แชร์

Rack กับ Shelf ต่างกันยังไง ? แบบไหนเหมาะกับใช้ในคลังสินค้ามากที่สุด

อัพเดทล่าสุด: 17 ส.ค. 2024
444 ผู้เข้าชม

Rack กับ Shelf ต่างกันยังไง ?

               หลายคนอาจจะสงสัยว่า Rack กับ Shelf ต่างกันยังไง ? เนื่องจากทั้งสองอย่างนี้ทำหน้าที่ในการเป็นชั้นวางเหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วต้องบอกเลยว่า Rack กับ Shelf นั้นมีลักษณะและรูปแบบการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้นการวางสินค้าจึงจำเป็นต้องเลือกใช้ Rack กับ Shelf ให้เหมาะกับการจัดเก็บสินค้า โดยบทความนี้ Packhai จะพาไปทำความรู้จักกับ Rack และ Shelf ให้มากขึ้น ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง และการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าควรเลือกใช้แบบไหนถึงจะดีที่สุด

ชั้นวางแบบ Rack คืออะไร ?

                    Rack คือ ชั้นวางสินค้าในคลังสินค้าสำหรับใช้จัดเก็บสต๊อกของ เนื่องจาก Rack มีขนาดใหญ่และสามารถรองรับน้ำหนักของสินค้าได้เยอะ เรียกได้ว่ามีความแข็งแรงและทนทานต่อการใช้งานนั่นเอง โดยปกติแล้ว Rack ถือเป็นอุปกรณ์ในคลังสินค้าที่สำคัญ ถูกใช้ในคลังจัดเก็บสินค้า โกดัง ชั้นเก็บของ หรือใช้เป็นชั้นสำหรับวางของหนัก ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้ ชั้นวางสต๊อกสินค้า ชั้นวางพาเลทสินค้า

ชั้นวางแบบ Shelf คืออะไร ?

               Shelf  คือ ชั้นสำหรับวางสินค้า ช่วยทำให้มีการจัดการสินค้าที่มีความเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้นและช่วยทำให้โอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดต่างๆ น้อยลง ซึ่งในปัจจุบันนี้ Shelf ถูกนิยมนำมาใช้เป็นชั้นวางสินค้าในร้านมินิมาร์ทเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นชั้นวางสินค้าที่มีหลากหลายแบบให้เลือกหลายประเภท ดังนี้ ชั้นวางสินค้ามินิมาร์ท ชั้นวางสินค้าข้อต่อท่อ PVC  ชั้นวางสินค้าแกนโรลโชว์สายไฟหรือสายยาง ชั้นวางสินค้าขายอาหารสัตว์ ชั้นวางสินค้าโชว์กระเบื้อง ชั้นวางสินค้าแขวนฮุก

สรุปแล้ว Rack กับ Shelf ต่างกันยังไง ?

               สรุปแล้ว Rack กับ Shelf จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความสามารถในการรองรับน้ำหนัก เพราะ Rack คือชั้นวางสต๊อกสินค้าที่สามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่า Shelf ซึ่งถูกนิยมนำไปใช้งานกับโกดังหรือคลังเก็บสินค้า ส่วน Shelf มักจะถูกใช้งานกับร้านค้าปลีกทั่วไป เหมาะสำหรับการขายหรือโชว์สินค้าที่หลากหลายรูปแบบนั่นเอง

การเก็บสต๊อกของในคลังสินค้า ระหว่าง Rack กับ Shelf ใช้แบบไหนดีกว่ากัน ?

               คือ ควรเลือกใช้เป็นชั้นวางแบบ Rack เพราะเป็นชั้นวางสินค้าที่มีความแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักได้จำนวนมาก อีกทั้งยังมีความทนทานต่อการใช้งาน ช่วยทำให้การจัดระเบียบคลังสินค้าเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น มีความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาและเคลื่อนย้ายสินค้า และหากยิ่งมีระบบจัดการคลังสินค้า WMS ก็จะยิ่งทำให้การทำงานต่างๆ ในคลังสินค้านั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น




BY : ICE
ที่มาของข้อมูล : packhai 

ที่มาของรูปภาพ : pnsteelproduct


บทความที่เกี่ยวข้อง
Big Data & Analytics กับการบริหารจัดการสต็อกในคลังสินค้าอนาคต
ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วนของธุรกิจ “Big Data” และ “Analytics” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในด้าน การบริหารจัดการสต็อกในคลังสินค้า (Warehouse Inventory Management) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่ส่งผลต่อทั้งต้นทุน การให้บริการ และประสบการณ์ของลูกค้า
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
24 เม.ย. 2025
คลังสินค้าไร้คน: เทคโนโลยีอัตโนมัติที่มาแทนแรงงานมนุษย์
ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกทุกวินาที สิ่งที่เคยคิดว่าเป็น “อนาคต” กำลังกลายเป็น “ปัจจุบัน” หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ คลังสินค้าไร้คน หรือ Automated Warehouses ที่เปลี่ยนภาพของคลังสินค้าจากที่เคยเต็มไปด้วยพนักงานขนของ มาเป็นพื้นที่ที่หุ่นยนต์ทำงานแทนทุกอย่างเกือบ 100%
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
24 เม.ย. 2025
เปรียบเทียบระบบ Booking Manual กับ Online – ใครเร็ว ใครแม่นกว่า?
ในโลกของการขนส่งและโลจิสติกส์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การจองคิวหรือจองพัสดุ (Booking) กลายเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถกำหนดความรวดเร็ว
ร่วมมือ.jpg Contact Center
24 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ