แชร์

ระบบ MRP คืออะไร? ช่วยการผลิตในแง่ใดได้บ้าง?

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(คลัง)
อัพเดทล่าสุด: 1 มี.ค. 2025
174 ผู้เข้าชม
การจัดการวัตถุดิบคือกระบวนการที่สำคัญสำหรับการทำงานผลิตในปัจจุบัน โดยเฉพาะโรงงานที่ต้องการการจัดสรรวัตถุดิบให้พอดีกับความต้องการ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ระบบ MRP (Material Requirement Planning) จึงกลายเป็นอีกตัวช่วยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ 
 
ทำความรู้จักระบบ MRP (Material Requirement Planning)
ระบบ MRP หรือ Material Requirement Planning เป็นระบบที่ช่วยในการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ คอยจัดการทั้งในส่วนของการดูแลที่มาที่ไปของวัตถุดิบ ตรวจสอบวัตถุดิบที่ต้องใช้ ไปจนถึงการสั่งซื้อเมื่อมีวัตถุดิบไม่พอ

โดยหน้าที่หลักของ MRP นั้นจะออกแนวเฉพาะเจาะจงในส่วนของ Manufacturing หรือการผลิตในโรงงานมากกว่าโปรแกรมพี่น้องอย่าง ERP (Enterprise Resource Planning) ที่ครอบคลุมกว่า กล่าวคือระบบ MRP นั้นเป็นส่วนนึงของระบบ ERP ก็ว่าได้
 
การทำงานของระบบ MRP
หน้าที่หลักของระบบ MRP คือการวางแผนความต้องการและสร้างตารางการผลิตที่เหมาะสม จัดสรรวัตถุดิบให้เพียงพอสำหรับการผลิตตามแผนงาน โดยมีหลักการสำคัญคือการสั่งซื้อวัตถุดิบให้เพียงพอกับจำนวนและเวลาที่ต้องการ
 
โดยระบบ MRP จะรวบรวมคำสั่งซื้อที่ได้รับมาประมวลผล จากนั้นจึงจัดทำแผนความต้องการวัสดุประเภทต่างๆ โดยระบบ MRP จะสามารถตอบโจทย์คำถามเหล่านี้ได้

-ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบชนิดใด เมื่อไหร่ 
-สั่งปริมาณเท่าไหร่ เพื่อให้การผลิตถูกต้อง ไม่ขาดไม่เกินไปกว่าจำนวนผลิตจริง 
-เสร็จทันตามกำหนดระยะเวลาที่ถูกวางเอาไว้ในแผนงาน
-ผูกกับระบบ HR เพื่อตรวจสอบว่าพนักงานคนใดดูแลไลน์การผลิตไหน
-ส่งอีเมลแจ้งเตือนเมื่อมีการเปลี่ยนแผน เปลี่ยนพนักงาน หรืออื่นๆ
 
เงื่อนไขประการสำคัญของระบบ MRP คือการนำเอาวัตถุดิบที่ได้ผ่านการสั่งซื้อ เข้าสู่กระบวนการผลิตตามลำดับขั้นตอน โดยอิงจากแผนงานที่ถูกวิเคราะห์และรวบรวมไว้แล้วเป็นแกนกลาง
 
ประโยชน์ของระบบ MRP ที่มีต่อองค์กร
-ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในระหว่างการผลิต ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานด้านการผลิตเป็นไปอย่างราบรื่น
-ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง ช่วยให้ไม่เกิดอาการทุนจมหรือเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการหรือจัดเก็บสินค้าคงคลัง
-ช่วยบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ ไม่เกิดความผิดพลาดในขั้นตอนการสั่งซื้อและจัดหา ไปจนถึงขั้นตอนการผลิตสินค้าตามใบสั่งหรือแผนงาน
-เก็บรวบรวมฐานข้อมูลและความรู้ความเข้าใจในองค์กร ตั้งแต่ด้านจัดการคลังสินค้า การสั่งซื้อ การผลิตเอาไว้ในที่เดียว เป็นรากฐานและเพิ่มความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ
-เรียกดูข้อมูลรายงานการผลิตและสั่งซื้อต่างๆได้สะดวก ช่วยให้การตรวจสอบหรือนำมาใช้งานภายหลังทำได้ง่ายขึ้น
-เพิ่มความสะดวกในการทำงานให้กับบุคลากร ทำให้สามารถนำเวลาไปใช้ในงานส่วนอื่น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้น
 
ประโยชน์อื่นๆ ของระบบ MRP 
นอกจากจัดตารางการผลิต MRP ยังช่วยลดจำนวนสินค้าคงคลังที่ต้องเหลือค้าง ด้วยระบบที่เอื้ออำนวยในการสั่งซื้อวัตถุดิบแบบผ่านการคิดคำนวณเวลาและการเก็บรักษา รวมไปถึงการใช้งานที่พอดีกับการผลิตจึงไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองหรือจัดหาสถานที่สำหรับเก็บวัตถุดิบคงคลัง รวมถึงลดค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาหรือจัดเก็บไปได้มากทีเดียว

ทั้งหมดเป็นสาเหตุให้การบริหารจัดการที่มาจากระบบ MRP คือองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้การผลิตสินค้ามีประสิทธิภาพ
 
สรุปท้ายบทความ
พื้นฐานของระบบ MRP เริ่มต้นมาจากความต้องการในการสร้างแผนงานที่เป็นระบบให้แก่องค์กร ในส่วนของการผลิตและจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ หัวใจหลักอยู่ที่การจัดสรรวัตถุดิบทั้งหลายให้เพียงพอต่อการใช้งาน โดยไม่คงเหลือมากจนกลายเป็นสินค้าคงคลังเป็นภาระให้จัดการ และได้สานต่อด้วยการเพิ่มความง่ายในการใช้งาน การทำงานที่รวดเร็ว เรียลไทม์

ในปัจจุบันมีการนำระบบ MRP นี้ไปปรับใช้กับธุรกิจหรือองค์กรแบบอื่น ขยายขอบเขตและรูปแบบการใช้งานให้มากขึ้น ทำให้ไม่ว่าโรงงานเล็กหรือใหญ่ หรือเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการสร้างอื่นๆ การใช้ MRP เข้ามาบริหารจัดการ อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่าการลงบัญชีแบบธรรมดา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
BY : Jim
ที่มา : https://1stcraft.com/what-is-mrp/
 

บทความที่เกี่ยวข้อง
เปรียบเทียบระบบ Booking Manual กับ Online – ใครเร็ว ใครแม่นกว่า?
ในโลกของการขนส่งและโลจิสติกส์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การจองคิวหรือจองพัสดุ (Booking) กลายเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถกำหนดความรวดเร็ว
ร่วมมือ.jpg Contact Center
24 เม.ย. 2025
ลดต้นทุนงานบริการลูกค้าด้วย ChatGPT
ทุกวันนี้ "ประสบการณ์ลูกค้า" กลายเป็นหัวใจของความสำเร็จทางธุรกิจ แต่การให้บริการลูกค้าที่ดีและรวดเร็วมักมาพร้อมกับต้นทุนที่สูง ไม่ว่าจะเป็นการจ้างทีมซัพพอร์ต การฝึกอบรมพนักงาน หรือค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ แล้วเราจะทำอย่างไรให้บริการยังคงยอดเยี่ยม ในขณะที่ควบคุมต้นทุนไปด้วย? คำตอบหนึ่งที่หลายธุรกิจกำลังเลือกใช้คือ ChatGPT — ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถช่วยตอบคำถามลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง
ร่วมมือ.jpg Contact Center
26 เม.ย. 2025
SWOT Analysis คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรต่อธุรกิจ
ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นทุกวัน ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่แค่คนที่มีไอเดียดี แต่ต้อง เข้าใจสถานการณ์ของธุรกิจตัวเอง ทั้งภายในและภายนอกอย่างรอบด้าน ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นภาพเหล่านี้ได้ชัดเจน คือ SWOT Analysis หรือ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค นั่นเอง
ร่วมมือ.jpg Contact Center
22 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ