แชร์

กลยุทธ์ Customization สำหรับการตลาด

อัพเดทล่าสุด: 2 ก.ย. 2024
109 ผู้เข้าชม
กลยุทธ์ Customization สำหรับการตลาด

ความหมายของ Customization

    Customization ในทางการตลาดนั้นคือการปรับเปลี่ยนสินค้าให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า โดยลูกค้านัันสามารถเลือกได้ด้วยตัวเองและเรามักจะเห็นกันบนโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆนั่นก็คือ การที่ลูกค้าสามารถเลือกสีให้กับรองเท้าในแต่ละส่วน การเลือกสีรถยนต์ที่ชอบและยังสามารถเลือกเปลี่ยนสีเบาะที่นั่งหรือสีภายในห้องโดยสาร การเลือกสีให้กับเฟอร์นิเจอร์แต่ละประเภทตามความต้องการ ซึ่งการทำ Customization นั้นจะเหมาะกับกลุ่ม Millennials เป็นหลัก และ Premium Product กับ Generation อื่นๆบางกลุ่ม

    ข้อดีของการ Customization นั้นก็คือการที่ลูกค้ารู้สึกว่าพวกเขาได้สินค้าที่มีความพิเศษและมีอยู่หนึ่งเดียวซึ่งแตกต่างจากคนอื่นๆ และยังทำให้ลูกค้านั้นได้ใช้เวลาในการสื่อสารและติดต่อกับแบรนด์มากยิ่งขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์บนหน้าเว็บไซต์ หรือบางแบรนด์ก็สามารถ Customize สินค้าผ่านแอปพลิเคชันได้อีก และในตอนนี้เราจะเห็นแทบทุกอุตสาหกรรมนั้นได้นำแนวคิดการทำ Product Customization มาใช้ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ จักรยาน นาฬิกา คอมพิวเตอร์ มือถือ

ทำไมกลยุทธ์ Customization ให้ออกแบบสินค้าเอง

ทำให้ลูกค้ารู้สึกดีต่อแบรนด์

การออกแบบ หรือประกอบอะไรขึ้นมาสักหนึ่งอย่างจะรู้สึกสนุก และภาคภูมิใจกับสินค้านั้น ๆ เป็นอย่างมากเพราะเป็นสินค้าที่มีชิ้นเดียวบนโลก แตกต่างจากสินค้าที่วางขายทั่ว ๆ ไปในตลาด

 สร้างปรากฏการณ์การบอกต่อ หรือเกิดไวรัลบนโซเชียลมีเดีย

    เมื่อการออกแบบสินค้าเอง ทำให้เรารู้สึกสนุก ภาคภูมิใจ และรู้สึกว่าสินค้าที่ใช้อยู่มันดีจริง ๆ
เราก็มักจะอยากบอกต่อกับเพื่อนสนิท ครอบครัว หรือคนอื่น ๆ ให้ไปทดลองใช้สินค้าแบบนี้บ้าง
พฤติกรรมการบอกต่อนี้ เรียกว่า Word of Mouth
 
ประกอบกับปัจจุบัน ที่ใคร ๆ ต่างก็สามารถใช้โซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, TikTok และ YouTube เป็นพื้นที่ในการรีวิวสินค้าที่ตัวเองชอบได้

ช่วยให้แบรนด์รู้อินไซต์ของลูกค้าได้มากขึ้น

แบรนด์สามารถหาอินไซต์ หรือข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคได้ ด้วยการเก็บข้อมูล (Data) จากการที่ลูกค้าออกแบบ หรือปรับแต่งสินค้า แล้วนำไปพัฒนาต่อยอดในสินค้าใหม่ ๆ ของแบรนด์
 
ตัวอย่างเช่น Nike ที่มีบริการ Nike Individually Design (Nike iD) ให้ลูกค้าออกแบบสีของรองเท้าเองได้ทุกส่วนของรองเท้า ทั้งเชือกรองเท้า, ส้นรองเท้า และโลโกของรองเท้า

ช่วยให้แบรนด์สร้างรายได้มากขึ้น

ลูกค้ากว่า 90% ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เพื่อแลกกับการซื้อสินค้าที่ได้ออกแบบเองโดยในจำนวนนี้ มีลูกค้าถึง 49% ที่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 10-25% และราว 21% ที่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นมากกว่า 25%

ข้อดีของการทำ Product Customization

สามารถเพิ่มราคาได้

    การทำอะไรก็ตามที่ดูพิเศษจนลูกค้ารู้สึกว่าได้เติมเต็มความต้องการ ซึ่งมันมีคุณค่าที่มาพร้อมกับราคาที่ต้องเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ และแม้ว่าลูกค้าจะรู้ถึงจุดนี้แต่ก็ไม่ควรเพิ่มราคาจนลูกค้ารู้สึกว่ามันมากจนเกินความคุณค่าที่ได้รับ

เพิ่มประสบการณ์อันแสนวิเศษ

    คนในเฉพาะกลุ่ม Millennials นั้นอยากได้อะไรที่ไม่เหมือนใครแสดงถึงความเป็นตัวตนที่เข้ากับ Lifestyle ของตัวเอง โดยการที่ลูกค้าสามารถเลือกในสิ่งที่พวกเขาชอบเองได้นั้น มันก็คือประสบการณ์ขั้นสุดที่แบรนด์สามารถจะมอบให้ได้

ปรับปรุงประสิทธิภาพช่องทางออนไลน์

    ด้วยความที่การทำ Customization นั้นโดยส่วนใหญ่จะทำผ่านช่องทางออนไลน์ โดยอาจจะเป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันซึ่งมันทำให้แบรนด์ต้องหันมาพัฒนาและนำเทคโนโลยีหรือเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ดีๆให้กับลูกค้า นับเป็นโอกาสที่แบรนด์จะใช้เวลาในการปรับปรุงและนำสิ่งดีๆมาใช้กับช่องทางต่างๆ

 

 




BY : NUN

ที่มา : Marketthink

บทความที่เกี่ยวข้อง
Yotpo
Yotpo เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงในด้านการช่วยธุรกิจ E-commerce สร้างการมีส่วนร่วมจากลูกค้าและเพิ่มความเชื่อมั่น
22 ต.ค. 2024
Referral Marketing Platforms
การตลาดแบบแนะนำ (Referral Marketing) เป็นกลยุทธ์ที่ใช้การแนะนำจากลูกค้าปัจจุบันหรือผู้ใช้บริการให้กับผู้อื่น เพื่อสร้างโอกาสในการเพิ่มยอดขาย
22 ต.ค. 2024
Sales Gatekeepers ตำแหน่งที่เซลส์ทุกคนจำเป็นต้องรู้!
Sales Gatekeepers จะต้องทำงานร่วมกันกับตำแหน่งอื่นๆในองค์กร ที่จะคอยช่วยกันวิเคราะห์งานเสนอขาย หลังจากนั้นจะส่งต่อไปยังบุคคลตำแหน่งต่างๆที่สูงกว่า
21 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ