การจัดการ Supply Chain ช่วยระบบอุตสาหกรรมของคุณได้อย่างไร
อัพเดทล่าสุด: 3 ก.พ. 2025
18 ผู้เข้าชม
ปลายทางของทุกอุตสาหกรรมจะเกี่ยวกับการซื้อขายอยู่เสมอ และปัจจัยที่ขาดไม่ได้สำหรับเรื่องนี้คือการบริหารจัดการสินค้าและความต้องการ การจัดการ Supply Chain จึงเป็นหัวข้อสำคัญสำหรับการวางแผนระบบอุตสาหกรรมไม่ว่าเวลาจะผ่านไปขนาดไหน และอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม
รู้จักกับ Supply Chain ปัจจัยสำคัญในอุตสาหกรรมทุกยุคสมัย
Supply Chain (ห่วงโซ่อุปทาน) คือ กระบวนการจัดการการผลิตเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการขึ้นมา ทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบ บริหารการผลิต การจัดเก็บสินค้า ไปจนถึงกระบวนการจัดส่งสู่มือของลูกค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ (Demand) ของลูกค้าได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง
องค์ประกอบของ Supply Chain
Supply Chain จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ซึ่งคือ
-Upstream Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานก่อนการผลิต คือการจัดหาวัตถุดิบจากเหล่าซัพพลายเออร์ (Supplier) ที่รวมถึงการประสานงาน จัดซื้อ พูดคุยเบื้องต้น ตรวจสอบข้อมูล ก่อนเข้าสู่ระบบการผลิต
-Internal Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานภายในการผลิต คือการเปลี่ยนวัตถุดิบให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ หรือสินค้า ตั้งแต่การจัดการวัตถุดิบเบื้องต้น การประกอบชิ้นส่วน ไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพของสินค้านั้นๆ
-Downstream Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้า จะเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้าต่างๆ ให้ถึงมือผู้รับ ครอบคลุมไปถึงด้านการแพ็คของ ตรวจสอบสินค้า เป็นต้น
-Upstream Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานก่อนการผลิต คือการจัดหาวัตถุดิบจากเหล่าซัพพลายเออร์ (Supplier) ที่รวมถึงการประสานงาน จัดซื้อ พูดคุยเบื้องต้น ตรวจสอบข้อมูล ก่อนเข้าสู่ระบบการผลิต
-Internal Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานภายในการผลิต คือการเปลี่ยนวัตถุดิบให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ หรือสินค้า ตั้งแต่การจัดการวัตถุดิบเบื้องต้น การประกอบชิ้นส่วน ไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพของสินค้านั้นๆ
-Downstream Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้า จะเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้าต่างๆ ให้ถึงมือผู้รับ ครอบคลุมไปถึงด้านการแพ็คของ ตรวจสอบสินค้า เป็นต้น
การจัดการซัพพลายเชนช่วยอุตสาหกรรมด้านไหนบ้าง
1.เห็นภาพรวมที่แท้จริงของอุตสาหกรรม เพราะการจัดการซัพพลายเชนจำเป็นต้องมีข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแปลงข้อมูลต่างๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่สามารถจับต้องได้ ทางฝั่งผู้บริหารจะสามารถรู้ได้ทันที เช่น
-ความล่าช้าในการจัดส่ง
-ปัญหาในการผลิตส่วนต่างๆ
-การจัดการบัญชีที่ล่าช้า
-ความล่าช้าในการจัดส่ง
-ปัญหาในการผลิตส่วนต่างๆ
-การจัดการบัญชีที่ล่าช้า
2.ลดต้นทุนโดยรวมของอุตสาหกรรม เนื่องจากการจัดการซัพพลายเชนจะใช้หลัก Zero waste คือ ไม่มีสิ่งใดสูญเปล่า ดังนั้นจะมีการตรวจสอบการจัดซื้อ การจัดเก็บสินค้า เพื่อไม่ให้มีการจัดซื้อวัตถุดิบมากเกินไป และจัดเก็บสินค้านานจนเสื่อมคุณภาพ ราคาตก ทำให้เงินที่ใช้จ่ายโดยรวมลดลง เพิ่มโอกาสได้กำไรมากขึ้น
3.ส่งผลต่อการทำงานอย่างบูรณาการ จากการจัดการซัพพลายเชนจะทำให้ทางบริษัทและโรงงานรู้ได้ทันทีว่าส่วนไหนที่อาจทำให้เกิดปัญหา ทำให้มีการแก้ไขที่ไวและทันท่วงที ไม่จำเป็นต้องรอให้ส่งผลกระทบใหญ่โต รวมถึงมีการพัฒนาระบบการผลิตให้ดีขึ้น โดยอ้างอิงจากข้อมูลการจัดการซัพพลายเชนเดิมมาใช้ เช่น การเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อสนับสนุนระบบการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ขยายโกดังเก็บสินค้าใหม่เพื่อให้พอดีกับการผลิต เป็นต้น
3.ส่งผลต่อการทำงานอย่างบูรณาการ จากการจัดการซัพพลายเชนจะทำให้ทางบริษัทและโรงงานรู้ได้ทันทีว่าส่วนไหนที่อาจทำให้เกิดปัญหา ทำให้มีการแก้ไขที่ไวและทันท่วงที ไม่จำเป็นต้องรอให้ส่งผลกระทบใหญ่โต รวมถึงมีการพัฒนาระบบการผลิตให้ดีขึ้น โดยอ้างอิงจากข้อมูลการจัดการซัพพลายเชนเดิมมาใช้ เช่น การเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อสนับสนุนระบบการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ขยายโกดังเก็บสินค้าใหม่เพื่อให้พอดีกับการผลิต เป็นต้น
การจัดการซัพพลายเชนเบื้องต้น (Supply Chain Management)
เราสามารถจัดการซัพพลายเชนอย่างมีคุณภาพได้ โดยการเก็บข้อมูลระบบการผลิตทั้งหมด แล้วเปลี่ยนทุกอย่างให้กลายเป็นตัวเลขที่สามารถวัดค่าได้ชัดเจน และดำเนินการจัดการโดยใช้การคาดคะเนด้วยข้อมูลตามความเป็นจริงเป็นหลัก เช่น
-การจัดซื้อวัตถุดิบ หากเป็นวัตถุดิบที่มีความเสี่ยงต่อการผิดพลาดในการผลิต อาจสั่งมามากขึ้นเล็กน้อย อย่าสั่งเผื่อจนล้นโกดังเก็บของ และอย่าสั่งพอดีจนเกินไปนัก โดยอิงตัวเลขตามสถิติความผิดพลาดในการผลิตในอดีตเป็นหลัก
-การผลิต เน้นพัฒนาให้เกิดข้อผิดพลาดการผลิตน้อยที่สุด เพื่อให้การผลิตเข้าสู่ zero waste หรือ ไม่มีวัตถุดิบและปัจจัยสูญเปล่า
-การจัดส่งสินค้า บูรณาการการจัดส่ง ทั้งในแง่ของความปลอดภัย ความรวดเร็ว และความถูกต้อง หากเป็นสินค้าที่แตกหักง่าย ต้องใช้เวลามาก ต้องมีการพูดคุยกับลูกค้าก่อน เพื่อลดความผิดพลาดจากการรีบจัดส่ง ซึ่งจะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองหากเกิดความผิดพลาด
-การพัฒนาระบบที่ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้มีการติดต่อสื่อสารที่ชัดเจน บันทึกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบการผลิต เพื่อนำมาวิเคราะห์และพัฒนาระบบให้ดีขึ้น สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ ด้านบน
-การจัดซื้อวัตถุดิบ หากเป็นวัตถุดิบที่มีความเสี่ยงต่อการผิดพลาดในการผลิต อาจสั่งมามากขึ้นเล็กน้อย อย่าสั่งเผื่อจนล้นโกดังเก็บของ และอย่าสั่งพอดีจนเกินไปนัก โดยอิงตัวเลขตามสถิติความผิดพลาดในการผลิตในอดีตเป็นหลัก
-การผลิต เน้นพัฒนาให้เกิดข้อผิดพลาดการผลิตน้อยที่สุด เพื่อให้การผลิตเข้าสู่ zero waste หรือ ไม่มีวัตถุดิบและปัจจัยสูญเปล่า
-การจัดส่งสินค้า บูรณาการการจัดส่ง ทั้งในแง่ของความปลอดภัย ความรวดเร็ว และความถูกต้อง หากเป็นสินค้าที่แตกหักง่าย ต้องใช้เวลามาก ต้องมีการพูดคุยกับลูกค้าก่อน เพื่อลดความผิดพลาดจากการรีบจัดส่ง ซึ่งจะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองหากเกิดความผิดพลาด
-การพัฒนาระบบที่ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้มีการติดต่อสื่อสารที่ชัดเจน บันทึกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบการผลิต เพื่อนำมาวิเคราะห์และพัฒนาระบบให้ดีขึ้น สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ ด้านบน
สรุปบทความ
ปัจจัยสำคัญสำหรับการจัดการซัพพลายเชนเห็นจะไม่พ้นสิ่งที่เรียกว่า ข้อมูล และ การสื่อสาร ซึ่งสามารถส่งเสริมได้ด้วยเทคโนโลยี หากใช้ทั้งสองอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับการจัดการและวิสัยทัศน์ที่ดีของฝ่ายบริหาร จะทำให้อุตสาหกรรมลดต้นทุนได้มาก และทำงานได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย
ปัจจัยสำคัญสำหรับการจัดการซัพพลายเชนเห็นจะไม่พ้นสิ่งที่เรียกว่า ข้อมูล และ การสื่อสาร ซึ่งสามารถส่งเสริมได้ด้วยเทคโนโลยี หากใช้ทั้งสองอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับการจัดการและวิสัยทัศน์ที่ดีของฝ่ายบริหาร จะทำให้อุตสาหกรรมลดต้นทุนได้มาก และทำงานได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย
BY : Jim
ที่มา : https://www.sumipol.com/knowledge/supply-chain-management/
บทความที่เกี่ยวข้อง
คาร์บอนเครดิต คือ สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม โดยเป็นการแปลงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงให้เป็นหน่วยกลางคือคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ซึ่งสามารถซื้อขายได้ในตลาดคาร์บอน
5 ก.พ. 2025
ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) คือ อุปกรณ์ลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นส่วนประกอบหลักสำคัญในการนำพาวัสดุ
5 ก.พ. 2025
ปี 2024 เป็นปีที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการ SME ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายและโอกาสในปี 2025 ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวกับการทำงานทีเปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า หรือการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน finbiz by ttb จะพาผู้ประกอบการ SME มาดู 5 เทรนด์ธุรกิจที่จะส่งผลต่อการเติบโตในปี 2025 นี้
4 ก.พ. 2025