แชร์

ทำความรู้จักรูปแบบการขนส่งระหว่างประเทศมีกี่รูปแบบ

noimageauthor นักศึกษาฝึกงาน(ฝ่ายวางแผน)
อัพเดทล่าสุด: 7 มี.ค. 2025
61 ผู้เข้าชม

5 รูปแบบการขนส่งระหว่างประเทศที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ในยุคปัจจุบันการค้าขายนั้นได้เชื่อมโยงโดยระบบขนส่งที่ทันสมัยอีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อได้โดยง่ายผ่านระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (International Logistics Services) นั่นเอง โดยความสำคัญของระบบการขนส่งระหว่างประเทศนั้นจะเป็นระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการกระจายสินค้า และ บริการของธุรกิจนำเข้า และ ส่งออกภายในประเทศได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในวันนี้เราจะมาบอกถึงรูปแบบของระบบการขนส่งระหว่างประเทศว่ามีรูปแบบไหนกันบ้าง และ แต่ละรูปแบบนั้นมีลักษณะอย่างไรเพื่อที่จะได้ให้ผู้ประกอบการ หรือ ผู้สนใจเข้าใจถึงระบบขนส่งระหว่างประเทศมากขึ้น



รูปแบบการขนส่งระหว่างประเทศ

1.การขนส่งระหว่างประเทศทางน้ำ หรือ เรือ
การขนส่งระหว่างประเทศทางเรื่อนั้นเป็นระบบการขนส่งที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่านมากที่สุด เหมาะสมกับการขนส่งจำนวนสินค้าที่ละมากๆ และ ควรเป็นสินค้าที่ยากแก่การเสียหาย ระยะทางไกล ไม่เร่งด่วน ต้องการการวางแผนที่ดี เนื่องจากเราไม่สามารถคาดเดาระยะเวลาในการขนส่งสินค้าที่แน่นอนได้ เพราะบางครั้งอาจจะมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่ง เช่น พายุเข้า คลื่นลมทะเลมีความไม่แน่นอน เป็นต้น สินค้าประเภท วัตถุดิบ ส่วนประกอบ เครื่องจักร ปัจจุบันนั้นนิยมการขนส่งทางเรือในระบบตู้คอนเทนเนอร์มากที่สุดนั้นเอง 

2.การขนส่งระหว่างประเทศทางอากาศ หรือ เครื่องบิน
การขนส่งระหว่างประเทศทางอากาศนั้นจะสะดวกตรงที่สามารถขนส่งได้อย่างรวดเร็วมากที่สุด สามารถตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ดี แต่แลกด้วยต้นทุนที่สูงตามมา ดังนั้นจึงเหมาะสมกับการขนส่งที่ต้องการความเร่งด่วน หรือ การขนส่งสินค้าประเภทที่สูญเสียง่าย ซึ่งสินค้าที่จัดส่งควรมีปริมาณน้อย เช่น อะไหล่เครื่องจักร สินค้าแฟชั่น ผัก ผลไม้ เครื่องประดับ เป็นต้น 

3.การขนส่งระหว่างประเทศทางราง หรือ รถไฟ
ขนส่งประเภทนี้นั้นเหมาะกับระยะทางในประเทศที่มีทางรถไฟเชื่อมต่อกันอีกทั้งยังเหมาะกับกับการขนส่งสินค้าหนักๆ ปริมาณมาก ไปยังประเทศใกล้เคียง เป็นบริการขนส่งสินค้าที่มีอัตราค่าบริการไม่แพง และ มีกำหนดเวลาออก และ ถึงจุดหมายปลายทางที่แน่นอน 

4.การขนส่งระหว่างประเทศทางถนน หรือ รถขนส่ง
การขนส่งระหว่างประเทศทางถนนนั้นคล้ายๆกับการขนส่งทางราง คือ เหมาะกับขนส่งระหว่างประเทศที่ใกล้เคียงกัน เช่น ประเทศที่มีพรมแดนติดกัน อีกทั้งยังเป็นการขนส่งสินค้าที่สะดวก ส่งมอบสินค้าได้รวดเร็วตามกำหนด และ สามารถส่งสินค้าไปถึงผู้ใช้ได้โดยตรง 

5.การขนส่งระหว่างประเทศทางท่อ
การขนส่งระหว่างประเทศนั้นเหมาะกับสินค้าที่มีลักษณะจำเพาะในรูปของเหลว เช่น น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และ ก๊าซธรรมชาติ เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง บริเวณที่ท่อผ่านจะต้องมีความชันไม่มาก เพื่อให้ของเหลวที่ไหลผ่านท่อไม่ไหลย้อนกลับ และ จะไม่มีการขนส่งย้อนกลับไปต้นทางนั้นเอง

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่ารูปแบบการขนส่งระหว่างประเทศนั้นมีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งนี้ในการเลือกการขนส่งแต่ละประเภทก็ต้องคำนึงถึงตัวสินค้าเป็นสำคัญ ว่าสินค้าชนิดไหนเหมาะกับการขนส่งในรูปแบบใดจึงจะเข้าใจถึงข้อดี ข้อเสีย และ ข้อจำกัดของการขนส่งระหว่างประเทศแต่ละประเภทมากยิ่งขึ้น

BY : Tonkla

ที่มา : rogers-thailand.com


บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำไมทองคำถึงขึ้นไม่หยุด? ไขความลับสินทรัพย์ปลอดภัยในยุคผันผวน
สวัสดีครับเพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่าน! ช่วงนี้คงไม่มีใครไม่พูดถึง "ทองคำ" สินทรัพย์ที่ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนหลายคนสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น? ทำไมทองคำถึงขึ้นไม่หยุด?
ออกแบบโลโก้__5_.png BANKKUNG
10 เม.ย. 2025
นายกสิงคโปร์โต้ทรัมป์แรง!
ในโลกที่มหาอำนาจกำลังกลับมาแข่งขันกันอย่างเข้มข้น ทั้งในมิติการทหาร เศรษฐกิจ และอิทธิพลทางการเมือง ประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ก็ไม่ได้นิ่งเฉยอีกต่อไป เหตุการณ์ล่าสุดที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ลอว์เรนซ์ หว่อง ออกมาตอบโต้ถ้อยแถลงของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ถือเป็นสัญญาณที่น่าจับตา
ร่วมมือ.jpg Contact Center
10 เม.ย. 2025
Incoterms คืออะไร? ความสำคัญและการใช้งานในการค้าระหว่างประเทศ
ในการค้าระหว่างประเทศ สิ่งสำคัญที่ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าทุกคนต้องเข้าใจให้ชัดเจนคือ เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า หรือที่รู้จักกันในชื่อ Incoterms (International Commercial Terms) ซึ่งเป็นข้อกำหนดสากลที่ใช้กำหนดความรับผิดชอบของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในด้านการขนส่งสินค้า ต้นทุน และความเสี่ยงต่าง ๆ
Blue_and_Pink_Retro_Illustrative_Great_Square_Pillow.png BS Rut กองรถ
9 เม.ย. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ