โอกาสและความท้าทายของธุรกิจโลจิสติกส์ไทยในปี 2567
โอกาสและความท้าทายของ ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย ในปี 2567
การค้าระหว่างประเทศฟื้นตัวต่อเนื่อง
รายงาน Global Trade Outlook and Statisticsฉบับเดือนตุลาคม 2566 ขององค์การการค้าโลก คาดการณ์การเติบโตของการค้าระหว่างประเทศทั่วโลกในปี 2567 ไว้ที่ 3.3% ตามประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งคาดการณ์ไว้ที่ 2.5%
อย่างไรก็ดี อัตราการเติบโตดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าในอดีต และมีระดับที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ตามศักยภาพของระบบเศรษฐกิจสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปผู้ประกอบการจึงควรติดตามสถานการณ์และพิจารณาอย่างรอบคอบ และดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง
สถานการณ์ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
ทั้งสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ความไม่สงบในอิสราเอล ซึ่งนำมาสู่ความไม่ปลอดภัยทางการขนส่งในทะเลแดงสู่คลองสุเอซ ตลอดจนสงครามการค้าและความพยายามแบ่งแยกห่วงซ่อุปทานระหว่างสหรัฐฯ และจีน ยังคงเป็นประเด็นความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ต้องคำนึงถึงในปี 2567 เนื่องจากส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศโดยตรงและยังส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่นน้ำมันดิบ จึงอาจกระทบต่อต้นทุนการดำเนินการด้านโลจิสติกส์อย่างยากจะหลีกเลี่ยง
การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและความปลอดภัยไซเบอร์
สถานที่เก็บสินค้ารายใหญ่ของโลกหลายรายเร่งกระบวนกาผู้ส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในธุรกิจของตน ทั้งการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Al) และเทคโนโลยีบล็อคเชนในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถติดตามสินค้าได้แบบเป็นปัจจุบัน รวมถึงความพยายามผลักดันสู่การขนส่งสินค้าไร้กระดาษ ตลอดกระบวนการ อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลก็ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยไซเบอร์ควบคู่กันเสมอ เนื่องจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องหลายส่วนควรเก็บเป็นความลับ
การขนส่งสินค้าที่คำนึงถึงความยั่งยืน
เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกยังจำเป็นต้องร่วมกันแก้ปัญหา และอุตสาหกรรมการขนส่งซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ปลดปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด ก็ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ โดยหลายประเทศเริ่มพิจารณามาตรการให้ตรวจสอบปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งรวมเข้ากับส่วนของสินค้า และอาจใช้มาตรการลักษณะเดียวกันกับ CBAM ของสหภาพยุโรป
รวมถึงความพยายามในการผลักดันการลดการปลดปล่อยคาร์บอนขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ซึ่งมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ล้วนเป็นไปเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน อย่างไรก็ดี มาตรการเหล่านี้ก็อาจเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ
อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลกเพื่แก้ปัญหาเงินเฟ้อยังคงส่งผลอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปัญหาเงินเฟ้อจะเริ่มคลี่คลายลงแล้ว แต่รนาคารกลางหลายประเทศก็ยังคงอัตราดอกเบี้ยระดับสูง ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการและกำลังซื้อของผู้บริโภค ประเด็นนี้จึงยังคงเป็นปัจจัยจำกัดการเติบโตของเศรษฐกิจ และการค้าทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นผลกระทบถึงธุรกิจโลจิสติกส์ซึ่งทำหน้าที่รองรับการค้าด้วยเช่นกัน
BY: NUN
ที่มา: www.salika.co