แชร์

Switching Cost คืออะไร?

อัพเดทล่าสุด: 20 ก.ย. 2024
438 ผู้เข้าชม

     Switching Costs เป็นต้นทุนที่จะตามมาหลังการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นแบบนั้นเพราะ Switchng Costs เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นเพราะความเปลี่ยนแปลง ในทางกลับกันถ้าหากไม่เปลี่ยนแปลงก็จะไม่เกิด Switching Cost หรือในอีกแง่หนึ่งคือต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunities Costs) ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง 

     โดย Switching Costs จะเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นมาและสามารถวัดได้โดยพิจารณาจากต้นทุนที่เกี่ยวกับตัวเงิน ความไม่แน่นอน ต้นทุนเวลาและความเคยชิน ที่จะตามมาหลังการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น ต้นทุนด้านเวลาและความเคยชินที่พนักงานต้องปรับตัวจากการที่บริษัทเปลี่ยนมาใช้ Affinity Photo แทนการใช้ Adobe Photoshop ซึ่งทำให้การทำงานแบบเดียวกันของพนักงานต้องใช้เวลานานขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ Affinity Photo

Switching Costs ในธุรกิจ

ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับต้นทุนในรูปของ Switching Costs ที่สามารถพบได้ทั่วไปในธุรกิจทั่วไป ได้แก่

  • การเปลี่ยนซอฟต์แวร์โปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การเปลี่ยนแนวปฏิบัติและขั้นตอนการดำเนินงาน
  • การเปลี่ยนรูปแบบและระบบการบริหารของธุรกิจ
  • การเปลี่ยนเครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ในการดำเนินงาน
  • การเปลี่ยน Suppliers ที่จัดหาวัตถุดิบและสินค้าที่ธุรกิจต้องใช้
  • การเปลี่ยนเครื่องมือหรือระบบที่ใช้สื่อสารภายในองค์กร
  • การเปลี่ยนฝ่ายกฎหมายในธุรกิจที่มีความเฉพาะทาง

     จะเห็นว่าการเปลี่ยนเหล่านี้ของธุรกิจแม้ว่าจะทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจลดลง แต่ก็ไม่อาจทำให้ธุรกิจตัดสินใจเปลี่ยนได้ ทำให้ในหลายครั้งธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจแบบ B2B กับธุรกิจด้วยกันเองโดยเฉพาะกับธุรกิจที่เสนอขายระบบที่ซับซ้อนมักจะมาพร้อมบริการการติดตั้ง การอบรมวิธีการใช้งาน และการช่วยเหลือหลังการขายในระยะยาว

Switching Cost ของผู้บริโภค

     Switching Costs ยังเป็นต้นทุนที่สามารถเกิดในมุมของผู้บริโภคระดับบุคคลทั่วไปได้ด้วยเช่นกัน โดยในมุมของผู้บริโภค Switching Cost คือต้นทุนของการที่ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่นที่ทำให้เกิดต้นทุนในการเปลี่ยนถ่ายหรือต้นทุนที่เกิดจากการเลิกใช้สินค้าเดิม ซึ่งการที่สินค้าชนิดหนึ่งมี Switching Cost ที่สูงมาก

     ตัวอย่างเช่น Switching Cost ที่เกิดขึ้นเมื่อลูกค้าเปลี่ยนจากการใช้โทรศัพท์ Samsung ไปใช้ iPhone สิ่งที่ลูกค้าจะต้องพบเจออย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากใช้โทรศัพท์เครื่องเดียว ได้แก่

  • เกมและแอปพลิเคชันที่ซื้อไว้บน Play Store ของ Android ต้องซื้อใหม่ทั้งหมดเมื่อย้ายมาใช้ iPhone
  • แอปพลิเคชันบางอย่างที่เคยมีให้ใช้บน Android ไม่มีให้ใช้บน iPhone
  • ความรวดเร็วในการใช้งานลดลงจากความไม่คุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการ iOS
  • ความสามารถเฉพาะทางบางประการสำหรับลูกค้าแค่ละคนที่ Android มีแต่ iPhone ไม่มี (ทำให้การทำแบบเดิมทำไม่ได้หรือทำได้ช้ากว่าเนื่องจากต้องใช้สิ่งทดแทน)

ด้วยเหตุนี้ การที่สินค้าหรือบริการเป็นสินค้าที่มี Switching Cost สูงกว่า จึงเป็นสิ่งที่เป็นเรื่องดีกับธุรกิจมากกว่า

วิธีรับมือกับ Switching Cost

  1. ทำความเข้าใจในสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไปใช้ ในขั้นตอนแรกคือการศึกษาให้ละเอียดถึงสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไปใช้ พร้อมกับหาช่องทางรับมือจากปัญหาที่อาจจะเกิดในระดับหนึ่ง
  2. ประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนถ้าหากเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น ถ้าหากเปลี่ยนจากใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโอจาก Final Cut ไปใช้ Adobe Premier ตัดวิดีโอ ก็จะต้องเปลี่ยนจากจ่ายครั้งเดียว (Final Cut) ไปเป็นการจ่ายรายเดือนหรือรายปีแทน (Adobe Premier)
  3. ประเมินค่าใช้จ่ายอื่นที่อาจจะเกิดขึ้น ประเมินค่าใช้จ่ายอื่นที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนนอกเหนือจากสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น ต้นทุนจากสินค้าที่ผลิตผิดพลาดจากการที่โรงงานเปลี่ยนเครื่องจักรไปใช้อีกแบบ (จากการที่พนักงานไม่คุ้นเคยในช่วงแรก)
  4. ชั่งน้ำหนักเพื่อหาข้อสรุปว่าคุ้มค่าที่จะเปลี่ยนหรือไม่ โดยนำทุกข้อมาใช้ประเมินต้นทุนค่าเสียโอกาส และชั่งน้ำหนักเพื่อหาข้อสรุปว่าในท้ายที่สุดแล้วการเปลี่ยนคุ้มที่จะเปลี่ยนจริงหรือไม่

BY : NOOK

ที่มา : https://greedisgoods.com



บทความที่เกี่ยวข้อง
Computer Vision ตรวจจับสินค้าชำรุดได้อย่างไร?
ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 เทคโนโลยี Computer Vision ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าอย่างแม่นยำและรวดเร็ว โดยเฉพาะในการตรวจจับสินค้าชำรุดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต เทคโนโลยีนี้ช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์และเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
2 เม.ย. 2025
AI ช่วยลดปัญหาสินค้าขาดสต็อก/ค้างสต็อกได้อย่างไร?
การจัดการสินค้าคงคลังเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญของธุรกิจค้าปลีกและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ปัญหาการขาดสต็อก (Stockout) และสินค้าค้างสต็อก (Overstock) ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อยอดขายและความพึงพอใจของลูกค้า แต่ยังเพิ่มต้นทุนในการบริหารจัดการอีกด้วย เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยลดปัญหาเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
29 มี.ค. 2025
AI กับการคำนวณแผ่นดินไหวและการจัดการคลังสินค้า
AI กับการคำนวณแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่สามารถสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานและชีวิตของผู้คน การนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยคำนวณแผ่นดินไหวสามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการพยากรณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าได้
S__2711596.jpg BS&DC SAI5
28 มี.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ