แชร์

ฟิล์มหด (Shrink Film) คืออะไร? ทดสอบแรงหดได้อย่างไร

อัพเดทล่าสุด: 17 ก.ย. 2024
35 ผู้เข้าชม
ฟิล์มหด (Shrink Film) คืออะไร? ทดสอบแรงหดได้อย่างไร

ลักษณะของฟิล์มหด (Shrink Film)

ฟิล์มหด ผลิตมาจากพอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride PVC) และพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene LDPE) โดยฟิล์มหด จะมี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ

  1. เนื้อฟิล์มขุ่น : เมื่อโดนความร้อน ฟิล์มเกิดการหดตัว จากเนื้อฟิล์มจะกลายเป็นผิวสัมผัสที่แข็งแรง มีความเหนียว แข็งแรง เหมาะสำหรับการห่อหุ้มสินค้าที่มีน้ำหนักมาก หรือใช้ในการห่อสินค้าที่มีหลากหลายชิ้นให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
  2. เนื้อฟิล์มเงา และใส : เหมาะสำหรับการใช้กับสินค้าที่ต้องการแสดง หรือให้เห็นสินค้าด้านใน เพราะฟิล์มจะมีความใส และเงางาม และมีความทนทานระดับปานกลาง

ระดับความหนาของฟิล์มชนิดนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 40-150 ไมครอน กว้างประมาณ 20-200 ซม.  และมีการผลิตขนาดต่างๆ ทั้งแบบม้วน หรือตัดแบ่งเป็นชิ้น เพื่อสะดวกในการใช้งาน

การนำฟิล์มหด (Shrink Film) ไปใช้งาน

  1. สำหรับการแพ็คสินค้า -> เหมาะสำหรับการนำมาให้แพคสินค้าที่พร้อมส่งไปยังสถานที่จำหน่าย  เพราะจะสามารถป้องกันความเสียหายจากการขนส่งได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ซึ่งสิ่งที่สำคัญ ควรเลือก ฟิล์มหด ประเภทเนื้อขุ่น เพื่อให้สามารถป้องกันหรือห่อหุ้มสินค้าได้ดียิ่งขึ้น
  2. สำหรับแสดงให้เห็นสินค้าภายใน -> จะใช้ฟิล์มหดที่เป็นประเภทฟิล์มที่ใสและและมีความแวววาว เพราะจะช่วยให้คุณมองเห็นสินค้าได้ชัดเจนทันที อีกทั้งถ้าเป็นอาหาร หรือของสำหรับรับประทาน 
  3. สำหรับการทำฉลากติดขวดน้ำ -> นอกจากการใช้ห่อหุ้มอาหารหรือสิ่งของที่ต้องการผลิตและส่งออกไปจำหน่ายให้ผู้บริโภคแล้ว ฟิล์มนี้ก็ยังสามารถนำมาใช้ทำ ฉลากน้ำดื่ม ได้อีกด้วย ที่บริเวณข้างขวดจะมีฉลากบอกข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญของขวดน้ำเลยทีเดียว

ประเภทของฟิล์มหด (Shrink Film)

1.  PVC (Polyvinyl Chloride Shrink Film)

      PVC ผลิตมาจากเมล็ดพลาสติก ใช้งานง่าย สะดวก ให้ประโยชน์ด้านการบรรจุภัณฑ์สินค้าหลากหลายชนิด ลักษณะเนื้อฟิล์มมีความใส ใช้งานด้วยการเป่าลมร้อน จะทำให้ฟิล์มหดตัว เพื่อห่อหุ้ม หรือรัดผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ แบบแรก แบบสีขุ่น เมื่อโดนความร้อน จะเหนียว แข็งแรง เหมาะสำหรับห่อหุ้มสินค้าที่มีน้ำหนักมาก แบบที่สองคือ แบบมันวาว ความใสพิเศษ เหมาะกับการโชว์สินค้าเพื่อให้มีความน่าสนใจ PVC มีหลายรูปแบบ เช่น ฟิล์มหดตัดตรง ฟิล์มหดรีดแบน ฟิล์มหดใส ฟิล์มหดพีวีซี ซองฟิล์มหดขุ่น ฟิล์มหดเหล่านี้ สำหรับห่อหุ้มสินค้า และรองรับขนาดและรูปทรงของตัวผลิตภัณฑ์ได้อย่างไม่จำกัด นิยมใช้ฟิล์มหดรีดโค้ง ซึ่งฟิล์มหด PVC เน้นการบรรจุสินค้ารวม 6 ชิ้น หรือ 12 ชิ้น หรือรวมบรรจุพร้อมของแถม กรณีเน้นการลดต้นทุน นิยมใช้ฟิล์มประเภทนี้มากกว่าประเภทอื่นๆ และยังสามารถพิมพ์ข้อความ หรือลวดลายได้อีกด้วย ฟิล์มหดประเภท PVC นั้นใช้งานง่าย ราคาประหยัด แถมมีคุณสมบัติที่เปราะ และแข็งแรงมาก เหมาะกับการห่อบรรจุภัณฑ์เกือบทุกชนิด และ PVC เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถ Recycled ได้ 100%

2. POF (Polyolefin Shrink Film) 

เป็นฟิล์มที่ขึ้นรูปโดยกระบวนการ Double Bubble Blow Film หรือการเป่าฟิล์มตั้งแต่ 3-5 ชั้นขึ้นไป โดยเม็ดพลาสติกจะถูกรีดผ่านหัวไดร์ และนำไปอัดลม เพื่อให้ฟิล์มได้ขยายตัวผ่านน้ำ แล้วนำมาให้ความร้อนเพื่อให้ขยายตัวอีกครั้ง  POF จะมีความหนาอยู่ที่ 12 30 ไมครอน ในการผลิตจะใช้เมล็ดพลาสติกประเภท LLDPE และ PP เป็นหลัก
POF นิยมใช้บรรจุสินค้า เพื่อส่งออกต่างประเทศ ฟิล์มจะมีลักษณะบางใส และเหนียว มีความอ่อนนุ่ม แต่แข็งแรง สามารถมองเห็นสินค้าได้ชัดเจน ลักษณะของฟิล์ม POF มีทั้งแบบม้วน แผ่นเดี่ยว แผ่นคู่ ถุงเปิดหัวท้าย ใช้สำหรับงานแพ็คสินค้าทั่วไป เหมาะสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นพิเศษ ปลอดภัย ไม่มีสารอันตรายและ ไม่มีสาร Cadmium (สารก่อมะเร็ง) และยังสามารถสัมผัสอาหารได้โดยไม่เป็นอันตราย จึงช่วยป้องกันสิ่งปนเปื้อนชนิดต่างๆ เช่น ความชื้น กลิ่น และฝุ่น 
ฟิล์มหดชนิด POF จะนิยมใช้กับพวกโรงงานผู้ผลิตอาหาร เสชภัณฑ์ ยา กล่องมือถือ และอื่นๆอีกมากมาย เลือกใช้เพื่อช่วยเพิ่มมาตรฐานการส่งออก ใช้แพ็คสินค้าทั่วไป ที่มีน้ำหนักไม่มาก วัตถุประสงค์ในการใช้งานก็เหมือนกับประเภท PVC แต่มีคุณสมบัติที่เด่นกว่า คือบางใส และนุ่มเหนียว สามารถมองเห็นสินค้าได้ดี ต่างจาก PVC ซึ่งโดนห้ามไม่ให้ใช้ในบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา

3. PE (Polyethylene Shrink Film)

PE เป็น polymer ชนิดหนึ่งของ POF PE ถูกใช้ในหลายรูปแบบของงานบรรจุภัณฑ์ ฟิล์มจะมีความเหนียวมาก เหมาะกับสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ใช้ได้ทั้งฟิล์มหดและฟิล์มยืดแต่การใช้งานจะแตกต่างกันมากในแต่ละชนิด PE ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายมี 3 ชนิดได้แก่

  1. Low-Density Polyethylene (LDPE)
  2. Linear Low-Density Polyethylene (LLDPE)
  3. High-Density Polyethylene (HDPE)

แต่ละชนิดใช้งานอุตสาหกรรมที่ต่างกัน แต่ที่นิยมในงาน shrink wrap packaging คือ LDPE การที่ LDPE เหมาะกับการใช้ในงาน shrink packaging เนื่องจากความแข็งแรงและหยืดหยุ่นสูงเหมาะสำหรับชิ้นงานใหญ่ๆและมีน้ำหนักมาก เช่น งานแพคน้ำดื่ม , สามารถพิมพ์ข้อความหรือรูปภาพลงไปได้และรักษาสภาพรูปภาพที่พิมพ์ลงไปได้ดีคงทนแข็งแรง

ในขณะที่ PVC และ POF ลิมิตความหนาไว้ที่ 100 mil แต่ PE สามารถทำสูงสุดได้ถึง 1200 mil ความหนาระดับนี้สามารถนำไปใช้ในอุตหกรรมขนส่งทางน้ำ เช่น wrap เรือ พันเก็บไว้ได้

PE มีข้อด้อยเล็กน้อยคือ มีอัตราการหด (shrink rate) ที่ต่ำ ประมาณ 20% และ ความใสจะน้อยกว่าฟิล์มชนิดอื่น

BY : NOOK

ที่มา : https://www.chemihouse.com

บทความที่เกี่ยวข้อง
การตลาดแบบ Outbound Marketing คืออะไร
Outbound Marketing คือ วิธีทำการตลาดแบบผลักออก โดยการส่งสารที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการออกไปเพื่อให้ผู้คนได้เห็นจำนวนมาก
14 ต.ค. 2024
การรับมือกับความเสียหายระหว่างการขนส่งสินค้า
ความเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่งเป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องเผชิญ การป้องกันและแก้ไขปัญหานี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
21 ก.ย. 2024
การแพ็คสินค้าเพื่อการขนส่งระหว่างประเทศ
ในการบรรจุสินค้าลงหีบห่อเพื่อการส่งสินค้าระหว่างประเทศนั้น สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ ความปลอดภัยของสินค้าที่เราจะทำการส่งเป็นหลัก
31 ส.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ