แชร์

Work Life Balance คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับการทำงานยุคใหม่

อัพเดทล่าสุด: 16 ม.ค. 2025
27 ผู้เข้าชม
Work Life Balance คือ 
    สมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต ซึ่งคำสำคัญที่ต้องเข้าใจก็คือ สมดุล ที่ว่านั้นหมายถึงอะไร คำว่า สมดุล ในที่นี้ หมายถึง การทำงานและการใช้ชีวิตไม่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อกันและกัน ในบางจังหวะชีวิตอาจทำงานหนักกว่าการใช้เวลาส่วนตัว หรือในบางช่วงภาระความรับผิดชอบต่าง ๆ ในชีวิตก็เรียกร้องให้เอาใจใส่มากกว่า
 
    ดังนั้น คำว่า สมดุล หรือ Balance ในที่นี้ จึงไม่ได้หมายถึงการแบ่งเวลาหรือพลังงานของคนเราแบบเท่า ๆ กัน 50 : 50 หรือทฤษฎีการจัดสรรเวลาสูตร 8 : 8 : 8 (เป็นเวลาทำงาน เวลาพักผ่อน และเวลาสำหรับการดูแลชีวิต) ที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกัน จึงไม่ใช่ตัวอย่างของการปรับสมดุล Work Life Balance เท่านั้น 

    นอกจากนี้ การที่คนคนหนึ่งทำงานหนักมากอย่างเช่น คนที่ทุ่มเททำงานเพื่อสร้างธุรกิจในช่วงตั้งไข่อาจทำงานมากถึงวันละ 14 ชั่วโมง หรือเจ้าของกิจการที่ทำงานหนักกว่าพนักงาน ก็ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาขาด Work-life balance เสมอไป ทั้งหมดขึ้นอยู่กับจังหวะในชีวิตของเขาในช่วงนั้น ๆ ต้องการทำอะไร แล้วการทำงานของเขากระทบกับการใช้ชีวิต สุขภาพ หรือความสัมพันธ์กับคนรอบตัวแค่ไหน
 
ความสำคัญของ Work Life Balance ในมุมขององค์กร/บริษัท
    ในมุมของคนทำงาน คงไม่ต้องอธิบายกันมากมาย ว่าทำไมเรื่อง Work-life balance ถึงสำคัญ เพราะการทำงานหนักมากเกินไปจนเสียสมดุล ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมไปถึง ไม่มีเวลาในการดูแลตัวเองและจัดการเรื่องอื่น ๆ ในชีวิต

    ส่วนในมุมของบริษัท ปัญหา Work-Life Balance ยังเป็นปัญหาที่หลายองค์กรยังมองข้ามอยู่ เพราะเมื่อมองอย่างผิวเผินแล้ว การที่พนักงานทุ่มเททำงานหนักให้บริษัทน่าจะเป็นเรื่องที่บริษัทได้ประโยชน์เต็ม ๆ

    ความเป็นจริงแล้ว การที่พนักงานขาด Work-life balance จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของบริษัท/องค์กรเหมือนการที่โดมิโน่ล้มต่อกันไปเรื่อย ๆ เริ่มจากปัญหาสุขภาพพนักงานที่ย่ำแย่ลงจากการทำงานหนักและขาดเวลาในการดูแลตัวเอง ปัญหาสุขภาพใจจากการทำงาน เช่น ภาวะเครียด วิตกกังวล หรือรุนแรงถึงภาวะหมดไฟ และภาวะซึมเศร้า ฯลฯ โดยข้อมูลจาก ACAS ระบุว่า ภาวะขาด Work Life Balance เป็นสาเหตุให้พนักงานลางาน และส่งผลให้ประสิทธิภาพและ Productivity ในการทำงานลดลง
 
เคล็ดลับสำหรับองค์กร สร้างสมดุลการทำงานให้กับพนักงาน
1. ยืดหยุ่นเวลาเข้า-ออกงาน
    ในบางครั้ง เวลาการเข้า-ออกงาน หรือการตอกบัตร-สแกนนิ้วรายงานตัวเข้าทำงานก็เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต เพราะในบางวัน พนักงานอาจมีเหตุจำเป็นที่ต้องสะสางให้เรียบร้อยก่อน การกำหนดเวลาเข้า-ออกงานแบบเป๊ะ ๆ หรือมีมาตรการหักเงินค่ามาสาย อาจไม่สมเหตุสมผลเสมอไป

  เวลาเข้า-ออกงานที่ยืดหยุ่นจะช่วยให้พนักงานมีอำนาจในการจัดสรรและบริหารเวลาส่วนตัวได้ดีขึ้น เช่น เช้านี้อาจต้องไปทำธุระที่ธนาคารก่อนเข้างาน หรือบางคนต้องไปส่งลูกค้าเข้าโรงเรียนก่อน ฯลฯ 

     บริษัทสามารถส่งเสริม Work life balance ในจุดนี้ได้ อาจเป็นการกำหนดเวลาทำงานครบ 8 ชั่วโมง และมีกะให้เข้าสามช่วง เช่น 8, 9 และ 10 นาฬิกา
 
 
2. Work From Home และ Remote Working
    คล้ายกับเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น อีกมาตรการที่ช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีสมดุลการทำงาน-การใช้ชีวิตที่ดี คือ การที่พวกเขาสามารถเลือกทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) หรือจะทำงานจากที่ใดก็ได้ (Remote Working) ขอแค่ให้ทำงานออกมาสำเร็จทันเวลา  

    วิธีการนี้ จะช่วยเปิดโอกาสให้พนักงานมีเวลาในการดูแลตัวเองมากขึ้น มีเวลาจัดระเบียบบ้านและชีวิต หรือมีเวลาพักผ่อนเพิ่มขึ้น จากการที่ไม่ต้องเดินทางไปทำงาน 

    ปัจจุบัน บางองค์กรก็นำแนวคิดนี้ มาปรับใช้ผสมผสานกับการทำงานในรูปแบบปกติ (Routine Woring) เช่น สามารถทำงานที่บ้านหรือที่ใดก็ได้ 2 วันต่อสัปดาห์ หรือเข้าออฟฟิศมาประชุมกันเพียงสัปดาห์ละครั้ง หรือบริษัทสมัยใหม่บางที่ก็ถึงขึ้นอนุญาตให้พนักงานสามารถ Workation ทำงานได้ด้วย-ท่องเที่ยวไปได้อีกด้วย
 
3. รีวิว Workload หรือภาระงาน และกระจายงาน
   หนึ่งในปัญหาสำคัญของ Work-ไร้-Balance คือ การที่ภาระงานของคนทำงานหนักเกินไป ซึ่งผู้มอบหมายงาน หัวหน้างาน หรือผู้จัดการควรหมั่นรีวิวภาระงานของคนทำงานในทีมแต่ละคน ดูว่าใครรับภาระมากเกินไปหรือเปล่า หรือพนักงานคนไหนที่สามารถแบ่งเบาภาระไปทำเพิ่มเติมได้บ้าง 
 
4. สวัสดิการสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาวะ
   สวัสดิการสุขภาพ เช่น เงินช่วยค่ารักษาพยาบาล ประกันสุขภาพ สิทธิวันลาป่วย ฯลฯ หรือสวัสดิการที่ช่วยส่งเสริมการดูแลตัวอย่าง เช่น สิทธิหรือส่วนลดฟิตเนส โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพพนักงาน (EAP) ที่คอยเตือนให้พนักงานใส่ใจดูแลสุขภาพ จะช่วยลดภาระในการดูแลสุขภาพของพนักงานลง 
 
   รวมไปถึงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีผ่านกิจกรรมหรือนโยบายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมลดน้ำหนักพนักงาน กิจกรรมออกกำลังกายต่าง ๆ โรงอาหารสุขภาพ (Healthy canteen) หรือของว่างสุขภาพ (Healthy snack break)  ก็ช่วยสร้างสมดุลในด้านสุขภาพให้กับพนักงาน
 
5. สนับสนุนค่านิยม Work Life Balance
   นอกจากเรื่องของนโยบายการทำงานที่ส่งเสริม Work-lofe balance และสวัสดิการต่าง ๆ แล้ว เรื่องของการสร้างวัฒนธรรมและส่งเสริมค่านิยมเองก็เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญ
 
   เริ่มต้นจากการที่หัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้บริหาร ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานที่ให้คุณค่ากับ Work-life balance และเคารพเวลาส่วนตัวของพนักงาน เช่น ไม่ทักถามเรื่องงานหลังเวลางาน ไม่ส่งเสริมให้ทำงานล่วงเวลา มีระบบการประเมินผลจากผลงานมากกว่าปริมาณงานหรือเวลาที่ใช้ สร้างบทสนทนาในเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากเรื่องงาน เพื่อสนับสนุนให้พนักงานใส่ใจกับชีวิตในด้านอื่น ๆ และไม่รู้สึกว่า ชีวิตด้านอื่นมีความสำคัญน้อยกว่าเรื่องงาน 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://www.sakid.app/blog/work-life-balance/
 
 

บทความที่เกี่ยวข้อง
Arena Software โปรแกรมวางแผนการผลิต เพื่อธุรกิจ
โปรแกรมวางแผนการผลิต Arena Software สร้างโมเดลจำลอง ... สามารถใช้ Arena ในการสร้าง Model ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า
20 ม.ค. 2025
“ข้าวญี่ปุ่น” สรรพคุณ-ประโยชน์ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของสมอง
นอกจากคนไทยเราจะนิยมกินข้าวที่ปลูกภายในประเทศเป็นอาหารหลักแล้ว “ข้าวญี่ปุ่น” ก็เป็นอาหารที่คนไทยหลายคนชื่นชอบด้วย ข้าวทุกชนิดล้วนมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการหลายชนิด
18 ม.ค. 2025
ลูกระนาด ทำให้ชุมชนปลอดภัยขึ้นได้อย่างไร และทำไมควรมี
บทบาทของ ลูกระนาด ในการช่วยให้ชุมชนปลอดภัยขึ้น. การชะลอความเร็วของรถในชุมชน: โดยการบังคับความเร็วให้ต่ำลง ยางชะลอความเร็วจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุและลดความรุนแรงของการชนได้
18 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ