แชร์

Fulfillment Service ทำงานอย่างไร?

อัพเดทล่าสุด: 22 ก.ค. 2024
145 ผู้เข้าชม
Fulfillment Service ทำงานอย่างไร?

บริการ Fulfillment ทำงานอย่างไร?

Fulfillment มีคำนิยามที่สั้น ๆ และเข้าใจง่าย ก็คือ เก็บ-แพ็ก-ส่ง (PICK-PACK-SHIP)

โอกาสทางธุรกิจของบริการ Fulfillment เกิดขึ้นเมื่อผู้ขายสินค้าหรือผู้ประกอบการเริ่มมีภาระที่หนักหน่วงในการรับมือกับปริมาณการสั่งซื้อ (Order) เข้ามามากขึ้น ยิ่งเป็นธุรกิจส่วนตัวที่เจ้าของธุรกิจมักจะทำงานแต่ละส่วนด้วยตนเอง ยิ่งเห็นได้ชัดว่าเวลาทำงานเริ่มหมดไปกับการจัดการออเดอร์ ทั้งการเตรียมฉลากป้ายชื่อของลูกค้า ซองและกล่อง การจัดของตามใบสั่งซื้อ และทำการบรรจุหีบห่อหรือแพ็กเกจจิ้ง แล้วนำของขนย้ายไปยังไปรษณีย์หรือผู้ให้บริการส่งสินค้าด้วยตนเอง ทำให้เสียเวลาการจัดการเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งบริการ Fulfillment จะเข้ามามีบทบาทช่วยแบ่งเบาภาระส่วนนี้ให้กับเจ้าของธุรกิจนั่นเอง


เจ้าของธุรกิจเพียงติดต่อผู้ให้บริการ Fulfillment จากนั้นจัดส่งสินค้าไปให้ทาง Fulfillment เก็บไว้ในคลังสินค้ากลาง ซึ่งจะมีค่าเช่าพื้นที่ตามอัตราปริมาตรของการจัดเก็บ โดยคิดค่าบริการรายเดือน สินค้าจะได้รับการจัดเก็บอย่างถูกวิธี มีระบบรักษาความปลอดภัย เช่น กล้อง CCTV ความละเอียดสูง รวมถึงมีการใช้ฉลากบาร์โค้ดกับสินค้าทุกชิ้น การใช้ซอฟท์แวร์บริหารสินค้าคงคลัง คือ ระบบ WMS ที่จะทำให้จัดการสินค้าได้อย่างครบวงจร รู้ว่าปริมาณสินค้าคงคลังเหลือเท่าไหร่ สินค้าใดบ้างและจำนวนเท่าใดที่ใกล้จะหมดอายุ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจได้นำข้อมูลไปวางแผนการผลิตหรือจัดหาที่ต่อเนื่องได้


หลังจากนั้นทางผู้ให้บริการ Fulfillment จะเป็นผู้ประสานงานรับคำสั่งซื้อจากทุก ๆ แพลตฟอร์มของ E-Commerce เพื่อนำคำสั่งซื้อนั้นไปหยิบสินค้าออกมาบรรจุลงกล่อง แล้วนำส่งสินค้า หรือนำสินค้าไปส่งที่ไปรษณีย์-ผู้ให้บริการขนส่งจนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้ซื้อ บางรายจะมีบริการรับชำระเงินแบบ COD ด้วย ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดตามได้ว่าสินค้าอยู่ในขั้นตอนใดแล้วผ่านระบบแทร็กกิ้ง
สินค้าที่เก็บเข้าคลังก่อนก็นำออกไปก่อน หรือ FIFO (First In, First Out) หรือ เรียงตามวันหมดอายุ หรือ FEFO (First Expired, First Out) 


 Fulfillment จึงเป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน หากผู้ขายสินค้าได้ทราบว่า Fulfillment คืออะไร แล้ว และเห็นมูลค่าของเวลาที่ต้องเสียไปในการจัดการเรื่องเหล่านี้เอง หากนำเวลาดังกล่าวไปทำประโยชน์ด้านอื่นที่สร้างเม็ดเงินกำไรกลับมาได้มากกว่าต้นทุนใช้บริการ Fulfillment ก็ถือว่าคุ้มค่าที่จะลงทุนในส่วนนี้ เพื่อให้หมดภาระในส่วนของการจัดเก็บสินค้า บรรจุหีบห่อ ลดความผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพการนำส่งสินค้าถึงมือลูกค้าด้วยความรวดเร็วและประหยัดต้นทุนการขนส่งได้มากที่สุด

 

 

BY : NONT

ที่มา : yasservices

บทความที่เกี่ยวข้อง
แนวโน้มโลจิสิตกส์และธุรกิจขนส่งปี 2025
แนวโน้มของโลจิสติกส์และธุรกิจขนส่งในปี 2025 จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ เนื่องจากปัจจัยหลายประการ
22 ต.ค. 2024
จัดการสต๊อกให้ดีขึ้นโดยการทลายการทำงานแบบ silo
การทำงานแบบ silo หรือต่างคนต่างทำงานของตนเอง ไม่มีความร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียว จะทำให้ผลที่ตามมานั้นไม่ใช่แค่ performance ของซัพพลายเชนและองค์กรเสียเชื่อเสียง
22 ต.ค. 2024
SAP Integrated Business Planning (IBP) คืออะไรกันเเน่ ?
SAP Integrated Business Planning (IBP) เป็นระบบซอฟต์แวร์ของ SAP ที่เน้นการบริหารจัดการกระบวนการต่าง ๆ
22 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ