แชร์

Packing list คืออะไร?

อัพเดทล่าสุด: 4 ก.ย. 2024
675 ผู้เข้าชม

      Packing List (แพ็คกิ้งลิส) เป็นเอกสารชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นในระบบการขนส่งรับนําเข้าสินค้าจากจีน หรือส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ เป็นเอกสารความชัดเจนในการบรรจุ ที่หลายๆคนในปัจจุบันนี้อาจจะยังไม่รู้จักว่าคืออะไร

      Packing List คือ เอกสารอย่างหนึ่งที่เอาไว้ใช้สำหรับระบุการบรรจุหีบห่อของสินค้าที่ต้องการส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อแสดงความชัดเจนในการบรรจุหีบห่อและเพื่อความเตรียมพร้อมในการขนสินค้าให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกันในด้านระบบการขนส่ง เช่น ตัวแทนขนส่งสินค้าทางเรือ เครื่องบิน นอกจากนี้ยังเป็นช่วยทำให้สามารถจนถ่ายสินค้าของศุลกากรตรวจสอบเพื่อความรวดเร็ว ใบแจ้งน้ำหนักและบรรจุหีบห่อ  เป็นเอกสารที่ผู้ส่งออก (Exporter) หรือผู้ขาย (seller) จัดทำขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่บอกปริมาณของสินค้าที่บรรจุในหีบห่อ น้ำหนักและขนาดของสินค้า ซึ่งใบนี้จะมีรายละเอียดสินค้าเหมือนกับเอกสารInvice แต่จะไม่ระบุราคาสินค้า

Packing List

      สำหรับการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ใบ Packing List ก็คงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น แต่สำหรับการขนย้ายสิ่งของออกนอกประเทศ แน่นอนว่า PackingList เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็ว่าได้ อีกทั้งการขนส่งสินค้าไปยังต่างประเทศนั้นจะต้องมีใบกำกับสินค้า ซึ่งในใบกำกับสินค้านั้นยังมีรายละเอียดที่ไม่ครบถ้วน ทำให้ต้องมีการใช้ Packing List เพื่อทำให้การขนส่งสินค้าไปต่างประเทศในแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างสะดวกมากที่สุด

ต้องใช้ Packing List เมื่อไหร่

     Packing List ต้องใช้เมื่อไหร่ เชื่อว่าเป็นคำถามที่หลายคนให้ความสงสัยกันจำนวนไม่น้อย ซึ่งจะต้องใช้เมื่อมีการขนส่งสินค้าไปยังต่างประเทศในทุกๆครั้ง เป็นเอกสารที่ต้องออกเพิ่มเติมคู่กับใบกำกับสินค้า เพื่อช่วยทำให้การดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนเป็นไปอย่างราบรื่นมากที่สุด ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็นเอกสารที่มีความจำเป็นอย่างมาก

ต้องระบุอะไรบ้างใน Packing List

1.ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งออกสินค้าและผู้นำเข้าสินค้า
2. วันที่ออกใบกำกับหีบห่อ หมายเลขเอกสาร การอ้างอิงหมายเลขคำสั่งซื้อสินค้า หรือ สัญญาที่ได้ระบุเอาไว้กันก่อนหน้า รวมถึง Commercial Invoice Number
3. Description (รายละเอียดของสินค้า ชื่อสินค้า)
4. Measurement (ปริมาตรสินค้า)
5. Net Weight (น้ำหนักสุทธิที่นับเฉพาะตัวของสินค้า)
6. Gross Weight (น้ำหนักรวมสินค้าและบรรจุภัณฑ์)
7. Number of Packages (จำนวนหีบห่อ)
8. Shipping Mark (เครื่องหมายบนหีบห่อสินค้า)
9. ลายเซ็นต์รับรองของผู้ส่งออกสินค้าและตราประทับของบริษัทๆ

 

ไม่อยากยุ่งยากทำความเข้าใจ Packing List

       สำหรับใครที่คิดจะนำเข้าสินค้าเข้ามาขายหรือจำหน่ายในประเทศไทย หากไม่อยากยุ่งยากการทำความเข้าใจ Packing List จะสามารถช่วยทำให้คุณสามารถดำเนินการในแต่ละขั้นตอนของการขนส่งไปอย่างราบรื่นมากที่สุด แต่การนำเข้าสินค้าหรือส่งออกสินค้าเป็นเรื่องที่สร้างความวุ่นวายให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี เพราะต้องใช้เอกสารต่างๆจำนวนมาก ทำให้หลายๆคนในปัจจุบันนี้หันมาใช้บริการบริษัทตัวแทนนำเข้าสินค้ากันมากกว่า เพราะนอกจากจะสะดวกสบายแล้ว ราคาก็ยังสบายกระเป๋ากว่าด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบริษัทนำเข้าหรือส่งออกสินค้าในปัจจุบันนี้ก็มีจำนวนมาก อาจทำให้หลายคนไม่รู้จะเลือกใช้บริการกับบริษัทไหน





 

BY : Nook

ที่มา : www.taobao2you.com

Tags :

บทความที่เกี่ยวข้อง
ลูกค้าประจำต้องได้มากกว่า! ใช้ระบบ Booking สร้าง Loyalty Program ยังไงให้เวิร์ค
ในยุคที่ธุรกิจขนส่งแข่งขันกันด้วยความเร็ว ราคา และประสบการณ์ลูกค้า "ลูกค้าประจำ" คือหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ร่วมมือ.jpg Contact Center
30 เม.ย. 2025
ระบบ Booking ช่วยลูกค้าจองง่ายขึ้น ด้วยฟีเจอร์ ‘จองซ้ำ’ และ ‘จองแบบหลายปลายทาง’
ในยุคที่การแข่งขันด้านบริการขนส่งเข้มข้นมากขึ้น "ความสะดวก" และ "ความเร็ว" คือหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า
ร่วมมือ.jpg Contact Center
29 เม.ย. 2025
เปลี่ยนข้อมูลจำนวนมหาศาลในโลจิสติกส์เป็น Insight ด้วย ChatGPT
การช่วยสรุปรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลขนส่งจากระบบ ERP หรือ Excel ในโลกของโลจิสติกส์วันนี้ ข้อมูลคือ "ขุมทรัพย์" ที่มีมูลค่ามหาศาล — แต่ถ้าข้อมูลเยอะเกินไป ไม่มีเวลา หรือไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน มันก็อาจกลายเป็น "ภาระ" แทนได้เช่นกัน
ร่วมมือ.jpg Contact Center
28 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ