แชร์

ไปทำความรู้จักกับ 6 เส้นทางขนส่งผลไม้ไทยไปจีน

อัพเดทล่าสุด: 6 ก.ย. 2024
170 ผู้เข้าชม
ไปทำความรู้จักกับ 6 เส้นทางขนส่งผลไม้ไทยไปจีน

     ปัจจุบันเส้นทางการส่งออกไปยังจีนจากเดิมไปทางเรืออย่างเดียวและต้องผ่านหลายขั้นตอน อาทิ ทางเรือจากแหลมฉบังผ่านเวียดนาม ฮ่องกง กว่าจะถึงมณฑลกวางโจ หรือเซี่ยงไฮ้ของจีน ใช้เวลาเกือบ 2 อาทิตย์ (เฉลี่ย 12-13 วัน) ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลไม้ไทยหลายทั้ง มังคุด เงาะ ทุเรียน ลองกอง ชมพู่ แก้วมังกร มะพร้าว มะม่วง แตงโม กล้วย ขนุน และน้อยหน่า ซึ่งจะเก็บได้ไม่เกิน  7 วัน

     ซึ่งในปัจจุบันได้มีทางเลือกเพิ่มแล้ว คือ การขนส่งทางบกด้วย ทำให้ปัจจุบันไทยสามารถส่งผลไม้ไปยังจีนได้  4  เส้นทาง และกระทรวงเกษตรเกษตรและสหกรณ์ ได้เจรจาขอเพิ่มช่องทางใหม่อีก 2 ช่องทางหลังจากที่การส่งออกผลไม้ไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับระเบียบใหม่ในการนำเข้าผลไม้ของจีนที่จะผ่านด่านโหย่วอี้กวน เกิดความล่าช้า และสร้างความเสียหายให้กับผู้ส่งออกของไทย

4 เส้นทางส่งออกผลไม้ไทยไปยังจีน

1.ทางเรือจากแหลมฉบัง สู่ท่าเรือกวางโจว

2.ทางเรือจากแหลมฉบัง สู่ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ ที่เป็นศูนย์กลางกระจายผลไม้ไทยไปฝากฝั่งทะเลจีน

3.ถนนหมายเลข 9 หรือ  R9 จากมุกดาหาร ผ่านดานัง เข้าพักที่ฮานอย แล้วสู่ปักกิ่ง เป็นศูนย์กลางการกระจายผลไม้ไทยไปยังภาคเหนือของจีน โดยมีตลาดซินฟาดี้ ซึ่งเป็นตลาดผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงปักกิ่ง โดยใช้เวลาเพียง 36 ชั่วโมง

4.ถนนสายR 3A จากเชียงของ จ.เชียงราย ผ่าน ส.ป.ป.ลาว สู่ทางใต้ของจีนผ่านเมืองสิบสองปันนา คุนหมิง ไปพักที่มณฑลเสฉวน กระจายผลไม้ไทยสู่ภาคใต้ และชายแดนทิเบต หรือจะเข้ามาสู่ปักกิ่งก็ได้

2 เส้นทางพิเศษส่งออกผลไม้ไทยไปยังจีน

     ล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งจัดทำพิธีสารเปิดเส้นทางการขนส่งใหม่เพิ่มอีก 2 เส้นทาง คือ R12 จาก จ.นครพนม และผ่าน ด่านตงซิง  หลังผู้ประกอบการส่งประสบปัญหาการล้าช้า (กรณีด้ายโหย่วอี้กวนแออัด) สร้างความเสียหายให้ทุเรียนไทยจำนวนมาก ที่เกิดจากระเบียบใหม่ของจีน รวมถึงการจัดการโลจิสติกส์ และการจัดพื้นที่การเดินรถในด่านโหย่วอี้กวน ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำและหารือรายละเอียดของพิธีสารก่อนลงนามต่อไป แต่อย่างที่หลายท่านทราบปัจจุบันผลไม้ไทยยังไม่สามารถเข้าด่านตงชิงได้ ต้องไปพักที่เวียดนามก่อน ให้คู่ค้าเวียดนามขนข้ามไป

     เส้นทาง R12 ผ่าน เริ่มจาก จ.นครพนม-ด่านท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว-จังหวัด Quang Binh จ. Lang Son ของเวียดนามเข้าสู่จีน โดย ผ่านด่านผิงเสียง มณฑลกว่างซี ซึ่งเมืองผิงเสียงมีตลาดผลไม้เมืองผิงเสียง (Pingxiang City) ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของจีน เป็นตลาดที่สามารถใช้เป็นประตูให้กับผลไม้ไทยเข้าสู่ตลาดจีนได้ มีความสะดวกสบาย มีการบริหารจัดระบบโลจิสติกส์ดี และผ่านพิธีการศุลกากรได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผลไม้ ไม่เน่าเสีย

     เมืองผิงเสียง เป็นอำเภอระดับเมืองที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเมืองฉงจั่ว มณฑลกว่างซี เป็นเมืองชายแดนที่มีแนวพรมแดนติดกับ 3 อำเภอในจังหวัด Lang Son ประเทศเวียดนาม และสามารถเดินทางต่อไปถึง สปป.ลาว และไทย ตามเส้นทาง R 8  บึงกาฬ หนองคาย รวมถึงถนนสาย  R9 มุกดาหาร และ R12 นครพนม ถือเป็นระยะทางสั้นที่สุดและสะดวกที่สุดของจีนที่ใช้เชื่อมต่อกับอาเซียน และยังเป็นข้อต่อสำคัญในยุทธศาสตร์ มุ่งลงใต้ จากจีนไปยังสิงคโปร์

     ส่วน ด่านตงซิง เป็นด่านการค้าผลไม้ แห่งใหม่ของเขตกว่างซีจ้วง และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว ด่านแห่งนี้ส่วนใหญ่นิยมผ่านตามถนนเส้นทาง R 8  มีจุดเริ่มต้นที่ จ. บึงกาฬ เข้าเขตปากซันของ สปป.ลาว ผ่านเมืองวิงห์ มุ่งสู่ กรุงฮานอยของเวียดนาม และไปสิ้นสุดที่กว่างซีเช่นกัน

     และนี่คือเส้นทางหลักๆในการส่งส่งออกผลไม้ไทยไปยังประเทศจีน นับเป็นมิติใหม่ที่ดีสำหรับเกษตรกรชาวสวนผลไม้ของไทย ที่จะได้ตลาดรองรับมากขึ้นในอนาคต

 

 

 


BY: NOON (CC)

ที่มาของข้อมูล: Trans Time News 

บทความที่เกี่ยวข้อง
การขนส่งคืออะไร?
การขนส่ง (Transportation) หมายถึง กระบวนการเคลื่อนย้ายคน สินค้า หรือบริการ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
21 พ.ย. 2024
10 เทคโนโลยีก้าวสู่ Smart Logistics
สำหรับประเทศไทย ภาพของ Smart Logistics เองก็ถือว่าน่าจับตามองไม่น้อยเช่นกัน เพราะด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีภาคโรงงานและการผลิต, ภาคการเกษตร และการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญ การปรับปรุงอุตสาหกรรมขนส่งและ Logistics ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั้นจะเป็นตัวเร่งสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโต
20 พ.ย. 2024
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจ
ในปัจจุบันธุรกิจออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว การขนส่งสินค้าเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อประสบการณ์ของลูกค้าและความสำเร็จของธุรกิจ
20 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ