ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย
ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย
E-Commerce Channels
E-Marketplace (Horizontal)
E-Marketplace ยังมี 2 ผู้เล่นหลักอย่าง Lazada และ Shopee ทั้ง 2 แพลตฟอร์มทุ่มงบการตลาดใช้เม็ดเงินในการทำโปรโมชั่น อัดแคมเปญ กระตุ้นทั้งฝั่งผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งตลอดหลายปีมานี้เราพอจะทราบกันแล้วว่าทั้ง Lazada และ Shopee พึ่งจะมาทำกำไรในปีหลังๆ อย่าง Lazada ทำกำไรได้ใน 2 ปีหลังคือปี 2021 ด้วยกำไร 226.89 ล้านบาท และ ปี 2022 มีกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 413.08 ล้านบาท ส่วนฝั่งของ Shopee ทำกำไรได้เป็นปีแรกด้วยตัวเลข 2,380.27 ล้านบาท จากการขาดทุนต่อเนื่องสะท้อนให้เห็นว่าทั้ง 2 E-Marketplace ต่างมุ่งเน้นในเรื่องการเติบโตของธุรกิจมากกว่ากำไร ก็จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงสู่ธุรกิจเพื่อทำกำไรอย่างชัดเจน โดยเริ่มจากการลดงบในการทำการตลาดลง ไม่ว่าจะเป็นการแจกโค้ด การทำคูปอง แคมเปญลดราคาสินค้าต่างๆ ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากแคมเปญ 11:11 ที่ผ่านมา งบการตลาดที่ใช้จะยังมีอยู่ แต่จะไม่มาจาก E-Marketplace แต่จะเป็นค่าบริการที่เรียกเก็บจากบรรดาร้านค้าที่เข้ามาใช้บริการ ทำให้ร้านค้าขายสินค้าได้น้อยลง และมีผลกระทบให้กับยอดขายที่อาจจะไม่ดีเท่าเดิม
ในส่วนของ TikTok ปีนี้ Priceza Insights เราจัดให้ TikTok เป็นผู้เล่นใหม่ในสนามนี้ด้วย เพราะ TikTok พัฒนาฟีเจอร์อย่างต่อเนื่อง ที่เปิดพื้นที่รวบรวมสินค้า ร้านค้า และหลากหลายแบรนด์ไว้บนแพลตฟอร์ม ซึ่งเริ่มตั้งแต่การค้นหาสินค้า การดูรีวิว กดสั่งซื้อ กดจ่ายเงิน หรือแม้แต่ตรวจสอบสถานะการจัดส่งก็ทำได้ครบ
ตัวอย่างกลุ่ม E-Marketplace
Shopee, Lazada, Tiktok, Central, MOnline
E-Tailer (Vertical)
ธุรกิจการขายของออนไลน์ที่เน้นการขายสินค้าหรือบริการเฉพาะด้าน หรือขายเฉพาะหมวดหมู่ ความได้เปรียบของการขายสินค้าแนวดิ่ง Vertical จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเน้นการตลาดไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีความสนใจเฉพาะในสินค้าหรือบริการนั้นๆ ของเรา และมีการวิเคราะห์และเตรียมสินค้าในแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การทำธุรกิจอคอมเมิร์ซเฉพาะด้าน จะเพิ่มโอกาสแข่งขันในตลาดนั้นๆ ที่อาจจะมีผู้เล่นในการแข่งขันไม่มากนัก ทำให้เรามีโอกาสที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำได้
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเข้าชมเว็บไซต์ของ Konvy ที่เน้นการขายสินค้าในกลุ่ม Health & Beauty เราจะพบกับการ Community ที่เข้มแข็งของผู้คนที่มีความสนใจในด้านความงามและสุขภาพ ที่นี่เราสามารถติดตามและเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลานั้นๆ จากการแนะนนำของเว็บไซต์ รวมถึงเราสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากความคิดเห็นและรีวิวจากจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้จริง และยังสามารถตั้งคำถามที่สงสัยและรีวิวแบ่งปันประสบการณ์ตัวเอง ช่วยให้เราตัดสินใจซื้อสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างกลุ่ม E-Tailer (Vertical)
Health & Beauty : Konvy, Watsons, Boots, EVE andBOY
Home & Living : HomePro, บุญถาวร, NocNoc, IndexLivingMall, DoHome
Grocery: Tops, BigC, Lotuss, MakroPro
Chat Commerce
พฤติกรรมของคนไทยโดยปกติแล้วจะชอบพูดคุยซักถาม แชทก่อนช้อป จึงเข้ามาเป็นช่องทางหลักในการสร้างสัมพันธ์กับแบรนด์ ซึ่ง Chat Commerce หรือ Conversational Commerce (C-Commerce) เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ถูกจริตคนไทยมากที่สุดในการ แซท-ช้อป เพื่อการซื้อ-ขายสินค้าบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, LINE OA เป็นต้น ที่ใช้จบการขายแบบครบลูปได้ในแพลตฟอร์มเดียว ทั้งสอบถามรายละเอียด ต่อรองราคา จนไปสู่ทำการซื้อขาย โอนเงิน และจบการขายผ่านแซทนั่นเอง โดยหัวใจสำคัญของ Chat Commerce คือ ยิ่งตอบไวเท่าไหร่ยิ่งได้เปรียบ!
จากผลสำรวจของ LINE Thailand พบว่าคนไทย ใช้เวลาอยู่บน LINE เฉลี่ยมากถึงกว่า 90 นาทีต่อวัน และการพูดคุยผ่านแชทเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ในการปิดการขายได้มากถึง 30% และมีสติที่น่าสนใจจาก Facebook ว่า 54% ของนักช้อปออนไลน์บอกว่า ประสบการณ์การซื้อของออนไลน์ครั้งแรก เกิดขึ้นจากการสั่งซื้อสินค้าผ่านแชท และ 75% ระบุว่า ลูกค้าได้วางแผนที่จะช้อปปิ้งผ่าน C-Commerce มากขึ้นในอนาคต และมักจะได้ซื้อสินค้าที่ไม่ได้ใจซื้อเพิ่ม หลังจากได้แซทพูดคุยกับร้านค้า
ตัวอย่างกลุ่ม Chat Commerce
LINE, Messenger, IG
Own Shop
แพลตฟอร์มสำหรับใช้ในการสร้างร้านค้าออนไลน์หรือเว็บไซต์ E-Commerce แบบสำเร็จรูป โดยจะมีเทมเพลตให้เลือกใช้มากมายหรือจะนำมาต่อยอดปรับแต่งให้เข้ากับสินค้าที่มี Template ให้เลือกมากมายที่เหมาะสมกับร้านค้า ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มมีค่าบริการและความยืดหยุ่น รวมถึงข้อจำกัดในการใช้งานแตกต่างกันไป
ซึ่งในปีนี้เราจะเห็นการปรับตัวของธุรกิจค้าปลีก หรือ Brand.com ในเรื่องของการขับเคลื่อนกลยุทธ์ Direct-to-Consumer (D2C) แทนที่การใช้ Business to Business (B2B) ในปีนี้กันมากขึ้น ด้วยการขายสินค้ากับลูกค้าโดยตรงผ่านช่องทางของตัวเอง โดยไม่ผ่านคนกลาง หรือผ่าน E-Marketplace ต่างๆ ทำให้แบรนด์ได้ค่าส่วนต่างที่สูงขึ้นเพราะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายให้กับ คนกลาง และ เข้าถึงข้อมูลของลูกค้าโดยตรง ทำให้สามารถเข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และนำมาพัฒนาปรับปรุงการมอบประสบการณ์ของ (CX) ลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างกลุ่ม Own Shop
Shopify, LnwShop, KetShopWeb, LINE SHOPPING, Bento, iGetWeb, MakeWebEasy
Quick Commerce
Quick Commerce หรือ Q-Commerce กำลังเป็นอีกหนึ่งสมรภูมิการแข่งขันของบรรดา Super App ยิ่งแบรนด์หรือธุรกิจไหน สามารถพัฒนาโมเดล Omni-Channel เชื่อมต่อ Online to Offline และ Offline to Online ได้อย่างไร้รอยต่อ สร้างความสะดวกสบาย และความรวดเร็วในการใช้บริการ จนสามารถส่งมอบบริการ ความสะดวกเหนือไปอีกขั้น ให้กับลูกค้าที่การันตีระยะเวลาการจัดส่งสินค้าจะยิ่งเป็นต่อกว่าคู่แข่งในตลาด และจะเป็นตัวเลือกแรกๆของลูกค้า
Quick Commerce เข้ามาตอบโจทย์และเติมเต็มโมเม้นท์ที่ต้องการด่วน หรือ ต้องการใช้ทันที โดยการใช้เวลาจัดส่งสินค้าด้วยเวลาอันรวดเร็วโดยเฉลี่ยไม่เกิน 30 นาที ซึ่งระยะหลังลูกค้าหันมาสั่งซื้อสินค้าในกลุ่มของ Online Grocery รวมถึงของใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมีแพลตฟอร์ม On Demand Delivery ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างร้านค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อย เช่น ร้านโชห่วย โดยจะมีไรเดอร์ ทั้งจักรยานยนต์ และรถยนต์ เป็นผู้จัดส่งสินค้าให้กับผู้ใช้บริการ
ตัวอย่างกลุ่ม Quick Commerce
Grab, LINE MAN, FoodPanda, Robinhood, 7-11 ALL Online
จัดทำโดย : MAN
แหล่งที่มา : Thailand E-Commerce Landscape 2024 อัปเดตภาพรวมของภูมิทัศน์อีคอมเมิร์ซประเทศไทย 2024