แชร์

นวัตกรรมการตลาดสำหรับคนยุคใหม่

อัพเดทล่าสุด: 2 ต.ค. 2024
344 ผู้เข้าชม

การให้ความสำคัญกับนวัตกรรมการตลาดสำหรับคนยุคใหม่คือ การให้ความสำคัญกับการสนับสนุนงานขาย และ การตัดสินใจของลูกค้า ซึ่งจะทำให้สินค้าและบริการจะได้รับความสนใจจากลูกค้ามากขึ้น ด้วยการนำเสนอแนวคิด

1. การสื่อสารกับลูกค้า

  สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการสื่อสารกับลูกค้า คือการโฆษณา และประชาสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือการสื่อสารกับลูกค้าที่มีประสิทธิภาพที่สุด นักการตลาดต้องทำการบ้านค้นหารูปแบบของการสื่อสารในรูปแบบในเหมาะสมกับองค์กรและเหมาะสมกับสินค้า และต้องตรงกับเป้าหมายในนำเสนอ ที่สำคัญต้องมีการประเมินผลการสื่อสารทุกครั้ง เพื่อนักการตลาดพัฒนารูปแบบการสื่อสารให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำและต่อเนื่อง

 2. การเจาะตลาดลูกค้าออนไลน์

  การเจาะตลาดลูกค้าออนไลน์เป็นจุดเด่นของการสื่อสารธุรกรรมของสินค้าและบริการทางออนไลน์ คือสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วโลก ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจำนวนมาก สามารถขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงแต่สิ่งหนึ่งที่นักการตลาดต้องให้ความสำคัญ คือ การทำให้ลูกค้ารู้จักเว็บไซด์ของตน หากทำให้ลูกค้ารู้จักอย่างกว้างขวาง ย่อมเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ

 3. กิจกรรมส่งเสริมการขาย

  เป็นการทำกิจกรรมการตลาดเชิงรุก เพื่อต้องการให้ลูกค้ารับรู้ และช่วยเร่งเร้าให้ลูกค้าตัดสินใจเร็วขึ้น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในยุคนี้ ต้องคิดหนักครับ ลงเม็ดเงินมากน้อยเท่าใดจึงคุ้มค่า หา presenter ที่เป็นแม่เหล็กเพื่อให้สร้างความสนใจแก่ลูกค้า การสร้างกิจกรรมการขายแบบไม่ลงทุน อาจไม่ได้ผลในยุคนี้ครับ เช่น การเปิดตัวสินค้าใหม่ของน้ำชา อิชิตัน ต้องใช้ พี่โน้ต อุดมแต้พานิช เป็น presenter ตามติดด้วย เปิดฝา ส่ง sms ลุ้นโชค เป็นการส่งเสริมการขายลงทุนแบบนี้ได้ต่อเนื่อง

4. กลยุทธ์ในการสร้างความพึงพอใจ 

  การทำธุรกิจต้องมีกระบวนการสร้างความพึงพอใจให้กับลุกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การบริการก่อนการขาย การบริการระหว่างการขาย และการบริการหลังการขาย จำเป็นต้องสร้างความแตกต่าง จากคู่แข่งขัน และต้องดีกว่าคู่แข่งขัน เนื่องจากการแข่งขันยุคใหม่ข้อมูลข่าวสารมีความรวดเร็วในการรับรู้ การที่องค์การมีภาพลักษณ์ที่ดี หรือภาพลักษณ์แย่ การสื่อสารใช้เวลาอย่างรวดเร็ว ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องเน้นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า

   แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือรักษาคุณภาพสินค้าและการพัฒนาสินค้าให้ลูกค้ามีความพึงพอใจอย่างต่อเนื่อง น่าจะมีโอกาสในการขาย และสามารถแข่งขันในตลาดได้ เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้ายังคงเน้นเรื่องคุณภาพของสินค้าอยู่เช่นกัน

นวัตกรรม ที่จะทำให้ได้เปรียบในสงครามการตลาดยุคใหม่

1.Disruptive Innovation 

  คือนวัตกรรมที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม หรือมีผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อความต้องการของลูกค้า ทำให้สินค้าเดิมในตลาดเกิดการล้าสมัยและถูกทดแทนด้วยสินค้าใหม่ที่เหนือกว่าในด้านคุณภาพและคุณลักษณะ อาจทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนได้

2.Application Innovation 

  เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยี หรือสินค้าที่มีอยู่ในตลาดมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดคุณประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญต่อลูกค้า สามารถทำให้สินค้าที่ดูเหมือนจะมีประโยชน์จำกัดมีคุณประโยชน์ที่แท้จริงสำหรับลูกค้าในวงแคบ เปลี่ยนแปลงไปเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในคนหมู่มากได้

3.Product Innovation

  เป็นประเภทของนวัตกรรมที่รู้จักกันมากที่สุด คือการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้น ใช้งานง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

4.Process Innovation 

  นวัตกรรมอีกประเภทหนึ่งที่สามารถสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันรวมทั้งความแตกต่างที่ชัดเจนได้ โดยการปรับรูปแบบและกรรมวิธีการดำเนินงานขององค์กร

5.Marketing Innovation

  นวัตกรรมประเภทนี้มักเกิดขึ้นและถูกนำมาใช้ในช่วงที่ตลาดเริ่มเข้าสู่สภาวะ Maturity เป็นการหาวิธีการที่แตกต่างในการเข้าถึงหรือให้บริการลูกค้าที่ทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นและในขณะเดียวกัน ก็อาจมีผลในการลดต้นทุนการดำเนินการขององค์กรลงได้พร้อมๆ กัน

6.Experiential Innovation 

  คือนวัตกรรมทางการตลาดอีกประเภทหนึ่ง โดยการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติบางประการของสินค้า หรือบริการ ทำให้สินค้าของเราน่าใช้และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้มากกว่าคู่แข่งอย่างชัดเจน

7.Business Model Innovation

  คือนวัตกรรมที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ เพื่อให้เกิดความแตกต่าง

8.Structural Innovation 

  การสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันโดยใช้การเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของอุตสาหกรรม ซึ่งนวัตกรรมในรูปแบบนี้ได้เข้ามาเป็นหัวใจสำคัญในการช่วยฝ่าวิกฤตในครั้งนี้ องค์รที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ย่อมที่จะสามารถรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที

 

 

 

BY : NUN

ที่มา : https://www.entraining.net/

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
Net Promoter Score (NPS) คืออะไร
Net Promoter Score (NPS) หรือ คะแนนผู้สนับสนุนสุทธิ เป็นตัวชี้วัดที่นิยมใช้ในการวัดความพึงพอใจของลูกค้าและความภักดีต่อแบรนด์ โดยจะวัดจากความน่าจะเป็นที่ลูกค้าจะแนะนำแบรนด์ให้กับผู้อื่น
21 ธ.ค. 2024
Contextual Marketing คืออะไร
Contextual Marketing หรือ การตลาดเชิงบริบท คือกลยุทธ์การตลาดที่เน้นการนำเสนอเนื้อหาหรือโฆษณาที่ตรงกับบริบทหรือความสนใจของผู้ใช้ในขณะนั้น
21 ธ.ค. 2024
เน็ตโนกราฟี (Netnography) คืออะไร
เน็ตโนกราฟี (Netnography) เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่นำหลักการทางมานุษยวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในโลกออนไลน์
20 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ