การขนส่งทางเรือจะเป็นการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์นั้นมีมากมายหลายประเภท สามารถส่งสินค้าได้คราวล่ะจำนวนมาก ราคาย่อมเยากว่าการขนส่งทางอื่นๆ ดังนั้นการขนส่งทางเรือจึงจัดเป็นการขนส่งอันมีความสำคัญที่สุดอีกทั้งยังมีคนใช้บริการมากที่สุด หากนำไปเทียบกับการขนส่งแบบอื่นๆ เพราะมีต้นทุนในการขนส่งต่ำและขนส่งสินค้าได้คราวละมากๆ โดยสินค้าที่ส่งจะต้องมีการนำมาบรรจุลงในตู้ หลังจากนั้นก็ขนย้ายตู้ไปขึ้นไว้บนเรือ Container Ship เรือขนส่งนี้จะมีขนาดใหญ่มาก อีกทั้งยังได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อใช้ในการขนสินค้าด้วย โดยท่าเรือที่สามารถรองรับเรือประเภทนี้ ต้องเป็นท่าเรือเฉพาะ เพื่อให้มีความเหมาะสมในการจอดเรือขนส่ง ทั้งในด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ต้องมีทั้ง ท่าเทียบเรือ, เขื่อนกั้นคลื่น, สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายต้องครบ
ความล่าช้าของการขนส่งทางเรือ มีสาเหตุมาจากการขนส่งทางน้ำนั้นมีการบรรจุปริมาณสินค้าต่อเที่ยวแบบมหาศาล จึงส่งผลให้อัตราวิ่งของเรือขนส่งช้ามาก ระยะเวลาในการขนส่งก็เลยนาน ยกตัวอย่างเช่น การขนส่งน้ำอัดลมจากกรุงเทพไปจังหวัดชลบุรี ถ้าส่งโดยทางรถจะใช้เวลา 5 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นการขนส่งทางเรือจะใช้เวลา 3 วัน เป็นต้น จากความล่าช้านี้เองอาจส่งผลกระทบต่อ Inventory Turn ได้ หากลองมองจากตัวอย่างที่ยกมา สินค้าที่ส่งจากกรุงเทพไปชลบุรีใช้เวลา 5 ชั่วโมง เมื่อสินค้าได้ถูกส่งไปถึงมือลูกค้าเรียบร้อย การดำเนินงานในเรื่องของใบเสร็จรวมทั้งการจ่ายเงินก็สามารถทำได้เลย ในวันเดียวกันกับที่ส่งสินค้าออกจากบริษัทฯ แต่การขนส่งทางเรือใช้เวลา 3-4 วัน กว่าสินค้าจะส่งถึงมือลูกค้าก็จะทำให้บริษัทฯ ได้รับเงินล่าช้าไปอีก 3-4 วัน จากปัจจัยตรงนี้ อาจส่งผลกระทบต่อเงินสดหมุนเวียนรวมทั้งการลงทุนเพิ่มเติมในกิจการอื่นๆ
นอกจากนี้ท่าเทียบเรือสำหรับการขนส่งก็ยังมีจำกัด นอกจากการเดินเรือจะยังไม่สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ได้แล้ว ท่าเทียบเรือก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย แม้ว่าทางรัฐเองจะมีท่าเทียบเรือตั้งอยู่ตามจังหวัดต่างๆ เช่น สงขลา, ภูเก็ต, ระยอง, ชลบุรี เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นท่าเรือใช้สำหรับการขนถ่าย Container เป็นหลัก จากความขาดแคลนทำให้ทางเอกชนต้องพยายามสร้างท่าเรือส่วนตัวขึ้นมาเอง แต่ขั้นตอนการขอนุญาติยุ่งยาก นอกจากนี้พื้นที่ซึ่งจะนำมาทำท่าเทียบเรือต้องเป็นบริเวณริมน้ำขนาดใหญ่ และรถต้องเข้าถึงได้ด้วย แน่นอนว่าราคาที่ดินก็ต้องมีราคาสูง
สภาพอากาศ : สภาพอากาศที่ไม่ดี เช่น พายุหรือคลื่นสูง อาจทำให้เรือล่าช้าหรือไม่สามารถเดินทางได้ตามที่กำหนด
ปัญหาทางเทคนิค : เรืออาจเกิดปัญหาทางเทคนิคที่ต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษา
ปัญหาเกี่ยวกับท่าเรือ : ความล่าช้าในการขนถ่ายสินค้าหรือการขนส่งที่ท่าเรือ เช่น การรอคิวในการบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้า
เหตุการณ์ไม่คาดคิด : เหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุทางทะเลหรือการโจมตีทางทะเล
ความหนาแน่นของการเดินเรือ : การเดินเรือที่มีความหนาแน่นสูงอาจทำให้เรือล่าช้าเนื่องจากต้องรอคิวในการเข้าออกท่าเรือ
ปัญหาด้านเอกสาร : เอกสารที่ไม่ครบถ้วนหรือมีปัญหาอาจทำให้การผ่านพิธีการศุลกากรล่าช้า
ปัญหาโลจิสติกส์ : ความล่าช้าอาจเกิดจากปัญหาในระบบโลจิสติกส์ เช่น การจัดการขนส่งภายในท่าเรือหรือปัญหาในการเชื่อมต่อกับการขนส่งทางอื่น
การขนส่งทางเรือมักจะเป็นวิธีที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสำหรับการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ แม้ว่าอาจมีความล่าช้าในบางกรณี แต่โดยทั่วไปแล้วการขนส่งทางเรือมีข้อดีในเรื่องของต้นทุนและปริมาณสินค้า
BY : NOON (CC)
ที่มาของข้อมูล : www.autrans.net , chatgpt.com