แชร์

Market Analysis

อัพเดทล่าสุด: 17 ส.ค. 2024
98 ผู้เข้าชม

ยุคของโลกไร้พรมแดน ผู้คนสามารถเชื่อมต่อและเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ได้ไม่จำกัด แน่นอนว่าเมื่อโลกธุรกิจพัฒนามาถึงจุดนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือการเกิดขึ้นมากมายของธุรกิจต่างๆ มากมาย มีหลายธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และอีกธุรกิจที่ต้องบ๊ายบายจากไป.. โดยหนึ่งในสาเหตุที่หลายธุรกิจเจ๊ง และไม่ได้ไปต่อ มาจากการทำ Market Analysis หรือการวิเคราะห์ตลาดผิดพลาด เพราะเมื่อเราวิเคราะห์ตลาดผิด มันจะผิดตั้งแต่การออกสินค้า การนำเสนอจุดเด่นของสินค้า ไปจนถึงการทำการตลาด และสื่อสารไปยังผู้บริโภค.. บทความนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ตลาด หรือการทำ Market Analysis 

การวิเคราะห์ตลาด หรือ Marketing Analysis คืออะไร

การวิเคราะห์ตลาด หรือ Market Analysis คือ การประเมินตลาด และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดในหลายๆ ด้าน เช่น Target Customer, Behavior, ลักษณะการซื้อ และ คู่แข่ง เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจ ประเมินความเสี่ยง ประเมินผลตอบรับเพื่อนำไปสร้างกลยุทธ์พัฒนาธุรกิจต่อไปในอนาคต สามารถทำได้ทั้งผู้ที่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจ และธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่

ทำไมต้องทำ Market Analysis

รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

การศึกษาเพื่อทำความรู้จักตลาดที่เราจะก้าวเข้าไปก่อนจะเริ่มทำธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราจะรู้ว่าเราควรต้องประกอบธุรกิจอย่างไรเพื่อให้ธุรกิจตรงกับความต้องการของตลาด และทำอย่างไรจึงเอาชนะคู่แข่งได้

การวิเคราะห์ลูกค้า: ลูกค้าหลักๆคือใคร ใช้ผลิตภัณฑ์อะไรบ้างที่ใกล้เคียงกับสินค้าเรา ใช้ของแบรนด์อะไร อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ตัดสินใจซื้อ ในจุดนี้ หลายธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นจะตกม้าตายจากการที่ไปตั้งโจทย์ว่า ลูกค้าของเราคือทุกคน เพราะสินค้าเราจะทำให้เหมาะกับทุกกลุ่ม
การวิเคราะห์คู่แข่ง: การวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด ต้องดูทั้ง คู่แข่งในทางตรง และคู่แข่งในทางอ้อม มีใครบ้าง นำเสนออะไร ราคาเท่าไร แต่ละแบรนด์โฟกัสที่ตลาดไหน โฟกัสที่ลูกค้ากลุ่มไหน ถ้าเราจะไปสู้ และไปดึง Market Share มา เราจะต้องนำเสนออะไร หรือพัฒนาสินค้าไปในแนวทางไหน เพื่อเอาชนะแบรนด์เหล่านี้

การลงทุนมีความเสี่ยง

การลงทุนในเรื่องใด หรือแบบใด แน่นอนว่าการจะลงมือทำธุรกิจย่อมมีความเสี่ยงเช่นกัน การทำ Market Analysis จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้ และเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณ

แต่อย่ามัวแต่กลัวจนไม่กล้าลงมือทำอะไร หรือรอจนกว่าจะไม่มีความเสี่ยง เพราะยังไงก็ต้องเข้าใจว่าโลกธุรกิจมีความเสี่ยงอยู่ทุกด้านอยู่แล้ว หน้าที่ของเจ้าของธุรกิจไม่ใช้กำจัดความเสี่ยง แต่คือการลดความเสี่ยง ซึ่งจะลดได้มากน้อยแค่ไหน ก็อยู่ที่คุณได้ศึกษา และวิเคราะห์ตลาดดีแค่ไหน

มองเห็นโอกาสใหม่ๆ

การทำ Market Analysis เป็นการวิเคราะห์ในหลายแง่มุม ทั้งด้านลูกค้า สินค้า และคู่แข่ง ดังนั้นคุณอาจจะพบเทรนด์ตลาดใหม่ กลุ่มลูกค้าใหม่ Pain Point ใหม่ ก็เป็นได้

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เพิ่งเริ่ม หรือธุรกิจที่ดำเนินการไปสักพักแล้ว ก็ควรจะลองวิเคราะห์ตลาดตัวเองอยู่บ่อยๆ หรือถ้ามีเวลา จะลองทำการวิเคราะห์อื่นเพื่อหาช่องทางในการขยายกิจการ

5 ขั้นตอนการวิเคราะห์ตลาด

ตั้งจุดประสงค์ในการทำ Market Analysis (Objective)

การตั้งหมุดหมายของการทำการวิเคราะห์ ที่ชัดเจน และตรงประเด็นจะช่วยให้คุณไม่หลงทาง ไม่เสียเวลากับเรื่องที่ไม่จำเป็น สามารถโฟกัสได้ถูกว่าควรให้ความสำคัญกับเรื่องใด เช่น การหา Potential Customer, การพัฒนา Business Operation, การเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด เป็นต้น เลือกเพียง 1 จุดประสงค์เท่านั้นในการทำ Analysis แต่ละครั้ง

ศึกษาอุตสาหกรรม และตลาดให้ถ่องแท้ (Segmentation)

พื้นฐานที่สำคัญของ การวิเคราะห์ตลาดเป้าหมาย คือการทำความเข้าใจตลาดอุตสาหกรรมของคุณว่าตอนนี้สภาพอุตสาหกรรมที่ธุรกิจคุณอยู่ปัจจุบันเป็นอย่างไร เทรนด์ที่สำคัญคืออะไร ขนาดของอุตสาหกรรมเป็นเท่าไหร่ ตลาดนั้นมีศักยภาพแค่ไหน ลูกค้าพร้อมซื้อ และมีกำลังซื้อหรือเปล่า

กำหนดกลุ่มลูกค้าหลัก (Target Customer)

การทำธุรกิจ เป็นไปไม่ได้แน่นอนที่คนทุกคนบนโลกจะเป็นลูกค้าของคุณ ดังนั้น การศึกษาว่าใครน่าจะเป็นลูกค้าของคุณ เขามีลักษณะอย่างไร อะไรที่จะมีอิทธิพลกับเขา จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

เข้าใจคู่แข่ง และวางตำแหน่งแบรนด์ในตลาด (Positioning)

ในการที่จะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ คุณควรที่จะรู้ว่าคู่แข่งของธุรกิจคุณมีใครบ้าง มึจุดอ่อนจุดแข็งอะไร เหมือนหรือต่างกับคุณอย่างไร เครื่องมือที่จะช่วยวิเคราะห์คู่แข่งได้แก่ SWOT Analysis และ Positioning Map


BY: Patch

ที่มา:hardcoreceo


บทความที่เกี่ยวข้อง
โรงงานพลังงานหมุนเวียนเต็มรูปแบบ ก้าวสู่การผลิตที่ยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงมาใช้พลังงานสะอาดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันเพื่อให้เป้าหมายนี้เป็นจริง
9 ธ.ค. 2024
ติดตามสถานะการผลิต และต้นทุน
ระบบ Machines Monitoring System มีหน้าที่ตรวจสอบและแจ้งเตือนเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเครื่องจักร การสะสมข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจจับความผิดปกติและการเปรียบเทียบข้อมูล
6 ธ.ค. 2024
Andon คืออะไร?
ในการผลิตแบบลีน Andon ในภาษาญี่ปุ่นนั้นแปลว่าดวงไฟ(Lamp) ใน Lean Manufacturing โดย Andon จะแสดงสถานะการผลิตตัวอย่างเช่น แสดงสีเขียว เมื่อกำลังผลิต
6 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ