตรงจากความคิดสร้างสรรค์ที่แบรนด์เป็นคนผลิตเอง
   4.อาจส่งผลต่อ SEO เนื่องจาก Search Engine จะชอบคอนเทนต์ที่มาจากต้นฉบับมากกว่าการแชร์ซ้ำ จึงอาจมีส่วนส่งผลให้เว็บไซต์ไม่ติดอันดับได้

 




BY : Patch

ที่มา : rainmaker


บทความที่เกี่ยวข้อง
โรงงานพลังงานหมุนเวียนเต็มรูปแบบ ก้าวสู่การผลิตที่ยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงมาใช้พลังงานสะอาดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันเพื่อให้เป้าหมายนี้เป็นจริง
9 ธ.ค. 2024
ติดตามสถานะการผลิต และต้นทุน
ระบบ Machines Monitoring System มีหน้าที่ตรวจสอบและแจ้งเตือนเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเครื่องจักร การสะสมข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจจับความผิดปกติและการเปรียบเทียบข้อมูล
6 ธ.ค. 2024
Andon คืออะไร?
ในการผลิตแบบลีน Andon ในภาษาญี่ปุ่นนั้นแปลว่าดวงไฟ(Lamp) ใน Lean Manufacturing โดย Andon จะแสดงสถานะการผลิตตัวอย่างเช่น แสดงสีเขียว เมื่อกำลังผลิต
6 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ