ทักษะที่สำคัญสำหรับคนทำงานในโลจิสติกส์
จากรายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2557 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) การจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จทางธุรกิจ ผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีอาเซียนจะทำให้การแข่งขันในระดับเวทีสากลทวีความรุนแรงมากขึ้น องค์กรจึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับสภาพการแข่งขัน แต่จากผลการสำรวจของธนาคารโลก (World Bank) ประเทศไทยมีสมรรถนะการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ (Logistics Performance Index (LPI) ต่ำกว่าหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ ในปี 2557 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 35 สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 5 และมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 25 จากทั้งหมด 160 ประเทศ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทรัพยากรบุคคลากรด้านโลจิสติกส์
นักการจัดการโลจิสติกส์ที่มีความสามารถจะช่วยพัฒนาการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ และประสานในโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ ทำให้ต้นทุนรวมของทั้งโซ่อุปทาน ทุกหน่วยงานในองค์กรต่ำที่สุด และตอบสนองกับความต้องการของลูกค้า เนื่องจากกิจกรรมโลจิสติกส์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกหน่วยงานขององค์กร นักการจัดการโลจิสติกส์จึงจำเป็นต้องมีทักษะทั้งด้านกว้างและความลึกเฉพาะทาง
งานวิจัย ได้จัดอันดับทักษะและความรู้ที่สำคัญของนักการจัดการโลจิสติกส์ไว้ ตามลำดับดังนี้
- คุณสมบัติเชิงบุคลิกภาพที่เน้นการมีคุณธรรมนำใจ (Personal integrity)
- การจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (Managing client relationships)
- ความสามารถในการแก้ปัญหา (Problem-solving ability)
- การควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่าย (Cost control)
- ความสามารถในการวางแผน (Ability to plan)
- ทักษะการสื่อสารด้านการเขียน (Effective written communication)
- แรงจูงใจภายในตนเอง ( Self-motivation)
- การจัดการด้านการเงิน (Financial management)
- ความมีคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical behavior)
- การสื่อสารด้านวัจนภาษาที่มีประสิทธิผล (Effective verbal communication) เช่น การเจรจาและการบริหารจัดการความขัดแย้ง
บุคลากรในสายอาชีพทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ ต้องมีองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์แก้ปัญหาและการวางแผน ด้านการบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า การบริหารการเงิน มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความเข้าใจในธุรกิจในลักษณะองค์รวมสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้แบบบูรณาการ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และยิ่งไปกว่านั้นมีความสามารถในการสื่อสาร
หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ของคณะสถิติประยุกต์ นิด้า สามารถช่วยพัฒนาทั้ง soft skills และองค์ความรู้การวิเคราะห์เชิงลึกดังกล่าวได้ การเรียนการสอนเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์เพื่อการจัดการและการวิเคราะห์งานทางด้านโลจิสติกส์ การใช้กรณีศึกษา และมีการสัมมนาดูงานในต่างประเทศสำหรับนักศึกษาภาคพิเศษทุกรุ่นเพื่อให้นักศึกษาไปเรียนรู้วิธีการจัดการโลจิสติกส์ในเคสที่ประสบความสำเร็จ เช่น ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่มีในตำรากับการทำงานจริงในโลกยุคใหม่ที่ต้องโฟกัสเรื่องการบูรณาการการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร (Information) และเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ในส่วนที่เหลือของบทความ จะเล่าถึงเนื้อหาในบางวิชาและชี้ให้เห็นว่าจะช่วยพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ที่กล่าวมาข้างต้น
BY : NOOK
ที่มา : https://logistics.nida.ac.th