แชร์

สั่งของจากต่างประเทศอย่างไร ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า!?

อัพเดทล่าสุด: 5 ต.ค. 2024
927 ผู้เข้าชม
การช้อปสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศในยุคนี้ค่อนข้างสะดวกสบาย เพราะสามารถเลือกซื้อได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางแพลตฟอร์ม Marketplace ในไทย อย่าง Shopee, Lazada, Taobao, Amazon และอีกมากมาย ที่สามารถซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ง่าย ๆ  แต่ทุกครั้งที่สั่งของมาจากต่างประเทศ ควรจะต้องคำนึงถึงการชำระภาษีนำเข้าด้วยเสมอ

ภาษีนำเข้าคืออะไร?

          ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยสินค้าแต่ละประเภทก็จะมีอัตราการชำระภาษีที่แตกต่างกัน ส่วนนี้ก็เพื่อปรับปรุงการค้าภายในประเทศ และเพื่อเป็นการส่งเสริมบางอุตสาหกรรมให้ดำเนินการต่อไปได้ อย่างเช่น รัฐยกเว้นภาษีให้กับเครื่องจักรการผลิต เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ เป็นต้น

สั่งของจากต่างประเทศเสียภาษีอย่างไร?

           ภาษีนำเข้าจะเกิดขึ้น เมื่อมีการซื้อของจากต่างประเทศกลับมายังไทยหรือสั่งซื้อของออนไลน์ที่ส่งมาจากต่างประเทศ ถ้าของที่นำเข้าไทยมานั้นมีมูลค่าสูงเกินที่กำหนดไว้เราจะต้องจ่ายภาษีเพื่อนำของชิ้นนั้นเข้าประเทศ โดยจะเสียให้กับกรมศุลกากร ทุกครั้งที่มีพัสดุเข้ามาจากต่างประเทศจะต้องผ่านการตรวจประเมินราคา จากนั้นจะส่งใบเรียกเก็บภาษีไปยังผู้รับ เพื่อมาชำระและรับของที่ไปรษณีย์

สินค้าราคาเท่าไหร่จึงจะเสียภาษี?

          หากราคาสินค้าที่นำเข้ามา มีมูลค่าเกิน 1,500 บาท จะต้องเสียภาษีตามอัตราประเภทสินค้าแต่ละชนิด โดยมี เทคนิคการสั่งของจากต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียภาษีแบบถูกต้อง คือ
  • 1.สั่งของไม่เกิน 1,500 บาท สั่งของจากต่างประเทศจะต้องคำนวณให้ดีเสมอ  กรมศุลกากรกำหนดราคาสินค้าทุกชนิด มูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษีอากรนำเข้า
  • 2.สั่งของจากต่างประเทศ ผ่านบริการ  Shipping สำหรับผู้ที่สั่งสินค้าราคาเกิน 1,500 บาท ควรใช้บริการ Shipping ระหว่างประเทศ จ่ายแค่ค่าขนส่งอย่างเดียว โดยให้ Shipping เคลียร์เรื่องภาษีนำเข้าให้ได้เลย

อัตราภาษีนำเข้าสินค้าละประเภท
  • ภาษีนำเข้า 30% : เครื่องสำอาง หมวก น้ำหอม รองเท้า ผ้าห่ม ร่ม
  • ภาษีนำเข้า 20% : กระเป๋า
  • ภาษีนำเข้า 10% : CD DVD อัลบั้ม คอนเสิร์ต Power Bank หูฟัง Headphone Earphones ตุ๊กตา
  • ภาษีนำเข้า 5% : นาฬิกา แว่นตา แว่นกันแดด
  • ยกเว้นภาษีนำเข้า แต่เสีย VAT 7% : นิตยสาร Photobook คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ เมาส์

วิธีคำนวณภาษี

จำนวนเงินที่จะนำมาคิดภาษีนั้นจะมาจาก ราคาสินค้า+ค่าจัดส่ง+ค่าประกันภัย โดยมีเกณฑ์ง่าย ๆ ตามนี้
  • รวมกันไม่เกิน 1,500 บาท ไม่ต้องจ่ายภาษี
  • รวมกันแล้วเกิน 1,500 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายภาษี

ถ้ามีการจ่ายภาษี จะมีภาษีที่ต้องจ่าย 2 รายการด้วยกัน คือ
  • ภาษีนำเข้า = ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งของ
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) = 7%

โดยสามารถคำนวณภาษีได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
  • ค่าสินค้ารวมค่าส่ง x อัตราภาษีนำเข้า (%) = ภาษีนำเข้า
  • ค่าสินค้ารวมค่าส่ง + ภาษีนำเข้าที่ต้องจ่าย x vat 7% = ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม


 

 



 BY : ICE

ที่มา : https://blog.boxme.asia/th

บทความที่เกี่ยวข้อง
Gen Z สั่งของเยอะแต่ใจร้อน! SME ปรับตัวยังไงให้ปัง?
สวัสดีครับเพื่อนๆ SME ทุกท่าน! ในยุคที่ Gen Z กลายเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของตลาดออนไลน์ การเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของพวกเขาจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง "ความใจร้อน" ที่เป็นเอกลักษณ์ของคนรุ่นนี้ วันนี้ผมจะมาแชร์เคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ SME ปรับตัวเข้ากับ Gen Z ได้อย่างลงตัวครับ
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
9 เม.ย. 2025
ธุรกิจขนส่งรับมืออย่างไรในช่วงสงกรานต์? วางแผนให้พร้อมก่อนหยุดยาว
เทศกาลสงกรานต์ ถือเป็นช่วงเวลาที่หลายคนรอคอยเพื่อพักผ่อนและกลับภูมิลำเนา แต่สำหรับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ นี่คือช่วงเวลาท้าทายที่ต้องวางแผนรับมืออย่างรอบคอบ เพราะปัญหาอาจมาทั้งจากถนนที่ติดขัด การปิดถนน หรือแม้แต่จำนวนแรงงานที่ลดลงจากการลาหยุดยาว
ร่วมมือ.jpg Contact Center
10 เม.ย. 2025
Taobao: แหล่งช้อปปิ้งออนไลน์ที่คุณไม่ควรพลาด
Taobao (เถาเป่า) เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในจีน ก่อตั้งโดย Alibaba Group ในปี 2003 โดยเป็นตลาดออนไลน์ที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกัน มีสินค้าหลากหลายประเภท ตั้งแต่เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงของใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยราคาที่คุ้มค่าและตัวเลือกที่หลากหลาย ทำให้ Taobao ได้รับความนิยมทั่วโลก
Blue_and_Pink_Retro_Illustrative_Great_Square_Pillow.png BS Rut กองรถ
20 มี.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ