แชร์

B2B (Business To Business) VS B2C (Business To Customer)

อัพเดทล่าสุด: 8 ส.ค. 2024
134 ผู้เข้าชม
B2B (Business To Business) VS B2C (Business To Customer)

       คนรุ่นใหม่หลาย ๆ คนนิยมหันมาทำธุรกิจส่วนตัวกันเป็นจำนวนมาก และยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่กำลังสนใจ หรืออยู่ในระหว่างการหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวปั้นธุรกิจของตนเอง ปัจจุบันนี้ ธุรกิจก็มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ได้มีเพียงแค่การทำธุรกรรมกันระหว่างผู้ขาย-ผู้ซื้อ แต่ยังมีรายละเอียดเบื้องหลังของธุรกิจอีกมากมายที่ถูกพัฒนาออกมาเป็นธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลายและตอบโจทย์มากขึ้น

       หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องการทำธุรกิจ หรือกำลังสนใจในวงการธุรกิจ น่าจะเคยได้ยินเรื่องของ โมเดลธุรกิจแบบ B2B/B2C หรือศัพท์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ แต่อาจยังไม่เข้าใจกระบวนการของสิ่งเหล่านี้เท่าใดนัก บทความนี้จะขอชวนคุณมาทำความรู้จักกับรูปแบบของธุรกิจเหล่านี้กัน

ธุรกิจ B2B คืออะไร?

       ธุรกิจ B2B (Business To Business) โดย B ตัวแรกนั้น หมายถึง ธุรกิจของเราเอง (หรือตัวธุรกิจตั้งต้น) ส่วน B ตัวที่สอง นั้นหมายถึงธุรกิจหรือองค์กรอีกเจ้าหนึ่งที่มาว่าจ้างนั่นเอง

โดยโมเดลแบบ B2B นั้นจะไม่ใช่กิจกรรมระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ ไม่ใช่การขายมาจ่ายไปแล้วจบ แต่มีกระบวนการทำงานที่มีรายละเอียดมากกว่า กล่าวคือ โมเดลธุรกิจในลักษณะนี้จะเน้นทำบริการเพื่อ Support กลุ่มธุรกิจหรือองค์กรให้เข้าถึงลูกค้าของธุรกิจนั้น ๆ และมีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่งที่มาของรายได้ของธุรกิจแบบ B2B นั้นจะมาจากธุรกิจหรือองค์กรที่เป็นผู้ว่าจ้าง

ตัวอย่างโมเดลธุรกิจ B2B ในไทย

1.บริษัทสกินแคร์ ก. ที่ผลิตสินค้าแล้วส่งมอบให้บริษัทข. นำไปติดแบรนด์ของตนเอง จากนั้นก็ทำการโปรโมทและขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในอีกทอดหนึ่ง

2.ธุรกิจที่เป็นผู้ผลิตสินค้าส่งให้กับองค์กรที่เป็นคู่ค้า เช่น ผลิตบรรจุภัณฑ์, เครื่องมือแพทย์ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ธุรกิจ B2C คืออะไร?

       ธุรกิจแบบ B2C (Business To Customer) โดยตัว B ตัวแรกก็หมายถึงธุรกิจของเราเอง ส่วน C นั้นก็หมายถึงลูกค้าที่จะมาซื้อสินค้าหรือบริการจากธุรกิจของเรา

โมเดลธุรกิจแบบ B2C นั้นน่าจะเป็นที่คุ้นเคยและเข้าใจง่ายกว่า เพราะมันก็คือกิจกรรมการค้าขายระหว่างตัวธุรกิจกับลูกค้า โดยธุรกิจจะมีการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และที่มาของรายได้ก็จะมาจากการที่ลูกค้าจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการนั่นเอง ก็คือกิจกรรมแบบซื้อมา-ขายไป เริ่มต้นจากธุรกิจที่มีสินค้าหรือบริการบางอย่าง แล้วนำเสนอให้กับผู้ที่มีความต้องการและมีกำลังจ่ายเงินเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ รวมทั้งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับลูกค้า

หากจะกล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือคนที่มีความต้องการขาย มาเจอกับคนที่มีความต้องการซื้อ แล้วเกิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนกัน ผู้ขายได้ค่าตอบแทน ส่วนผู้ซื้อก็จะรู้สึกพึงพอใจ

ตัวอย่างโมเดลธุรกิจ B2C ในไทย

ในประเทศไทยนั้นมีผู้ประกอบการที่เป็นโมเดลธุรกิจแบบ B2C ที่มีชื่อเสียง และได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าอยู่เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น

1.ธุรกิจร้านอาหารที่ทำหน้าที่ประกอบอาหารตามออเดอร์ของลูกค้า เมื่อเสิร์ฟอาหาร ลูกค้ารับประทานเรียบร้อยแล้วจ่ายเงินค่าอาหาร ก็ถือเป็นการสิ้นสุดกระบวนการขาย

2.ร้านค้าออนไลน์ทั้งหลายที่นำเสนอสินค้าให้กับลูกค้า แล้วส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อ ลูกค้าก็จ่ายเงินค่าสินค้าแล้วรอรับสินค้า เมื่อได้รับก็ถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการขาย

ความแตกต่างกันของธุรกิจ B2B และธุรกิจ B2C
กระบวนการทำงานของโมเดลธุรกิจ B2B กับธุรกิจ B2C นั้นแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ

1.B2B จะเน้นสื่อสารกับองค์กร แต่  B2C จะเน้นสื่อสารกับลูกค้าโดยตรง
2.B2B มีกระบวนการทำงานที่ใช้เวลานานกว่า ส่วน B2C จะใช้เวลาในการซื้อ-ขาย ในระยะเวลาสั้น ๆ
3.B2B เป็นธุรกิจที่จะสร้างรายได้สูง แต่ต้องใช้เวลา ส่วน B2C จะเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้น้อยกว่า แต่จะได้บ่อยกว่า
4.B2B จะมีลักษณะการตลาดที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ ให้คนมองว่าเป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ แล้วเลือกซื้อสินค้า/บริการ ส่วน B2C จะทำการตลาดโดยเน้นเอ่ยถึงจุดเด่นของสินค้า/บริการ เพื่อกระตุ้นให้คนสนใจและต้องการซื้อโดยเร็ว

 




BY : Patch

ที่มา : zortout

บทความที่เกี่ยวข้อง
แนวโน้มโลจิสิตกส์และธุรกิจขนส่งปี 2025
แนวโน้มของโลจิสติกส์และธุรกิจขนส่งในปี 2025 จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ เนื่องจากปัจจัยหลายประการ
22 ต.ค. 2024
Sales Gatekeepers ตำแหน่งที่เซลส์ทุกคนจำเป็นต้องรู้!
Sales Gatekeepers จะต้องทำงานร่วมกันกับตำแหน่งอื่นๆในองค์กร ที่จะคอยช่วยกันวิเคราะห์งานเสนอขาย หลังจากนั้นจะส่งต่อไปยังบุคคลตำแหน่งต่างๆที่สูงกว่า
21 ต.ค. 2024
Customer Life Cycle คืออะไร ?
Customer Life Cycle วงจรชีวิตของลูกค้า หรือวงจรการตัดสินใจของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าและบริการ เป็นกระบวนการบริหารด้านการตลาด
19 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ