แชร์

10 สถิติ Facebook ในไทย ที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาด

อัพเดทล่าสุด: 24 ก.ย. 2024
202 ผู้เข้าชม

10 สถิติ Facebook ในไทย ที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาด

 

1. คนไทยยังคงนิยมใช้ Facebook มากที่สุด คิดเป็น 91.5%

Social Media ที่คนไทยนิยมมากที่สุดยังคงเป็น Facebook ซึ่งคิดเป็น 91.5% ของประชากรกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 16-64 ปี รองลงมาคือ LINE คิดเป็น 90.5% และ TikTok คิดเป็น 80.3%

 

2. คนไทยใช้เวลาไปกับ Facebook มากเป็นอันดับ 3  แชมป์คือ YouTube 

แม้สถิติ Facebook ฉบับนี้จะยืนยันว่า คนไทยนิยมใช้ Facebook มากที่สุดในบรรดา Social Media ทั้งหมด แต่แอปพลิเคชันที่คนไทยใช้เวลาด้วยมากที่สุดในแต่ละวันกลับเป็น YouTube เฉลี่ย 41 ชั่วโมง 28 นาทีต่อเดือน รองลงมาคือ TikTok เฉลี่ย 38 ชั่วโมง 16 นาทีต่อเดือน และ Facebook เฉลี่ย 24 ชั่วโมง 2 นาทีต่อเดือน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะทั้ง YouTube และ TikTok เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอ ในขณะที่ Facebook คือ Social Media ที่เน้นการอ่านและการพูดคุย

 

3. Facebook Ads ยิงเข้าถึงคนในไทยได้ราว 49.01 ล้านคน

การยิงแอด Facebook ดูเหมือนจะยังได้ผลดีอยู่สำหรับสังคมผู้บริโภคชาวไทย ยืนยันได้จากสถิติ Facebook ของ We Are Social ที่ระบุว่า Facebook Ads เข้าถึงประชากรไทยได้ราว ๆ 49.01 คน คิดเป็น 68.3% ของประชากรทั้งหมด

 

4. โพสต์ที่ได้ Engagement มากที่สุดบน Facebook Page

ไม่ใช่โพสต์วิดีโอ สถิติ Facebook ข้อนี้อาจทำให้คุณแปลกใจ แต่เชื่อหรือไม่? คนไทยที่เลื่อนดู Facebook Page มัก Engage กับโพสต์แบบข้อความธรรมดามากที่สุด คิดเป็น 0.09% รองลงมาคือโพสต์รูปภาพ คิดเป็น 0.06% และโพสต์ที่มีลิงก์แนบ คิดเป็น 0.05% ตามลำดับ

 

5. Facebook คือ Social Media ที่ส่ง Traffic ไปยังเว็บไซต์มากเป็นอับดับ 2  ส่วนX (Twitter เดิม) ครองแชมป์

เวลาโพสต์อะไรลงบน Social Media แล้วแนบลิงก์ คุณจะมั่นใจได้แค่ไหนว่ามีคนคลิกลิงก์นั้นจริง ๆ แต่สำหรับการแนบลิงก์ลงบนโพสต์ Facebook คุณมั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าลิงก์นั้นจะมีคนคลิก เพราะสถิติ Facebook ยืนยันชัดว่า Facebook คือแพลตฟอร์มที่สามารถส่ง Traffic ไปยังเว็บไซต์ได้เป็นอันดับ 2 คิดเป็น 16.6 % ตามหลังเพียง X (Twitter) ที่สามารถส่ง Traffic ให้เว็บไซต์ได้ถึง 74%

 

6. อัตราส่วนผู้เล่น Facebook ในไทย ยังคงเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

สถิติ Facebook ฉบับล่าสุดระบุว่า Quater แรกของปี 2024 นี้ มีจำนวนผู้เล่น Facebook ชาวไทยที่เป็นเพศหญิงมากถึง 50.8 % และเป็นเพศชายเพียง 49.2% ซึ่งค่อนข้างคงที่เมื่อเทียบกับสถิติในปีอื่น ๆ อย่างไรก็ดี เพศของผู้เล่นในที่นี้อาจไม่ตรงกับเพศจริง ๆ เสมอไป เพราะอาจมีผู้ใช้งานบางท่านตั้งค่าเพศใน Facebook ไม่ให้ตรงกับเพศจริงก็ได้

 

7. Facebook คือแอปพลิเคชันที่คนเข้าใช้งานถี่ที่สุดรองจาก LINE

หากคุณเป็นอีกคนที่เปิดเข้าใช้งาน Facebook ทุกวัน เพราะสถิติ Facebook ระบุชัดว่า คนไทยเปิดใช้งาน Facebook มากกว่า 376 ครั้งต่อเดือน แซงหน้าทั้ง TikTok และ Instagram โดยเป็นรองเพียงแค่ LINE แอปพลิเคชันเดียวเท่านั้น

 

8. Facebook ติด Top 3 แอปพลิเคชันที่คนไทยดาวน์โหลดมากที่สุด

ทุกวันนี้ก็ยังมีคนไทยดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Facebook กันอยู่เรื่อย ๆ จนทำให้ Facebook ก้าวขึ้นมาเป็นแอปพลิเคชันที่มียอดดาวน์โหลดสูงเป็นอันดับ 3 รองจาก TikTok และ Capcut ในขณะที่ Facebook Messenger ซึ่งควรจะดาวน์โหลดไว้ใช้คู่กัน มียอดดาวน์โหลดอยู่ในอันดับ 6

 

9.คนไทยเลือกซื้อของจากคูปองส่วนลดมากที่สุด

แม้ข้อมูลนี้จะไม่ใช่สถิติ Facebook โดยตรง แต่ก็เป็นแหล่งอ้างอิงชั้นดีสำหรับผู้ที่กำลังทำ Facebook Marketing โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าร้านค้าออนไลน์ที่เปิดรับออเดอร์ผ่าน Facebook โดยข้อมูลจาก We Are Social ระบุว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อของผู้บริโภคชาวไทย อันดับ 1 คือคูปองส่วนลด คิดเป็น 54% รองลงมาคือ โปรโมชันส่งฟรี คิดเป็น 51.8% และฟีเจอร์เก็บเงินปลายทาง คิดเป็น 40.4%

 

10.คนไทยมักค้นเจอแบรนด์จาก Search Engine และโฆษณาบนมือถือ

คุณอาจคิดว่าการ Optimize หน้า Facebook Page ให้ดี เป็นประโยชน์เฉพาะกับลูกค้าที่ค้นหาสินค้าบน Social Media เท่านั้น แต่อันที่จริงแล้ว Keyword ที่คุณใช้อธิบายตัวตนบน Page Bio หรือตั้งเป็นชื่อเพจ จะปรากฏบนหน้า Search Engine ด้วย สอดคล้องกับสถิตินี้ของ We Are Social ที่ยืนยันว่า คนไทยมักค้นเจอแบรนด์จาก Search Engine มากที่สุด คิดเป็น 35.2% รองลงมาคือจากโฆษณาบนมือถือ คิดเป็น 29.3% ซึ่งหากคุณปรับปรุงข้อมูลหน้า Facebook Page ให้ครบถ้วน ดูดี ก็มีสิทธิ์จะถูกค้นเจอได้จากทั้งสองช่องทาง

 

ขอบคุณข้อมูล: https://thedigitaltips.com/blog/facebook/facebook-statistics-in-thailand-update-2024/

Available from: https://datareportal.com/reports/digital-2024-thailand

 By:Bank


บทความที่เกี่ยวข้อง
Net Promoter Score (NPS) คืออะไร
Net Promoter Score (NPS) หรือ คะแนนผู้สนับสนุนสุทธิ เป็นตัวชี้วัดที่นิยมใช้ในการวัดความพึงพอใจของลูกค้าและความภักดีต่อแบรนด์ โดยจะวัดจากความน่าจะเป็นที่ลูกค้าจะแนะนำแบรนด์ให้กับผู้อื่น
21 ธ.ค. 2024
Contextual Marketing คืออะไร
Contextual Marketing หรือ การตลาดเชิงบริบท คือกลยุทธ์การตลาดที่เน้นการนำเสนอเนื้อหาหรือโฆษณาที่ตรงกับบริบทหรือความสนใจของผู้ใช้ในขณะนั้น
21 ธ.ค. 2024
เน็ตโนกราฟี (Netnography) คืออะไร
เน็ตโนกราฟี (Netnography) เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่นำหลักการทางมานุษยวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในโลกออนไลน์
20 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ