การขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นส่วนประกอบที่สําคัญส่วนหนึ่งของ ระบบการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต เพราะเป็นเพียงการขนส่งชนิดเดียวที่ขนสินค้าได้คราวละมากๆ และค่าระวางมีราคาถูกกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ การขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของไทยเป็นการขนส่งทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ดังนั้น การขนส่งสินค้าทางทะเลจึงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนําเข้าและส่งออกสินค้าจึงควรจะศึกษาและทําความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ที่สําคัญเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางทะเล
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล
1.เจ้าของเรือ (Ship Owner)
2.ผู้เช่าเรือ (Ship Charterer)
3. ตัวแทนสายเดินเรือ และตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Shipping Agent & Freight Forwarder)
4.ผู้ส่งสินค้า (Shipper or Exporter)
5.ผู้รับตราส่ง (Consignee)
6.ผู้รับสินค้า (Notify Party)
ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ
บริษัทเรือหรือตัวแทนสายเดินเรือ
Sea Freight Forwarder
หน้าที่ของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเล
A. ตัวแทนสายเดินเรือ (Ship Agent)
ตัวแทนสายเดินเรือคือผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าของเรือ ให้เป็นผู้ดําเนินการแทนเจ้าของเรือ ณ.เมืองท่าต้นทางและเมืองท่าปลายทาง ตัวแทนสายเดินเรือมีหน้าที่โดยทั่วไป ดังต่อไปนี้
- จัดหาระวางบรรทุกให้แก่ผู้นําเข้าและผู้ส่งออก
- ออกใบตราส่งสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก
- ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่ผู้นําเข้า
- SEA FREIGHT
การขนส่งทาง เรือได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากค่าใช้จ่ายถูก เหมาะกับสินค้าปริมาณมากหรือมีขนาดใหญ่ แต่ข้อจำกัดคือเรื่องเวลา ลูกค้าหลายรายได้รับผลกระทบจากปัญหาล่าช้า ปกติทุกสายเรือมีตารางเดินเรือที่แน่นอน แต่ในบางครั้งอาจเปลี่ยนแปลง สาเหตุจากสภาพอากาศ สินค้าแน่นตามช่วงฤดูกาล หรืออื่นๆ ซึ่งอยู่เหนือการควบคุม ผู้ส่งสินค้าควรวางแผนใช้ชัดเจน
ประเภทการบริการ
1. LCL คือแบบไม่เต็มตู้ ในกรณีที่ผู้ส่งมีสินค้าปริมาณน้อยค่า Freight คิดเป็น USD/CBM(ลูกบาศก์เมตร)
2. FCL คือแบบเหมาตู้ สินค้าเป็นของผู้ส่งเพียงรายเดียว ค่า FREIGHT คิดเป็น USD/CONT.ขนาดตู้แบ่งเป็น 20 FT STD, 40 FT STD ,40 FT HQ
3. FRRFER เป็นตู้ที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็น ใช้บรรจุอาหารและสินค้าที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ
ความสำคัญของการขนส่งทางทะเล
1. ก่อให้เกิดกิจการที่ต่อเนื่อง เช่น การรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(Freight Forwarder Agent)
2. ตัวแทนออกของ (Customs Broker)
3. การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodel Transport)
4. กิจการโลจิสติดส์(Logistics Service)
ระบบการขนส่งทางทะเล ประกอบด้วย
- การขนส่งสินค้าจากท่าเรือหนึ่ง ไปยังอีกท่าเรือหนึ่ง
BY : NUN
ที่มา : www.tpi2001.com