แชร์

ข้อดีและข้อเสีย การส่งสินค้าทางอากาศ

อัพเดทล่าสุด: 4 ก.ย. 2024
386 ผู้เข้าชม

    การขนส่งสินค้าโดยทางอากาศเป็นการขนส่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ประเทศต่าง ๆ มีการพัฒนาสนามบินพาณิชย์ให้ทันสมัย และเพียงพอกับความต้องการบริษัทสร้างเครื่องบินมีการสร้างเครื่องบินซึ่งมีขนาดใหญ่ และสมรรถภาพในการบินสูง สามารถบรรจุสินค้าและบรรทุกผู้โดยสารได้มากขึ้น มีเครื่องมือในการขนส่งอันทันสมัยครบครันนอกจากนี้ยังมีการขยายและปรับปรุงบริเวณคลังสินค้าที่ท่าอากาศยาน ให้กว้างขวางทันสมัย เพื่อการขนส่งสินค้าดำเนินไปอย่างสะดวกและรวดเร็วจากผู้ส่งที่เมืองต้นทาง ไปยังเมืองผู้รับปลายทาง 

คุณลักษณะที่สำคัญของการขนส่งสินค้าทางอากาศ

1.ความรวดเร็ว การส่งสินค้าทางอากาศนับว่ามีความรวดเร็วที่สุด
2.ความแน่นอน มีตารางการบินที่แน่นอน สม่ าเสมอ และตรงต่อเวลา

ผู้ที่มีบทบาทในการขนส่งสินค้าทางอากาศ

1.ผู้ส่งสินค้าผู้ส่งสินค้าหรือ Shipper หมายถึง ผู้ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารก ากับสินค้า หรือ AirWaybill ที่จะท าการ หรือร่วมท าการขนส่งสินค้า ภายใต้เงื่อนไขใน Air Waybill
2.บริษัทการบิน บริษัทการบิน หรือ Carrier หมายถึงบริษัทการบินต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งบริษัทการบินที่ออกเอกสารก ากับสินค้า Air Waybill ที่จะท าการหรือร่วมท าการขนส่งสินค้า ภายใต้เงื่อนไขใน Air Waybill
3.ผู้รับสินค้า ผู้รับสินค้า หรือ Consignee หมายถึงผู้ที่มีนามระบุอยู่ใน Air Waybill ซึ่งบริษัทการบินจะต้องส่งมอบสินค้าให้เมื่อถึงเมืองปลายทางตามที่ระบุไว

ข้อดีของการขนส่งทางอากาศ

  • ถือเป็นการขนส่งสินค้าที่รวดเร็วที่สุดกว่าการขนส่งประเภทอื่น
  • ความแน่นอนของเวลาในการขนส่ง เพราะมีตารางบินที่แน่นอน
  • ปลอดภัยต่อสินค้า เพราะมีมาตรฐานในการขนส่งที่สูงมาก
  • สามารถส่งสินค้าได้หลายเที่ยวต่อวัน
  • การบรรจุหีบห่อมักเป็นแบบง่ายๆ ซึ่งช่วยทำให้ประหยัดวัสดุและค่าขนส่ง
  • การขนส่งสินค้าทางอากาศสามารถดำเนินการด้านเอกสารได้อย่างรวดเร็ว
  • ช่วยให้สินค้ารุ่นใหม่โดยเฉพาะสินค้าประเภทแฟชั่นส่งไปถึงตลาดทั่วโลกได้พร้อมกัน

ข้อเสียของการขนส่งทางอากาศ

  • มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการขนส่งประเภทอื่น
  • มีการจำกัดขนาดและน้ำหนักของสินค้า
  • การขนส่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
  • กฎข้อบังคับและการทำเรื่องขนส่งทางอากาศเยอะกว่าการขนส่งประเภทอื่นๆ

กรณีใดควรใช้การขนส่งทางอากาศ
การตัดสินใจเลือกประเภทการขนส่งมักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

1. ลักษณะของสินค้า เสื่อมสภาพได้ง่าย (เช่น ผักสด ผลไม้สด ดอกไม้) สมัยนิยม (เช่น แฟชั่นเสื้อผ้าสำเร็จรูป) เร่งด่วน มูลค่าสูง 
2. ลักษณะของความต้องการอยู่ในระหว่างภาวะฉุกเฉินเช่น อาวุธสงคราม ยารักษาโรค กำลังทดลองตลาดเป็นฤดูกาล (เช่น ผลไม้) 
3. ลักษณะของตลาด เช่นในประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล การขนส่งด้วยวิธีอื่นอาจไม่ทันต่อเหตุการณ์ 

 






BY : auey

ที่มา : cttlogistics


บทความที่เกี่ยวข้อง
บทบาทของซัพพลายเชนในยุคดิจิทัล : การเปลี่ยนแปลงและโอกาสใหม่ๆ
ในปัจจุบัน ซัพพลายเชนไม่ได้เป็นเพียงการจัดการการผลิตและการขนส่งเท่านั้น แต่ยังเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในธุรกิจยุคดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เช่น IoT, AI, และ Big Data ได้เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในซัพพลายเชน
21 ธ.ค. 2024
ซัพพลายเชน (Supply Chain) : การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ
ซัพพลายเชนคืออะไร? ซัพพลายเชน (Supply Chain) หรือห่วงโซ่อุปทาน คือกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการผลิตและส่งมอบสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคสุดท้าย ซัพพลายเชนครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง จนถึงการส่งมอบสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค
21 ธ.ค. 2024
Green Logistics : การจัดการโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน
ในยุคสมัยที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการโลจิสติกส์อย่างยั่งยืนหรือ Green Logistics กลายเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน
20 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ