แชร์

9 Pricing Strategies ตั้งราคายังไงให้ได้กำไรสูงสุด ?

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 24 ม.ค. 2025
370 ผู้เข้าชม
Pricing Strategy คือ รูปแบบหรือวิธีการกำหนดราคาเพื่อให้ได้ผลกำไรที่คุ้มค่าที่สุดจากสินค้าหรือบริการ ซึ่งราคานั้นจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมายและภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วย
 
นอกจากต้นทุนแล้ว ราคาก็อาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธุรกิจหลายอย่าง ทั้งเป้าหมายรายได้, วัตถุประสงค์ทางการตลาด, Brand Position ฯลฯ รวมไปถึงอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่น ความต้องการของผู้บริโภค ราคาของคู่แข่ง ด้วย โดยมีกลยุทธ์ที่หลากหลายในการเลือกใช้ ดังนี้
 
1. Competition-Based Pricing Strategy การตั้งราคาอิงตามคู่แข่ง
การตั้งราคาตามการแข่งขันในตลาดหรือกำหนดราคาอิงตามคู่แข่ง เป็นการตั้งราคาที่อิงตามเกณฑ์ที่คู่แข่งส่วนใหญ่ตั้งกันในตลาด แต่อาจจะปรับให้ถูกหรือแพงกว่าเล็กน้อยด้วยการเพิ่มมูลค่าอื่น ๆ เพื่อเป็นกลยุทธ์ที่จะเอาชนะคู่แข่ง และสามารถสร้างยอดขายหรือกำไรได้มากกว่า
 
2. Cost-Plus Pricing Strategy การตั้งราคาโดยบวกกำไรจากต้นทุน
กลยุทธ์การตั้งราคาแบบนี้ เป็นการตั้งราคาโดยบวกกำไรที่ต้องการเพิ่มไปจากต้นทุนของสินค้า อยากได้กำไรเท่าไหร่หรือกี่เปอร์เซ็นต์ก็เพิ่มไปเท่านั้น การตั้งราคาแบบนี้ไม่เหมาะกับธุรกิจบริการหรือสินค้าซอฟต์แวร์ที่คำนวนต้นทุนที่แท้จริงได้ยาก หรือมีมูลค่าของสินค้าสูงกว่าต้นทุนการผลิต
 
3. Dynamic Pricing Strategy การตั้งราคาแบบยืดหยุ่น
การตั้งราคาแบบยืดหยุ่น หรืออาจเรียกได้อีกชื่อว่า 'Demand Pricing Strategy' เป็นการตั้งราคาที่เพิ่มลดตามความต้องการของลูกค้าในเวลานั้น เช่น โรงแรม สายการบิน ห้องจัดอีเวนต์ ฯลฯ ที่มีการใช้อัลกอริทึ่มเพื่อวิเคราะห์และปรับราคาให้เหมาะกับความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา
 
4. High-Low Pricing Strategy การตั้งราคาขายสูงแต่ขายจริงต่ำ
เรียกได้อีกชื่อนึงว่า 'Discount Pricing Strategy' เป็นการตั้งราคาสินค้าให้สูงไว้ก่อนในตอนแรก แล้วจะมีการลดราคาเมื่อขายจริง หรือในช่วงอีเวนต์พิเศษ เช่น ลดล้างสต๊อก, Mid-year Sale, Black Friday เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์นี้ เช่น เครื่องสำอางค์ที่มักตั้งราคาเต็มไว้สูง แต่ขายจริงด้วยราคาส่วนลดตลอดการขาย
 
5. Skimming Pricing Strategy การตั้งราคาสูงไว้ก่อนในช่วงเปิดตัว
กลยุทธ์การตั้งราคาแบบ Skimming เป็นการตั้งราคาสินค้าให้สูงมาก ๆ ในช่วงแรกของการเปิดตัว แล้วจะมีการลดราคาลงเรื่อย ๆ เมื่อกระแสความนิยมของสินค้าลดลง

ส่วนใหญ่เราจะเห็นการตั้งราคาแบบนี้ในสินค้าพวกเทคโนโลยี และสินค้าที่ความต่างของราคาไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ที่จะมีรุ่นใหม่ ๆ ออกมาตลอด ส่วนรุ่นเก่าที่ความนิยมตก ก็จะถูกลดราคาลงเมื่อเวลาผ่านไป และเพราะราคาขายที่สูงตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น การตั้งราคาแบบนี้ทำให้ธุรกิจสามารถคืนทุนได้ในเวลารวดเร็ว
 
6. Penetration Pricing Strategy การตั้งราคาแบบเจาะตลาด
ในขณะที่กลยุทธ์ Skimming Pricing ตั้งราคาสูงในช่วงเริ่มขาย ตรงข้ามกัน Penetration Pricing เป็นการตั้งราคาสินค้าให้ถูกเพื่อรุกเข้าตลาดในช่วงเปิดตัว ซึ่งสามารถดึงความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย และแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากเจ้าถิ่นในตลาดได้ แต่ก็ต้องมั่นใจว่าแผนการตลาดจะทำให้ลูกค้ายังอยู่กับเราต่อเมื่อเวลาผ่านไปและราคาสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการ Dump ราคาลงเพื่อเจาะตลาด กลยุทธ์นี้จึงเป็นแผนที่ไม่ยั่งยืนในระยะยาว ทั่วไปจะใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ หรือตามกำลัง (ทรัพย์) ที่มี
 
7. Value-Based Pricing Strategy การตั้งราคาตามมูลค่าสินค้า
กลยุทธ์การตั้งราคาแบบนี้ เป็นการกำหนดราคาตามมูลค่าของสินค้าหรือบริการซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ลูกค้ายินดีจ่าย นั่นคือธุรกิจจะตั้งราคาตามความสนใจของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งราคาที่ลูกค้ามองว่าสมเหตุสมผลนี้ก็มีโอกาสที่จะช่วยเพิ่ม Royalty ให้กับธุรกิจได้

เช่น ร้านอาหารที่ตั้งราคาได้เหมาะสมกับคุณภาพของวัตถุดิบ ถ้าวัตถุดิบดี แต่มีราคาสูง ก็ยังมีลูกค้ากลุ่มที่ยอมจ่าย แถมลูกค้ากลุ่มนี้ก็จะยิ่งเชื่อมั่นในแบรนด์ต่อไปด้วย
 
8. Psychological Pricing Strategy การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา
กลยุทธ์การตั้งราคาแบบนี้มีเป้าหมายโดยการเล่นกับจิตวิทยามนุษย์เพื่อเพิ่มยอดขาย ตัวอย่างเช่น การตั้งราคาที่ลงท้ายด้วยเลข 9 หรือการซื้อ 1 แถม 1 รวมไปถึงการเลือกสีตัวอักษร ขนาดตัวอักษร ฟอนต์ และอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความรู้สึกในการตัดสินใจซื้อ

อย่างไรก็ตาม การตั้งราคาสินค้าต่ำ ๆ เพื่อจูงใจให้ซื้อ อาจจะไม่ใช่แผนที่ดีที่สุดเสมอไป อย่างน้อยธุรกิจต้องรู้ความคิดของกลุ่มเป้าหมายว่าจริง ๆ พวกเขาสนใจการมีส่วนลดของเรารึเปล่า หรือการจ่ายราคาสูงเพื่อให้ได้สินค้ามีคุณภาพเป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญมากกว่า
 
9. Geographic Pricing Strategy การตั้งราคาตามภูมิศาสตร์
กลยุทธ์การตั้งราคาแบบนี้ เป็นการตั้งราคาโดยพิจารณาถึงต้นทุนการขนส่ง มักเป็นสินค้าที่ผู้ขายต้องรับภาระค่าขนส่งเอง หรือสินค้าที่ต้องใช้วัตถุดิบจากพื้นที่เฉพาะ ไม่ใช่วัตถุดิบที่หาได้จากทุกที่ในโลก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://adaddictth.com/knowledge/9-Pricing-Strategies
 

บทความที่เกี่ยวข้อง
อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่ไม่มีประสบการณ์? แฟรนไชส์ขนส่งช่วยได้!
หลายคนคงเคยฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเพื่อต้องการอิสระทางเวลา รายได้ที่มั่นคง หรือความภูมิใจในสิ่งที่เราสร้างขึ้นเอง แต่พอคิดจะเริ่มจริงๆ กลับต้องชะงักเพราะ “ไม่มีประสบการณ์” หรือ “ไม่รู้จะเริ่มยังไง” ถ้าคุณกำลังอยู่ในจุดนี้ บทความนี้มีคำแนะนำดีๆ ที่อาจช่วยให้ก้าวแรกของคุณง่ายขึ้น ด้วยทางเลือกที่เรียกว่า “แฟรนไชส์ขนส่ง”
ร่วมมือ.jpg Contact Center
25 เม.ย. 2025
SWOT Analysis คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ
ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นทุกวัน ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่แค่คนที่มีไอเดียดี แต่ต้อง เข้าใจสถานการณ์ของธุรกิจตัวเอง ทั้งภายในและภายนอกอย่างรอบด้าน ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นภาพเหล่านี้ได้ชัดเจน คือ SWOT Analysis หรือ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค นั่นเอง
ร่วมมือ.jpg Contact Center
22 เม.ย. 2025
รถบรรทุกไฟฟ้า: ตัวเปลี่ยนเกมของโลจิสติกส์ยุคใหม่?
ช่วงหลังมานี้ หลายคนอาจเริ่มเห็นข่าวหรือคลิปเกี่ยวกับ รถบรรทุกไฟฟ้า ที่เงียบกริบแต่ทรงพลัง เริ่มออกวิ่งในบางเมืองหรือคลังสินค้าใหญ่ ๆ กันบ้างแล้ว แถมบริษัทยักษ์ใหญ่หลายเจ้าก็เริ่มสั่งจองและทดลองใช้จริงจัง แล้วรถบรรทุกไฟฟ้ามันดีจริงไหม? ใช้ได้จริงหรือแค่กระแส? มาลองคุยกันแบบสบาย ๆ เหมือนเดิมครับ
Blue_and_Pink_Retro_Illustrative_Great_Square_Pillow.png BS Rut กองรถ
23 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ