แชร์

การขนส่งสำหรับการค้าระหว่างประเทศ

อัพเดทล่าสุด: 7 ต.ค. 2024
75 ผู้เข้าชม
การขนส่งสำหรับการค้าระหว่างประเทศ

     การขนส่งสำหรับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางโลจิสติกส์ ภาครัฐให้การสนับสนุนการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศเพื่อให้เอกชนสามารถบริหารจัดการสินค้าตลอดกระบวนการทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเป็นการ ส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันสำหรับการค้าระหว่างประเทศการบริการที่ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเสนอให้บริการแก่เจ้าของสินค้ามีตั้งแต่การจัดการเกี่ยว กับเส้นทางการส่งสินค้าและงานพื้นๆ เช่น การจองระวางเรือให้แก่เจ้าของสินค้า หรือการดำเนินการพิธีการศุลกากร จนถึงการให้บริการบรรจุภัณฑ์รวมถึงการจัดการทางด้านการขนส่งครบวงจรและกระบวนการจำแนกแจกจ่ายสินค้าไปยังที่ต่างๆ


ลักษณะของการขนส่งที่ดี

การขนส่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์และการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น เพื่อให้การขนส่งมี ประสิทธิภาพ ควรมีลักษณะการขนส่งที่ดีดังนี้

1. มีความปลอดภัย ซึ่งในการขนส่งต้องมีระบบการป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งที่ทำการขนส่ง

2. มีความรวดเร็วตรงต่อเวลา ทันเวลาตามความต้องการของผู้บริโภค สินค้าบางประเภทมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา เช่น ผลไม้ ดอกไม้ สิ่งมีชีวิต ถ้าขนส่งล่าช้าจะทำให้สินค้าเน่าเสียทำให้ธุรกิจเสียหายได้

3. ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งการขนส่งถือว่าเป็นต้นทุนประเภทหนึ่งของการประกอบธุรกิจ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจต้องเลือกการขนส่งที่เหมาะสมและเสียค่าใช้จ่ายต่ำ

4. มีความสะดวกสบาย ผู้ประกอบธุรกิจต้องเลือกวิธีการขนส่งทีเหมาะสมและมีความสะดวกสบายเพื่อการดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกวิธีการขนส่ง

  • ตัวผลิตภัณฑ์ (ของแข็ง, ของเหลว, มูลค่า) ดูทางกายภาพ

  • แหล่งที่ตั้งของตลาดและระยะทาง (ดูเส้นทางการขนส่ง)

  • ความเร็ว (ดูค่าระวาง)

  • อัตราค่าระวาง (Freight Rate)

  • ความน่าเชื่อถือ (Dependability)


รูปแบบของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

1. โดยเรือ เหมาะสมกับการขนส่งคราวละมากๆ ระยะทางไกล ต้นทุนต่ำ ไม่เร่งด่วน ต้องการการวางแผนที่ดี เช่นสินค้าวัตถุดิบ ส่วนประกอบ เครื่องจักร ปัจจุบันนิยมการขนส่งทางเรือระบบคอนเทนเนอร์

2. โดยเครื่องบิน เหมาะสมกับการขนส่งที่ต้องการความเร่งด่วน ปริมาณน้อย ต้นทุนสูง ตอบสนองความ ต้องการผู้บริโภคได้ดี เช่นสินค้า อะไหล่เครื่องจักร สินค้าแฟชั่น ผัก ผลไม้ เครื่องประดับ

3. โดยรถบรรทุก เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง ระยะสั้น ดำเนินการง่าย ส่งมอบรวดเร็วตาม กำหนด เช่น สินค้าอุปโภค บริโภค ส่งไปประเทศพม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย

4. โดยทางรถไฟ เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง ระยะสั้น ต้นทุนต่ำ เช่น ส่งออกนำเข้าด่าน ปาดังเบซาร์ประเทศมาเลเซีย มีเส้นทางรถไฟ กรุงเทพฯ หาดใหญ่ ปาดังเบซาร์ มาเลเซีย เชื่อมสู่สิงคโปร์ โดยขบวนการรถไฟระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก

5. โดยทางท่อ เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง สินค้าเป็นน้ำมัน แก๊ส

6. โดยไปรษณีย์ เหมาะสมกับตัวอย่างสินค้า สะดวก ต้นทุนต่ำ


ขอบข่ายการให้บริการของธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

      ธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้เพราะผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่ประสงค์ที่จะเข้ามาดำเนินการ เรื่องการออกสินค้า การส่งสินค้า และการติดต่อเกี่ยวกับเอกสารการส่งออกและนำเข้าเอง เนื่องจากต้องการที่จะมุ่งเน้นในการใช้เวลาของตนในการผลิตสินค้า และการค้าขายสินค้าของตนซึ่งตนเองมีความชำนาญมากกว่าอย่างเต็มที่ด้วยเหตุนี้ธุรกรรมเหล่านี้ จึงได้ถูกมอบหมายมาให้ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแทน ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจึงได้มีโอกาศเข้าไปให้บริการทั้งด้านผู้ส่งออก และผู้นำเข้าโดยมีธุรกรรมการให้บริการซึ่งสามารถกล่าวโดยละเอียดดังนี้

1. การให้บริการแก่ผู้ส่งออก (ผู้ส่งสินค้า) ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถให้บริการได้ดังนี้

  • เลือกเส้นทางตลอดจนรูปแบบการขนส่ง และผู้ขนส่งที่น่าเชื่อถือให้แก่ผู้ส่งออก

  • จองระวางเรือให้แก่ผู้ส่งออก

  • ส่งสินค้าและออกเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น Forwarders Certificate of Receipt และ Forwarders Certificate of Transport ฯลฯ ให้แก่ผู้ส่งออก

  • จัดแจงเรื่องโกดังเพื่อใช้ในการเก็บสินค้า (ถ้าจำเป็น)

  • วัดและชั่งน้ำหนักสินค้า

  • ทำการส่งสินค้าไปยังท่าเรือและจัดแจงด้านพิธีการศุลกากร ตลอดจนดำเนินการเรื่องเอกสารต่างๆแก่ ผู้ส่งออกแล้วส่งสินค้าลงเรือ

2. การบริการที่ให้แก่ผู้รับสินค้า (ผู้นำเข้า) ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถดำเนินธุรกรรมให้บริการภายใต้คำแนะนำที่เขาได้รับจากผู้รับสินค้าดังนี้

  • ติดตามสินค้าแทนผู้รับสินค้า เมื่อผู้รับสินค้าเป็นผู้รับผิดชอบในการขนสินค้า

  • รับและตรวจสอบเอกสารต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งสินค้า

  • รับสินค้าจากผู้ส่งสินค้า และชำระค่าระวางบรรทุก

  • ดำเนินพิธีการศุลกากรและชำระเงินภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่างๆ แก่ศุลกากรตลอดจนเจ้าหน้าที่ ของทางการอื่นๆ

  • จัดส่งสินค้าที่ผ่านพิธีการศุลกากร

  • ช่วยผู้รับสินค้าในการเก็บสินค้าเข้าโกดัง

     การบริการของศูนย์บริการนำเข้า-ส่ออกแบบเบ็ดเสร็จ พร้อมที่จะให้บริการด้านการขนส่งทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้า การบริการงานด้านสินค้าและเอกสารการค้าระหว่างประเทศอื่นๆ เช่น การจัดการประกันภัยสินค้า การจัดทำหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate Of Origin) การบรรจุหีบห่อ (Packaging)สินค้า

 

 

 

BY : NooN ( CC)

ที่มาของข้อมูล : thaitpi.com

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
การขนส่งคืออะไร?
การขนส่ง (Transportation) หมายถึง กระบวนการเคลื่อนย้ายคน สินค้า หรือบริการ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
21 พ.ย. 2024
10 เทคโนโลยีก้าวสู่ Smart Logistics
สำหรับประเทศไทย ภาพของ Smart Logistics เองก็ถือว่าน่าจับตามองไม่น้อยเช่นกัน เพราะด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีภาคโรงงานและการผลิต, ภาคการเกษตร และการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญ การปรับปรุงอุตสาหกรรมขนส่งและ Logistics ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั้นจะเป็นตัวเร่งสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโต
20 พ.ย. 2024
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจ
ในปัจจุบันธุรกิจออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว การขนส่งสินค้าเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อประสบการณ์ของลูกค้าและความสำเร็จของธุรกิจ
20 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ