แชร์

ขั้นตอนและเอกสารสำหรับการนำเข้าสินค้าร้านขายของชำ

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 10 ม.ค. 2025
53 ผู้เข้าชม
นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอย่างไรให้ถูกต้อง 
  เจ้าของธุรกิจร้านชำหลายเจ้าเริ่มต้นนำเข้าสินค้าเข้ามาขายจากต่างประเทศ แต่ว่าไม่ได้ทำขั้นตอนให้ถูกต้อง กลายเป็นว่าต้นทุนสินค้าที่นำเข้ามาเอามาใช้เป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจไม่ได้ จริงๆ แล้วการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอย่างถูกต้องจะต้องมีขั้นตอน 5 ขั้นหลักๆ ตามนี้
 
1.เลือกสินค้า ผู้ค้า (Supplier) และทำใบสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ
 
2.เมื่อสินค้าถึงเมืองไทย ให้ยื่นเอกสารข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า ผ่านพิธีศุลกากร ซึ่งต้องแจ้งรายละเอียด 
-ข้อมูลเรือเข้า 
-ใบตราส่งสินค้า 
-บัญชีรายการสินค้าทุกรายการ 
-บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ เอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารผู้รับบรรทุกหรือผู้รับประกันภัยธนาคาร
-ใบอนุญาตนําเข้าหรือเอกสารอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
 
3.เมื่อศุลกากรตรวจเอกสารเรียบร้อยแล้วจะได้เลขที่ใบขนสินค้า เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลสินค้า พร้อมแจ้งเงื่อนไขชำระภาษีอากร ซึ่งใบขนขาเข้าจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
-ประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สินค้าประเภทนี้สามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากรและวางประกันที่เกี่ยวข้องได้ทันที
-ประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สินค้าประเภทนี้ต้องนำใบขนสินค้าขาเข้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรสินค้าก่อน เพื่อให้กลายเป็นสินค้า Green Line จากนั้นจึงสามารถชำระภาษีอากร 
 
4.ชำระภาษีอากรขาเข้า และวางประกันที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อย
 
5. ยื่นใบขนสินค้าขาเข้ากับใบเสร็จรับเงินที่เราไปจ่ายค่าภาษีอากรที่คลังสินค้า ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อย ก็จะปล่อยสินค้าให้เราในที่สุด
ส่วนใหญ่แล้ว ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับเอกสารมากมาย และถ้าใครไม่ชำนาญพออาจจะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากในที่สุด เลยเป็นที่มาที่ไปว่าร้านชำส่วนใหญ่มักจ้างบริการบริษัทขนส่งให้ดำเนินการเรื่องเอกสารต่างๆ ให้ 
 
การนำเข้าสินค้ามีเอกสารอะไรบ้าง
1.ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration) คือ เอกสารที่ใช้แสดงรายละเอียดต่อกรมศุลกากรเพื่อการชำระภาษีอากร ซึ่งระบุรายละเอียดของสินค้าที่นำเข้า 
2.ใบตราส่งสินค้าทางเรือ B/L-Bill of Lading หรือทางอากาศ Airway Bills เป็นเอกสารแสดงสิทธิในสินค้า และเป็นหลักฐานสัญญาของบริษัทขนส่งที่จะขนส่งสินค้าทางเรือหรือเครื่องบินจากประเทศส่งออกไปยังท่าเรือปลายทาง เอกสารใบนี้มีความสำคัญมากๆ ทางบัญชี เพราะจะช่วยให้นักบัญชีบันทึกรับรู้กรรมสิทธิ์และภาระจากสินค้าได้อย่างถูกต้อง
3.บัญชีราคาสินค้า (Invoice หรือ Commercial Invoice) เป็นเอกสารที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น รายละเอียดของสินค้า จํานวน นํ้าหนัก ราคา
4.บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List) คือ เป็นเอกสารแสดงรายละเอียดของที่บรรจุในแต่ละหีบห่อสินค้า รายการในบัญชีบรรจุหีบห่อจะทำให้มีความสะดวกในการตรวจปล่อยสินค้า
5.ใบอนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (Import License) 
6.ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificates of Origin) ใช้ในกรณีขอลดอัตราอากรขาเข้า
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://flowaccount.com/blog/grocery-how-to-import-goods/

บทความที่เกี่ยวข้อง
ร้านค้าปลีกและผู้บริโภคต้อง “เปลี่ยน” อย่างไร เมื่อสินค้าที่วางขาย  คือตัวการทำ “โลกรวน”
ตัวการทำโลกรวนอยู่ในทุกกิจกรรมและการใช้ชีวิตของทุกคน โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่เรากินใช้กันอยู่ทุกวัน พวกมันผ่านกระบวนการผลิต ขนส่ง จัดเก็บแช่เย็น บริโภค และทิ้งเป็นขยะ
นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
5 ก.พ. 2025
7 ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน สะท้อนศักยภาพองค์กร
คนส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันมักคุ้นเคยกับการใช้งานแอปพลิเคชันกันอยู่แล้ว ทั้งแอปพลิเคชันนำทาง แอปพลิเคชันเพื่อการสื่อสาร และอื่นๆ อีกมากมาย แต่การพัฒนาแอปพลิเคชันให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป เพราะตัวแอปพลิเคชันต้องตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้อย่างรอบด้าน และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ
นักศึกษาฝึกงาน(ฝ่ายวางแผน)
5 ก.พ. 2025
คนเทรนด์ใหม่ “กิน-ใช้” อย่างไร สร้างโอกาสให้ธุรกิจ
แนวโน้มธุรกิจอาหารแห่งอนาคต ภายใต้ 6 ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่คือ. 1. กินเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ โภชนาการเฉพาะบุคคล เช่น Medical Food ในรูปแบบเจลลี่เสริมสารอาหาร
นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
5 ก.พ. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ