แชร์

ประเภทรถขนส่งสินค้ามีอะไรบ้าง

อัพเดทล่าสุด: 14 ก.ย. 2024
1560 ผู้เข้าชม

รู้หรือไม่? รถบรรทุก มีถึง 9 ประเภท

       ผู้ขับขี่หลาย ๆ ท่านที่อยู่ในวงการขนส่งอาจจะเคยพบ รถบรรทุก มาหลายประเภท แต่อาจจะยังไม่เคยทราบถึงประเภทของ รถบรรทุก ที่กฎหมายกำหนด

       รถบรรทุก แบ่งได้ทั้งหมด 9 ประเภท ตามที่กฎหมายกำหนด โดยกรมขนส่งทางบกได้ให้คำนิยามโดยแยกตามลักษณะการใช้งานในการขนสิ่งของหรือสัตว์ ดังนี้

1.รถกระบะบรรทุก
ซึ่งส่วนที่ใช้จะมีลักษณะเป็นกระบะ จะมีหลังคาหรือไม่มีก็ได้ หรือจะมีเครื่องทุ่นแรง ไว้เพื่อช่วยสำหรับยกสิ่งของได้ รวมถึงรถที่ใช้ในการบรรทุกไม่มีด้านข้างหรือด้านท้าย
ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์
2.รถตู้บรรทุก
โดยรถที่ใช้ในการบรรทุกจะมีลักษณะเป็นตู้ทึบ และมีหลังคาและตัวถังที่บรรทุกระหว่างผู้โดยสารและผู้ขับเป็นตอนเดียว โดยจะมีประตูบานใหญ่ไว้สำหรับให้ผู้โดยสารขึ้นลง หรือจะเลือกเปิดท้ายก็ได้
ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์
3.รถบรรทุกของเหลว
เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกของเหลวตามความเหมาะสมและจะต้องเป็นประเภทที่มีความปลอดภัยสูง
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 ( บ.4 , ท.4 ) สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย
4.รถบรรทุกวัสดุอันตราย
เป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกเฉพาะเพื่อใช้ในการบรรทุกวัสดุอันตราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สารเคมี วัตถุระเบิด วัสดุไวไฟ ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะและมีป้ายเตือนอย่างชัดเจน
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย
5.รถบรรทุกเฉพาะกิจ
ซึ่งเป็นรถที่ใช้ในการบรรทุกที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อใช้ในการเฉพาะ เช่น รถบรรทุกเครื่องดื่ม รถผสมซีเมนต์ รถขยะมูลฝอย รถราดยาง หรือรถเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 4 ( บ.4 , ท.4 ) สามารถขับรถที่ใช้เพื่อการขนส่งวัตถุอันตราย

6.รถพ่วง
เป็นรถที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง จึงต้องอาศัยรถอื่นลากจูงโดยจะมีโครงรถที่มีเพลาล้อที่สมบูรณ์ในตัวเอง
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก
7.รถกึ่งพ่วง
เป็นรถที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง จึงต้องใช้หัวรถลาก โดยน้ำหนักของรถบางส่วนจะต้องเฉลี่ยลงบนเพลาล้อของคันลากจูง
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก
8.รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาง
เป็นรถที่ไว้ใช้ในการขนสิ่งของที่ยาว โดยจะมีโครงโลหะที่สามารถปรับตัวได้ตามช่วงล้อลากจูง
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 3 ( บ.3 , ท.3 ) สามารถขับรถสิบล้อพ่วง,รถหัวลาก
9.รถลากจูง
เป็นรถที่เป็นลักษณะสำหรับใช้ลากรถพ่วง รถกึ่งพ่วง เพราะรถเหล่านั้นจะไม่สามารถที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองจึงต้องอาศัยรถประเภทนี้ในการลากจูง
 ใช้ใบขับขี่ชนิดที่ 2 ( บ.2 , ท.2 ) สามารถขับรถบรรทุก สิบล้อ,หกล้อ,รถบัส,รถเมล์,รถตู้,รถยนต์

สรุปได้ว่า
รถบรรทุก แบ่งได้ทั้งหมด 9 ประเภท ตามที่กฎหมายกำหนด โดยกรมขนส่งทางบกได้ให้คำนิยามโดยแยกตามลักษณะการใช้งานในการขนสิ่งของหรือสัตว์ ดังนี้ คือ รถกระบะบรรทุก, รถตู้บรรทุก, รถบรรทุกของเหลว, รถบรรทุกวัสดุอันตราย, รถบรรทุกเฉพาะกิจ, รถพ่วง, รถกึ่งพ่วง, รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาง, รถลากจูง เมื่อผู้ขับขี่ทราบถึงลักษณะการใช้งานของ รถบรรทุก แต่ละประเภทแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานให้มากที่สุด นอกจะช่วยให้การขนส่งประหยัดต้นทุนแล้ว ยังช่วยให้ขนส่งสินค้าและสัตว์ได้อย่างปลอดภัยอีกด้วยครับ 

 

 

 

 

 

BY : BOAT

ที่มา : sowheel.asia


บทความที่เกี่ยวข้อง
ลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ในธุรกิจขนส่ง ด้วยผู้ช่วย AI
ในยุคที่ธุรกิจขนส่งเติบโตอย่างก้าวกระโดด ความแม่นยำและความรวดเร็วกลายเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขัน แต่เบื้องหลังระบบโลจิสติกส์ที่ดูราบรื่น มักแฝงไปด้วยภาระงานซ้ำซ้อนและข้อผิดพลาดเล็กๆ จากมนุษย์ที่อาจส่งผลใหญ่ในภาพรวม เช่น การพิมพ์ใบวางบิลผิด, จัดรอบรถล่าช้า, หรือสื่อสารข้อมูลผิดพลาดระหว่างทีม
ร่วมมือ.jpg Contact Center
26 เม.ย. 2025
ระบบวิธีการจัดการงาน CN (Credit Note) หรืองานตีกลับในคลังสินค้า
ระบบวิธีการจัดการงาน CN (Credit Note) หรืองานตีกลับในคลังสินค้า
Notify.png พี่ปี
25 เม.ย. 2025
Break Down คืออะไรในงานคลังสินค้า?
Break Down คืออะไรในงานคลังสินค้า?
Notify.png พี่ปี
25 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ