การใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือเทคโนโลยีที่ช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจน การจัดการบรรทุกขนส่งที่ช่วยลดจำนวนการใช้ยานพาหนะบนท้องถนนลง
โลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics) เป็นการจัดการกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า วัตถุดิบ และข้อมูลสารสนเทศ ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำของโซ่อุปทาน ทั้งไปข้างหน้าและย้อนกลับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดผลกระทบเชิงลบต่อระบบนิเวศที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งหมด ได้แก่ การขนส่ง การบริหารสินค้าคงคลัง การเลือกที่ตั้งและการจัดการคลังสินค้า
เป็นการใช้รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ พลังงานไฟฟ้า (EV) แทนการใช้น้ำมัน โดยมุ่งหวังว่าต้องการลดการสร้างมลพิษทางอากาศ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังสามารถช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง เรียกได้ว่าเป็นระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในแง่ของการตลาดแล้วการทำระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า CSR ซึ่งเป็นแนวคิดการทำกิจกรรมทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
1.ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ลดลง เช่น การใช้รถพลังงานไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายต่อปีดลดลงประมาณ ร้อยละ 69.87 เนื่องจากค่าซ่อมบำรุง และต้นทุนพลังงานถูกลง (ข้อมูลจาก : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
2. จ่ายภาษีถูกลง เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการ และนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เช่น กรมการขนส่งทางบกมีการลดภาษีป้ายรายปีให้ครึ่งหนึ่ง สำหรับรถบรรทุกที่ใช้พลังงานทดแทน
3. เป็นจุดเด่นและช่วยขยายโอกาสทางการค้า เนื่องจากในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกเริ่มมีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นขึ้น หากบริษัทไม่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม อาจจะถูกกีดกันทางการค้าได้
Green Transportation หมายถึง นวัตกรรมการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการใช้ยานพาหนะพลังงานสะอาด เช่น ระบบไฟฟ้า (EV) เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากท่อไอเสีย ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลอยขึ้นไปทำลายชั้นบรรยากาศ
รถเมล์พลังงานไฟฟ้าโดย ขสมก.
ไปรษณีย์ไทย จับมือ ปตท. นำร่องใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพื่อส่งพัสดุ
การใช้รถมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้าในการจัดส่งพัสดุ Delivery Service
การใช้เชื้อเพลิงไบโอดีเซล หรือก๊าซธรรมชาติในรถบรรทุก
การนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) เช่น กล่องพัสดุ พลาสติกกันกระแทก ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายยาก
การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (Model Shift)
การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากรูปแบบที่มีการปลดปล่อยมลภาวะสูง เช่น การขนส่งทางถนน ด้วยรถบรรทุก ไปสู่รูปแบบการขนส่งสินค้าที่ปลดปล่อยมลพิษน้อยกว่า เช่น การขนส่งทางรางด้วยรถไฟ
การขนส่งสินค้าร่วมกัน (Joint Transportation)
การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า (Load efficiency) โดยการรวบรวมสินค้าจากผู้ประกอบการโลจิสติกส์หลายรายเข้าด้วยกัน เพื่อให้ลดพื้นที่ว่างในการขนส่งสินค้าในแต่ละคราว รวมทั้ง ลดการขนส่งเที่ยวเปล่าและการบรรทุกสินค้าให้เต็มรถ (Backhaul&Full Truck Load) แต่ก็ต้องไม่เกินพิกัดน้ำหนักที่กฎหมายกำหนดเพราะการที่รถบรรทุกน้ำหนักเกินพื้นถนนรองรับได้
การรวมและการจัดวางตำแหน่งที่ตั้งของคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า (Unification and Relocation of Cargo Bases)
การจัดวางตำแหน่งที่ตั้งของคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า เพื่อลดระยะทางในการขนส่งและรอสินค้าของผู้ซื้อหรือผู้สั่งออเดอร์ทั้งหมด (Lead Time) และลดระยะเวลาการขนส่งสินค้า(Delivery Time) ซึ่งจะทำให้การปลดปล่อยมลพิษจากการขนส่งสินค้าลดลงตามระยะเวลาที่ขนส่งด้วย
BY : NUN
ที่มา : www.securitysystems.in.th